การใช้งานเครื่อง Form Wash
**บทความนี้ใช้กับ Finishing, Form 1+, Form 2, Form 3, Form 3B**
Form Wash มีหน้าที่ไว้ใช้งานล้างทำความสะอาดเรซิ่นเหลวที่ติดกับตัวชิ้นงานที่เสร็จสิ้นจากการพิมพ์จากเครื่อง Form 2, Form 3 และ Form 3B ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะให้การดูแลและปฏิบัติตามคำแนะนำเป็นพิเศษนี้เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดความปลอดภัยกับการทำงานของตัวเครื่อง และให้เครื่องมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น
เครื่อง Form Wash ควรจะใช้งานงานตามที่กำหนดไว้เท่านั้น ห้ามทำการดัดแปลงตังเครื่อง Form Wash โดยไม่ได้รับการอนุญาติจากผู้ผลิตอย่างชัดเจน และไม่ได้รับคำแนะนำจาก Formlabs ซึ่งถ้ามีการนำไปดัดแปลงจะทำให้ตัวเครื่องนั้นถูกยกเลิกการรับประกันทันที และอย่าถอดแผงวงจรด้านล่างของตัวเครื่องออกเพราะจะอาจทำให้ตัวเครื่องเสียหายได้ ควรจะทำการศึกษาเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย (SDS) จากผู้จำหน่ายสาร Isopropyl Alcohol (IPA) เสมอว่าควรจะมีการดูแลรักษา หรือการจักเก็บสารนี้อย่างไรเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด ก่อนการใช้งาน IPA ควรสวมถุงมือ และใช้ IPA ในบริเวณที่มีการระบายอากาศได้ดีซึ่งจะทำให้ IPA ระเหยอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อนำมาใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ปิดฝาทุกครั้งหลังจากใช้งานแล้ว ให้ใช้ปั๊มกาลักน้ำที่แถมมาให้เพื่อหลีกเลี่ยงการหกหรือล้นของ IPA จากการนำสารออกมาใช้งานล้างกับเครื่อง Form Wash และจะทำให้ง่ายขึ้นในการเช็ดระดับการเติมสาร IPA กับเครื่อง Form Wash เมื่อมีการเคลื่อนย้ายตัวเครื่อง Form Wash ควรจะนำสาร IPA ออกจากตัวเครื่องทุกครั้ง ปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยทางเคมีมาตรฐานและคำแนะนำในการจัดการเรซินของ Formlabs ควรจะสวมถุงมือทุกครั้งที่มีการใช้งานเรซิ่น (Resin) หรือไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (IPA) ในกรณีที่เรซินสัมผัสกับผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่และน้ำ ควรจะศึกษาเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) ก่อนการใช้งานทุกครั้งเสมอเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยและการจัดการวัสดุของ Formlabs การผสมกันของเรซิ่นและ IPA ควรได้รับการจัดการตามข้อ กำหนดที่ถูกต้องของสารทั้ง 2 อย่าง Form Wash เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนประกอบทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วๆ ไป ดังนั้นควรจะมีการใช้งานอย่างระมัดระวัง -อย่าใช้งาน Form Wash เมื่อสายไฟหรือปลั๊กเสียหาย หลังจากได้รับตัวเครื่อง Form Wash เรียบร้อยแล้วให้นำมาตั้งไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมเป็นระนาบที่เรียบเพื่อป้องกันการล้นและหกของน้ำยาล้าง IPA ภายในตัวเครื่อง เมื่อเปิดออกจากกล่องมาในถังของตัวเครื่องสามรถใส่ IPA ได้ 8 ลิตรโดยประมาณหรือเตรียมไว้ 10 ลิตร เครื่อง Form Wash มีขนาด 26.2 ซม. × 29.3 ซม. × 34.0 ซม. (10.3 นิ้ว × 11.5 นิ้ว × 13.4 นิ้ว) พื้นที่ในการจัดวางตัวเครื่องควรจะมีพื้นที่ด้านไว้เผื่อไว้ 30 ซม.(12 นิ้ว) เพราะว่าตัวแท่นและตะแกรงในการล้างงานจะยกตัวขึ้นมาด้านบน ห้องที่ตั้งเครื่อง Form Wash ไว้ควรจะมีการระบายอากาศที่ดีมีอุณมิระหว่าง 18- 28° C (64–82 ° F) Form Wash ถูกแพ็คมาอย่างดีภายในกล่องจะมีโฟมกันกระแทกที่ด้านบน และด้านล่างของตังเครื่องที่โฟมด้านบนจะมีอุปกรณ์เสริมที่จะใช้เกี่ยวกับการล้างมาให้ด้วย การยกออกจากกล่องให้สอดมือเข้าไปภายในกล่องที่ด้านล่างเพื่อจับและยกตัวเครื่องขึ้นมาจากกล่องให้ทำการตรวจสอบการรัดสายล็อคตะแกรงว่าถูกตัดออกหรือยังก่อนการเปิดเครื่องใช้งาน ให้เก็บอุปกรณ์เสริมที่แถมมาไว้ที่ด้านข้างของตัวเครื่องที่อยู่ด้านหลัง เพื่อความสะดวกสบายต่อการใช้งานของตัวท่านเอง พื้นที่ในการจัดเก็บเครื่องมือ และอุปกรณ์เสริม จะอยู่ที่ด้านข้างทั้ง 2 ด้านของตัวเครือง Form Wash เพื่อให้จัดเก็บอุปกรณ์นั้นเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้นต่อการนำไปใช้งาน ซึ้งสามารถเก็บอุปกรณ์ได้ดังต่อไปนี้ : เครื่องของ Formlabs ทั้งหมดมี serial name เป็นชื่อแทนหมายเลขประจำเครื่องซึ่งใช้เพื่อติดตามการผลิต และการขายโดยจะแสดงประวัติการซ่อมหรือปัญหาต่าง สามรถทำการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดบนตัวเครื่องได้หรือการอัพเดท firmware โดยการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย จะทำให้สามารถเข้าถึงตัวเครื่อง Form Wash หรือ Form Cure สามารถทำได้ดังต่อนี้ : อันตราย : สาร Isopropyl Alcohol (IPA) เป็นวัตถุไวไฟควรปิดฝาและเก็บให้พ้นจากมือเด็กเล็ก การใช้ Hydrometer ใช้มือจับที่ด้านบนตรง Handle (C) นำไปใส่ในถังล้างที่มีได้เติมสาร IPA เรียบร้อยแล้ว เมื่อนำ Hydrometer ใส่ลงไปในถังเรียบร้อยแล้วให้เลื่อน O-ring ขึ้นลงให้ตรงกับระดับขีด Short Wings (E) เมื่อตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นำไปเก็บไว้ในพื้นที่จัดเก็บด้านข้างของตัวเครื่อง Form Wash (เมื่อปรับระดับ O-ring ได้แล้วห้ามเลื่อนอีกเด็ดขาด นอกจากจะทำการเปลี่ยนสาร IPA ใหม่) เมื่อใช้เครื่อง Form Wash ไปในสักระยะหนึ่งแล้วต้องการจะทราบว่าสาร IPA อยู๋อยู่ภายในเครื่อง Form Wash นั้นควรจะใช้ต่อไหมเพราะเมื่อมีการล้างชิ้นงนเรซิ่นที่ติดอยู่กับชิ้นงานของเราจะปะปนลงไปในสาร IPA ในถังเรื่อยๆ จนสาร IPA ในถังนั้นมีความเข้มข้นของสิ่งเจือบนมากเกินไป ซึ่งจะไม่เหมาะสมต่อการล้างชิ้นงานแล้วถ้าใช้ล้างต่อชิ้นงานก็จะไม่สะอาด ดังนั้นควรจะทำการวัดอีกครั้งโดยนำ Hydrometer ที่ได้ปรับ O-ring ตั้งแต่ครั้งแรกแล้วไว้นั้นมาจุ่มลงไปในถังอีกครั้งและอ่านค่าที่ได้ โดยการสั่งเกตุดังนี้ ถ้า O-ring ลอยขึ้นมาอยู่ระหว่าง Tall Wings (D) กับ Short Wings (E) แสดงว่าสาร IPA ภายในถังล้างนั้นยังสามารถใช้ล้างชิ้นงานต่อไปได้ แต่ถ้าเมื่อใด O-ring ลอยขึ้นมาเหนือ Tall Wings (D) แสดงว่าสาร IPA ในถังล้างนั้นมีสิ่งเจือปนมากไม่เหมาะสมที่จะใช้สาร IPA ภายในถังล้างแล้วควรจะเปลี่ยนสาร IPA ใหม่ทันที เครื่อง Form Wash ที่พร้อมใช้งานั้นจะต้องเติมสาร IPA ลงไปในถังล้างก่อนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตามด้านข้างของตัวเครื่อง และดังนั้นก็ทำการคาริเบทโดยใช้ Hydrometer ไม่ว่าจะล้างแบบที่ชิ้นงานติดกับแท่นพิมพ์ และแกะชิ้นงานออกจากแท่นพิมพ์ไปไว้ในตะแกรงล้าง โดยชิ้นงานที่เครื่อง Form Wash สามารถใส่เข้าไปล้างภายในตัวเครื่องได้มีขนาดเท่ากับ 14.5 × 14.5 × 17.5 ซม. (5.7 × 5.7 × 6.9 นิ้ว) หมายเหตุ : สวมถุงมือเมื่อหยิบจับส่วนที่ปนเปื้อนด้วยสาร IPA หรือเรซิ่นเหลวเพื่อป้องกันการสัมผัสผิวหนังที่จะทำให้เกิดอันตรายได้ การควคุมเครื่อง Form Wash นั้นสามารถควบคุมผ่านปุ่มที่อยู่ด้านหน้าของตัวเครื่องใกล้ๆ กับหน้าจอได้เลย โดยการหมุนและกด หน้าจอจะแสดงรายละเอียดการควบคุม เช่น การตั้งเวลาในการล้าง การเริ่ม-หยุดการทำงาน การเปิดฝา-ปิดฝา การใส่ชิ้นงานเพื่อทำการล้างนั้น จะต้องยกรางสไลด์ที่อยู่ภายในถังล้างขึ้นมาก่อน โดยการใช้ปุ่มควบคุมกดที่ Open เพื่อให้การล้างนั้นง่ายขึ้นสามารถนำงานที่ติดกับแท่นพิมพ์มาเสียบเข้าไปที่ขายึบจับที่อยู่ด้านบนของตะแกรงได้เลยโดยให้หมุนชิ้นงานคว่ำลงและเสียบเข้าไป ข้อควรระวัง : ห้ามทำการล้างชิ้นงานโดยที่ไม่มีตะแกรงล้างอยู่ภายในเครื่อง เพราะขณะที่ทำการล้างอยู่นั้นชิ้นงานอาจจะหลุดออกมาจากแท่นพิมพ์ได้ เมื่อหลุดออกมาแล้วถ้าไม่มีตแกรงรองอยู่ที่ด้านล่างจะทไให้ชิ้นงานได้โดนกับใบพัดที่อยู่ด้านล่างถังล้างและทำให้เกิดความเสียหายได้ การล้างชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่กับเครื่อง Form Wash ควรจะสังเกตุให้แน่ใจว่าเมื่อนำชิ้นงานลงไปในถังล้างแล้วนั้นจะไม่ได้กีดขวางการวนของ IPA ตะแกรงล้าง ด้านข้างของถังล้าง ฝาปิดภายใน เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายได้ ชิ้นงานบางชิ้นให้สังเกตุดูว่ามีส่วนที่โค้งเว้า หรือเป็นแอ่งหรือเปล่า เพราะขณะที่ล้างโดยการใส่ไปกับแท่นพิมพ์นั้นผิวที่มีความโค้งเว้านั้นจะเป็นพื้นที่กักเก็บตะกอนของเรซิ่นและฝุ่นที่ได้ทำการล้างออกไปตกค้างอยู่ในพื้นผิวส่วนนั้นได้ ดังนั้นควรจะทำการล้างซ้ำครั้งที่ 2 เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีตะกอนเหล่านั้นตกค้างเหลืออยู่ที่ชิ้นงาน การตั้งค่าเวลาในการล้างโดยการใช่ปุ่มที่หน้าเครื่อง Form Wash โดยการเลือกเวลานั้นสามารถเลือกใช้ได้ตาม คู่มือการตั้งค่าเวลาล้างชิ้นงาน เมื่อเลือกเวลาที่ใช้ล้างได้แล้วนั้นให้กดปุ่นเพื่อเริ่มการล้าง เมื่อชิ้นงานถูกเลื่อนลงไปในถังล้างเรียบร้อยแล้วควรจะสังเกตุว่าฝาด้านบนสุดได้ปิด และถ้าต้องการหยุดการทำงานให้หมุนเลือกที่ Pause เพื่อหยุดเพื่อยกรางสไลด์และตะแกรงล้างขึ้นมาทำการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นค่อยเริ่มล้างชิ้นงานต่อ เมื่อเครื่อง Form Wash ทำการล้างเสร็จสิ้นแล้ว รางสไลด์พร้อมตะแกรงจะยกขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ซึ่งสาร IPA จะหยดลงบนฝาปิดด้านในและชิ้นงานจะเริ่มแห้งจากการล้าง ควรจะตรวจสอบให้แน่ใจถ้าชิ้นนั้นมีส่วนที่เป็นผิวโค้งเว้า กลวง ว่ามีตะกอนของเรซิ่นตกค้างอยู่หรือไหม โดยควรปล่อยให้แห้งเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาที หลังจากการล้าง เมื่อชิ้นงานแห้งแล้วแต่ผิวของชิ้นงานจะยังไม่แข็งอย่างสมบูรณ์ควรจะทำการแกะชิ้นงานออกจากแท่นอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ นำแท่นพิมพ์ออกจากขายึดจับจากตัวเครื่อง Form Wash เมื่อล้างและปล่อยชิ้นงานแห้งเรียบร้อยแล้ว ความเข้มข้นของ IPA จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีส่วนของเรซินที่ละลายผสมกันอยู่ในแต่ละการล้างทุกๆ ครั้ง เพื่อให้การล้างมีประสิทธิภาพสูงที่สุดควรจะทำตามขั้นตอนดังนี้ : เมื่อเวลาผ่านไป IPA ในถังล้างจะเข้มข้นขึ้นด้วยเรซิ่นเหลวที่หลุดมาจากการล้างชิ้นงาน ทำให้ลดประสิทธิภาพของการล้างลง มีวิธีการวัดโดยใช้ Hydrometer ที่มาพร้อมกับ Form Wash เพื่อตรวจสอบความเข้มข้นของ IPA ระหว่างการล้างใยแต่ละครั้ง เพื่อช่วยพิจารณาว่าเมื่อใดควรจะเปลี่ยนสาร IPA เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการล้าง ข้อควรระวัง : ควรสวมถุงมือทุกครั้งที่หยิบจับชิ้นงาน หรือล้างชิ้นงาน การใช้เครื่องล้าง Form Wash นั้นสร้างล้างชิ้นงานได้ประมาณ 200 ชิ้นต่อการเติม IPA ใหม่ 1 ถัง หรือถ้าไม่ต้องการเปลี่ยนสาร IPA ใหม่ทั้งหมดสารสามารถเปลี่ยนของใหม่เข้าแทนได้ในสัดส่วนเพียงเล็กน้อย หรือประมาณ 5-10% ของ IPA ทั้งหมดภายในถังล้าง ให้พิจารณาตามความเหมาะสมโดยใช้ Htdrometer วัดค่าความเข้มเข้นของ IPA ก่อนใช้ ความเข้มข้นของ IPA จะเปลี่ยนไปมากขึ้นเมื่อล้างชิ้นงานจำนวนมากๆ เพราะมีสิ่งเจือปนรวมอยู่ในสาร IPA เยอะจะทำให้ลูกลอยของ Hydrometer นั้นลอยสูงขึ้น O-ring mี่ตั้งไว้ตั้งแต่แรกก็จะลอยสูงขึ้นถ้าเกินขีด Tall Wings ให้ทำการเปลี่ยน IPA ใหม่หรือถ่ายออกแค่ 5-10% ตามความเหมาะสมและวัดด้วย Hydrometer อีกครั้ง การตรวจสอบความเข้มข้น IPA ต้องใช้ Hydrometer และทำการเปลี่ยน IPA ตามต้องการจะใช้ล้างชิ้นงานให้สะอาดมากที่สุด ซึ่งการเปลี่ยน IPA นั้นจำเป็นที่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม โดยมีขั้นตอนดังนี้ : ปั๊มกาลักน้ำใช้แรงโน้มถ่วงในการถ่ายโอนของเหลวระหว่างภาชนะ ปั๊มกาลักน้ำถูกออกแบบมาเพื่อถ่ายโอนของเหลวโดยไม่ต้องใช่การฉีดแบบสายยาง ใช้ปั๊มกาลักน้ำเพื่อหลีกเลี่ยงการเติม IPA มากจนเกินไปหรือการหกออกนอกถังล้างระหว่างเติมหรือนำออก ในการประกอบปั๊มกาลักน้ำให้หมุนด้ามจับ (A) เข้ากับหลอดแข็ง (B) ของปั๊มกาลักน้ำ ตามภาพ ทำตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อถ่ายโอน IPA จาก Form Wash ไปยังภาชนะบรรจุที่ทนต่อสารเคมีซึ่งกำหนดไว้อย่างปลอดภัยสำหรับ IPA ที่มีความเข้มข้นสูง และทำการเติม IPA ใหม่ลงใน Form Wash เริ่มต้นด้วยการเปิดฝาด้านนอกเปิดฐานยกขึ้นแล้วถอดตะกร้าออก หรือทำตามขั้นตอนเหล่านี้ : ยกถังล้างออกทางข้างหน้าตัวเครื่อง และยกขึ้นเล็กน้อย วางถังล้างลงบนพื้นผิวที่สะอาดมั่นคงจากนั้นยกฝาด้านในออก ยกถังล้างขึ้นให้เหนือภาชนะเก็บ IPA ให้นำท่อปลายด้านที่แข็งใส่ลงไปในถังล้าง และอีกท่ออีกด้านที่สามารถงอได้ใส่ไปที่ภาชนะเก็บ IPA จากนั้นให้บีบพลาสติกสีแดงให้น้ำไหลออกจากด้านที่ 1 ไปด้านที่ 2 เมื่อไหล่คงที่แล้วให้เลิกบีบแล้วปล่อยได้ตามปกติ เพราะ IPA จะไหลเองแแบอัตโนมัติ สำหรับการล้างที่สะอาดที่สุดให้ล้างถังด้วย IPA แล้วเช็ดด้วยกระดาษชำระหากจำเป็น ใช้ปั๊มกาลักน้ำเพื่อเติม IPA ลงในถังล้างระหว่างเส้นต่ำสุดและสูงสุด จัดแนวขอบด้านหน้าของฝาปิดด้านในให้ตรงกับขอบของถังล้างแล้ววางฝาลงตรงด้านบนของถัง ข้อควรระวังเกี่ยวกับเครื่อง Form Wash
1.ห้ามทำการแก้ไข และดัดแปลง
2.ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (IPA)
3.เรซิ่น (Resin)
4. คำเตือนเพิ่มเติม
-ควรจะถอดปลั๊กไฟก่อนทำความสะอาดัวเครื่อง Form Wash ทุกครั้ง
-ใช้อุปกรณ์ในบำรุงรักษาตัวเครื่องให้เหมาะสม ต่อการทำความสะอาด
-เมื่อเปิดใช้งานตัวเครื่อง Form Wash ควรจะตั้งตัวเครื่องลงบนพื้นที่มีความเรียบและได้ระดับเท่านั้น *ห้ามใช้งานบนพื้นที่เอียงการตั้งค่าหลังจากได้รับเครื่อง
การแกะกล่องเครื่อง Form Wash
เครื่องมือที่มีให้ภายในกล่อง
Serial name ของตัวเครื่อง
การตั้งค่าตัวเครื่อง Form Wash
ส่วนประกอบของ Hydrometer มีดังต่อไปนี้ :– O-ring (A) :โอ-ริง วัดค่าความเข้มข้น
– Float (B) : ลูกลอย
– Handle (C) : ด้ามจับ
– Tall Wings (D) : ขีดวัดระดับขีดสูง
– Short Wings (E): ขีดวัดระดับขีดต่ำ
– Weight (F) : ลูกน้ำหนักถ่วงการใช้งานเบื้องต้น
การควบคุม Form Wash
1.ใส่ชิ้นงานเพื่อล้าง
ล้างชิ้นงานขนาดใหญ่
ล้างชิ้นงานที่มีผิวแบบโค้งเว้าขณะที่ติดอยู่กับแท่นพิมพ์
2.การตั้งค่าเวลาในการล้าง
3.ทำให้ชิ้นงานแห้งหลังจากการล้าง
4.การเสร็จสิ้นการล้าง
การบำรุงรักษา
การวัดความเข้มข้นของ IPA
การเปลี่ยนถ่าย IPA
Siphon pump
การเปลี่ยน IPA