Bio-Printing พิมพ์อวัยวะจากเครื่อง 3D Printer

BioAssemblyBot-3

ต่อไปนี้การปลูกถ่ายอวัยวะ หรือ สร้างชิ้นส่วนของร่างกายที่เสียหายจากโรค หรือ อุบัติเหตุจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อ จากเทคโนโลยี เครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งคราวนี้ไม่ใช่พิมพ์พลาสติก โลหะ หรือ ผงปูน เครื่องพิมพ์ 3มิติเครื่องนี้ พิมพ์ด้วยเซลล์ของผู้ป่วยเอง (เป็นอวัยวะจริงๆเลยที่เดียวไม่ได้จากพลาสติก หรือ ไททาเนียม) Bio 3D Printing เป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองที่สุดในขณะนี้ เนื่องจากสิ่งที่ได้จากการพิมพ์นั้นมีชีวิต เพราะเป็นเซลล์ของมนุษย์คนนั้นจริงๆ ลองนึกภาพง่ายๆเช่น หากผู้ป่วยมีอาการผิดปรกติของหัวใจ ก็สร้างหัวใจของคนนั้นขึ้นมาเปลี่ยนเลย

BioAssemblyBot-1

เมื่อราวอาทิตย์ที่แล้ว ได้มีการเปิดตัว เทคโนโลยีใหม่เกี่ยวกับ การพิมพ์สามมิติ ชื่อ “BioAssemblyBot” หรือ เครื่องพิมพ์ชิ้นส่วนชีวภาพ โดยให้หลักการเครื่องพิมพ์ 3มิติ, โครงสร้างอวัยวะ และ การทำงานของมือกล(หมุนได้หลายแกน ตัวเดียวที่ใช้กันอยู่ในโรงพยาบาลปัจจุบัน หุ่นยนต์ผ่าตัด) ในการพิมพ์และสร้างอวัยวะหรือชิ้นส่วนของร่างกายขึ้นมาเป็นรูปร่าง ทีละชั้น

หลักการทำงาน

ขั้นตอนการทำงานของเครื่องพิมพ์อวัยวะนั้น เริ่มจาก TSIM (Tissue Structure Information Modeling – การขึ้นรูปจากข้อมูลโครงสร้างเนื้อเยื้อ) เป็นโปรแกรมที่มีลักษณะคล้าย CAD แต่ทำงานในการชีววิทยานั้นเอง ทำการกำหนดการสร้างเนื้อเยื้อชิ้นส่วนร่างกายขี้นมาโดยมีลักษณะเหมือนการทักทอผ้า โปรแกรมสามารถกำหนดค่าเฉพะตัวต่างๆได้ เพื่อความเหมาะสนในการพิมพ์ชิ้นส่วนต่างๆ เช่น กำหนดค่าโครงสร้าง, กำหนดค่าวัสดุในการพิมพ์(เซลล์ชนิดต่างๆ), กำหนดความเร็วในการพิมพ์, ความหนาของเนื้อเยื้อ เพิ่มให้ได้ชิ้นส่วนที่รูปร่างตามต้องการ

ต่อจากนั้นโปรแกรม TSIM จะทำการแปลงค่าการพิมพ์อวัยวะหรือชิ้นส่วนร่างกายนั้น เป็นจุด Coordinate เพื่อให้เครื่อง BioAssemblyBot วิ่งไปพิมพ์เซลล์นั้นๆที่จุดนั้นตามโมเดลอวัยวะที่ต้องการพิมพ์ ข้อมูลที่ได้นั้นจะถูกส่งไปที่เครื่องพิมพ์ จากนั้นเครื่องพิมพ์จะทำตามคำสั่งที่แปลงค่าจาก TSIM เครื่องจะทำการปรับระดับอัตโนมัติโดยใช้เลเซอร์เซนเซอร์ แขนกลของหุ่นยนต์จะไปหยิบกระบอกลักษณะคล้ายเข็มฉีดยา ที่บรรจุเซลล์ชนิดต่างๆ หรือ สารเคมีต่างๆ ที่ใช้ในการพิมพ์ จะฉีดออกมาที่ฐานพิมพ์เป็นตามตำแหน่งที่กำหนดไว้แล้วจาก TSIM เครื่องจะทำงานทีละชั้น(Layer) ไปเรื่อยๆจากได้เป็นชิ้นส่วนของร่างกายแล้วค่อยนำไปปลูกถ่ายต่อไป

BioAssemblyBot-2

สนนราคาตอนนี้ของเครื่องอยู่ที่ US$159,995 (ประมาณ 5.5ล้านบาท ซึ่งราคานี้รวมโปรแกรม TSIM แล้ว) นอกเครื่องจะทำงานร่วมกับแขนกล 6 แกนแล้ว เครื่องยังรองรับกับการทำงานกับระบบอื่นๆอีกด้วน (พัฒนาต่อได้นั้นเอง) ทำให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถเครื่องขึ้นไปอีก

The BioAssemblyBot สามารถทำความละเอียดได้สูงสุดถึง 20 ไมครอน ด้วยขนาดพิมพ์ 300mm (w) x 250mm (d) x 150mm (h) และ ระบบควบคุมเข็มบรรจุเซลล์ที่ความอัตโนมัติร่วมกับแขนกล

พิมพ์อวัยวะเพื่อปลูกถ่ายอาจจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เทคโนโลยีนี้คงเป็นความหวังของใครหลายๆคน แต่อย่างไรก็ดีคงต้องมีการพัฒนาต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง แม้เทคโนโลยีนี้จะมีประโยชน์มากเพียงใด แต่หากมองในอีกแง่มุมหนึ่งก็มีความขัดแย้งในเชิงศีลธรรม ซึ่งต้องให้นักกฏหมาย, นักสังคมศึกษา, องกรค์ทางการแพทย์ ออกกฏหมายควบคุมกันอีกทีนึงครับ

BioAssemblyBot-4

BioAssemblyBot-5

BioAssemblyBot-6

BioAssemblyBot-7