Motion & Face Capture นวัตกรรมสำหรับภาพยนตร์ของอนาคต

Motion & Face Capture นวัตกรรมสำหรับภาพยนตร์ของอนาคต
ขอบคุณภาพจาก GHD

สำหรับในหัวข้อนี้ขออินกับกระแสของภาพยนต์ อีกหนึ่งเรื่องที่กำลังเข้าฉายอยู่ในปัจจุบันกันนึดนึงนะครับ เพราะว่าถือเป็นการพลิกอีกหน้าของวงกาภาพยนต์ไทยกันเลยทีเดียว ซึ่งภาพยนต์เรื่องนั้นก็คือ You&Me&Me หรือ เธอกับฉันกับฉัน ที่ได้นักแสดงวัยรุ่น ที่มีความน่ารักสดใสอย่างน้องใบปอ สาวน้อยวัยเพียง 17 ปี มาเป็นนักแสดงนำในเรื่อง ซึ่งบทบาทในเรื่องนั้น น้องใบปอต้องแสดงเป็นบทฝาแฝดนั้นก็คือ ยู และ มี โดยหากปกติแล้วการถ่ายทำจะเป็นการถ่ายทีละเฟรมแล้วนำมาตัดต่อเข้าหากัน หรือในละครที่มักจะทำก็คือการถ่ายผ่านไหล่ของนักแสดงอีกคนเพื่อให้ดูเหมือนว่ามีฝาแฝดอยู่จริงๆ

ขอบคุณภาพจาก GHD

แต่สำหรับในภาพยนต์เรื่องนี้นั้นได้มีการใช้เทคนิกพิเศษเข้ามาช่วยในการผลิต ทำให้ภาพที่ออกมานั้นมีความสมจริง และเป็นธรรมชาติอย่างไร้ที่ติ จนเหมือนว่าน้องใบปอนั้น มีฝาแฝดที่คลานตามกันออกมาจริง ซึ่งในต่างประเทศนั้นเรียกเทคนิกชนิดนี้ว่า DeepFake ซึ่งเป็นการนำใบหน้าของอีกคนไปใส่กับอีกหนึ่งคน จนทำให้สามารถออกมาเป็นภาพยนต์ฝาแฝดได้อย่างสมจริง ซึ่งในวันนี้ Dfine จะพาทุกคนไปเจาะลึกการนำเทคนิกนี้มาใช้ในการสร้างโมเดล เริ่มตั้งแต่การคัดลอกใบหน้าของนักแสดง การประดิษฐ์โมเดล และจนถึงการนำไปใช้กันเลยทีเดียว แต่ต้องขอแจ้งก่อนว่ารูปแบบและการทำงานที่เราเลือกมานำเสนอนี้เป็นเพียงประสบการณ์และอุปกรณืที่เรามีการศึกษาและพัฒนาขึ้นเท่านั้น ไม่ได้อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลแต่อย่างใด

Face Scan

การสแกนต้นแบบด้วย Dfine 100

สำหรับขั้นตอนนี้นั้นถือว่าเป็นขั้นตอนแรกในการทำงาน เพราะเราต้องทำการคัดลอกต้นแบบของใบหน้านักแสดงเสียก่อน เราจึงจะทราบว่าใบหน้าที่เราต้องการนั้นมีลักษณะเป็นอะไร ซึ่งในการคัดลอกใบหน้านี้จะใช้เป็นระบบ Photogrametry ที่เป็นการบันทึกภาพในทุกๆ มุมของใบหน้าเพื่อที่จะได้ทราบถึงรายละเอียดทั้งกรอบหน้า โครงหน้า ลักษณะเฉพาะของใบหน้านั้นว่ามีลักษณะเด่นหรือด้อยอย่างไรบ้าง ซึ่งต้องบอกก่อนเลยครับในส่วนของขั้นตอนนี้ ในต่างประเทศนั้นถือว่าเป็นการใช้ทุนทรัพย์ที่สูงมาก เพราะถ้าดูจากภาพตัวอย่างแล้ว อุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นกล้อง DSLR ทั้งหมดซึ่งแค่นำราคากล้องมาคูณจำนวนที่ใช้แล้วก็คงไม่ต้องพูดถึงใช่รึเปล่าครับต้องใช้ทุนมากแค่ไหน แต่สำหรับในบ้านเรานั้นเทคโนโลยีนี้ยังถือว่าใหม่อยู่มาก และน้อยคนที่จะรู้จัก ซึ่งนักพัฒนาของไทยนั้นก็ได้มีการพัฒนาอุกณ์ขึ้นมาใช้งานเช่นกัน โดยเป้นการนำกล้องที่มีความละเอียดมากถึง 64 ล้านพิกเซลจำนวน 100 ตัว จนเป็นเครื่องสแกนระบบ Photogrametry ออกมาจนได้

Clean Up Face 

หลังจากที่เราได้ทำกาสแกนใบหน้าของนักแสดงเรียบร้อยแล้ว การทำงานในส่วนต่อมาคือการนำไฟล์ที่ได้มาทำการตกแต่งให้มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น ซึ่งในขั้นตอนนี้จะยังไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดภายนอกมากนัก โดยเราจะเน้นเป็นที่งานพื้นผิวของโมเดลเป็นหลัก แต่สำหรับหลายๆ คงมองว่าทำไมต้องมีการ Clean File ก็ในเมื่อเดียวก็มีสีของโมเดลมาปิดอยู่ดี เหตุผลก็เพราะว่าถ้าเรามีการ Clean File ตั้งแต่แรกเราก็จะได้ไฟล์ที่มีคุณภาพไปใช้งานในขั้นตอนต่อไป โดยที่ไม่ต้องใช้เวลาในการปกปิดส่วนเกินที่ไม่จะเป็นที่อาจจะหลุดออกมาจากโมเดลต้นแบบนั้นเอง

Face Tracking

มาถึงขั้นตอนที่มีความน่าสนใจและน่าตื่นเต้นมากที่สุดนั่นก็คือ Face Tracking โดยหลังจากที่เราได้ใบหน้าของนักแสดง ออกมาเป็นโมเดล 3มิติแล้วเราก็จะมาทำให้ใบหน้านั้นสามารถขยับได้เหมือนต้นฉบับคนจริงๆ ซึ่งในขั้นตอนนี้นั้นเทคนิกที่ใช้นั้นก็จะมีความหลากหลายพอสมควร แล้วแต่เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน บางสตูดิโอจะใช้้เป็นแบบ Point Tracking ที่จะเป็นการจุดลงบนใบหน้า เพื่อสร้างตำแหน่งให้คอมพิวเตอร์นั้นสามารถจับส่วนต่างๆ ของใบหน้าได้ แต่ในวิธีนี้ก็มักจะเกิดปัญหาในส่วนของมุมปาก และหางตาอที่จะมีอาการกระตุกอยู่บ้าง จึงอาจจะต้องมีการแก้ไขไฟล์ในขั้นตอนต่อไปอีกเล็กน้อย

ภาพนักแสดงที่กำหนดจุด marker บนใบหน้า

หรือบางสตูดิโอจะใช้รูปแบบของ Mask Sensor ที่จะเป็นการใช้ระบบจะกางแผ่นมาร์คไปบนใบหน้าของนักแสดง จากนั้นจะทำงานโดยที่ใช้ sensor ในการตรวจจับการเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะ ยิ้ม หน้าบึ้ง ขมวดคิ้ว แลบลิ้น หรืออื่นๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน และในรูปแบบที่สองนี้ทางเราแนะนำเป็นอย่างมากเพราะไม่ใช่แค่ลดขั้นตอนในการทำงานแล้ว แต่ยังช่วยในเรื่องของความแม่นยำอีกด้วย

รูปแบบของ Mask Sensor

CG Production

หลังจากที่เราทำใส่การเคลื่อนไหวให้ตัวละครของเรานั้นดูมีชีวิตชีวากันเรียบร้อยแล้ว ในขั้ตอนต่อมาก็จะเป็นการเก็บรายละเอียดต่างๆ ของตัวละคร ฉาก หรือแสงในภาพยนต์ เพราะในการถ่ายทำนั้นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้เลยคือเรื่องของสิ่งต่างๆ รอบตัวเพราะเนื่องจากธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะในเรื่องของแสงธรรมชาติ ที่มีการเปลี่ยนในทุกๆ ช่วงของวัน เพราะเฉพาะการควบคุมหรือกำหนดทิศทางของสีของแสงในเวลานั้นๆ เป็นเรื่องที่ต้องลงรายละเอียดมาก เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพออกมาก

จากทุกขั้นตอนที่เอามานำเสอนนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำงานเท่านั้น ผู้ผลิตภาพยนต์บางรายอาจจะมีขั้นตอนที่มากกว่านี้ น้อยกว่านี้ หรืออาจจะไม่เหมือนกับที่เรานำเสนอเลยก็ได้เช่นกัน ซึ่งนอกจากการที่เราจะคัดลอกใบหน้าเพื่อที่จะนำไปใช้งานได้แล้ว เรายังสามารถคัดลองตัวคนทั้งตัวเพื่อที่จะนำไปใช้งานได้อีกด้วย จากนั้นเราจะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Motion Capture ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถสร้างการเคลื่อนไหวได้โดยง่าย และสามารถให้ผลลัพธ์แบบ Real Time ได้ทันที ซึ่งทำให้นักแสดงทั้ง 2 คนนั้นสามารถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้ตรงตามที่ผู้กำกับต้องการในการแสดงเพียงครั้งเดียว