3D Printer พิมพ์ Motor Part ขั้นตอนตั้งแต่ไฟล์3Dจนมาเป็นรถ

พอดีได้ไปเห็น Video นี้น่าสนใจ เป็นการใช้เครื่อง 3D printer ในการช่วยร่นระยะเวลาในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ โดยตัวอย่างที่ยกมานั้นเป็น รถยนต์จาก Great Wall Motor (ที่เพิ่งซื้อโรงงาน GM ไปเร็วๆนี้ในไทย) ได้โชว์ผลงานการทำ “พวงมาลัย” รถยนต์ จากเครื่องพิมพ์3มิต ระบบ SLA

**ระบบSLA คืออะไร?…คร่าวๆคือระบบที่ใช้แสงเลเซอร์ในการยิงน้ำยาเรซิ่นให้เซตตัวทำให้เกิดรูปร่าง โดยนำไฟล์3มิติมาปรับให้แบ่งเป็น Layer ยิ่ง Layer เยอะความละเอียดยิ่งมากตาม ซึ่งตัวระบบนี้จะเป็นการยิงแสงวาดไปตามรูปร่างในแต่ละชั้นๆด้วยความเร็วสูง**

ทำให้เรานึกย้อนไปในสมัยที่เทคโนโลยียังไม่ได้มาไกลขนาดนี้ ที่นักโมเดลเลอร์นั้นจะต้องมานั่งขึ้นต้นแบบด้วยมือทั้งหมด ซึ่กินระยะเวลานานมากๆ และการลงทุนลงแรงกับคนกว่าจะได้ 1 ชิ้น ซึ่งหากผิดพลาดก็อาจจะต้องกลับมาแก้ไขใหม่ตั้งแต่ต้น

💁‍♂️แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยการพิมพ์3มิติเข้ามาช่วยให้การทำงานนั้นสะดวกสบายและสร้างความน่าประทับใจทุกครั้งที่พิมพ์ชิ้นงานกันเลยทีเดียว นอกจากความเร็วในการขึ้นชิ้นงาน ความสวยงาม และที่สำคัญความเนี้ยบของงานที่ทุกอย่างแทบจะสมสูรณืแบบ 100% มากกว่าการทำชิ้นงานด้วยมืออย่างแน่นอน ช่วยร่นเวลาและผ่อนแรงในการทำงานได้มากทีเดียว แถมเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่และการควบคุมคุณภาพของชิ้นงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในวงการ Product Design อีกด้วย

 

เรามาดูวิธีการผลิตต้นแบบอะไหล่ตั้งแต่ต้นยันจบอย่างละเอียดกันอีกทีเดียวกว่าครับ…เพื่อความเข้าใจในแต่ละ Process ว่าเค้าทำอะไรเพื่ออะไรและมีข้อสังเกตยังไงได้บ้าง

เลือกไฟล์ 3 มิติที่ต้องการพิมพ์ โดยให้เป็นไฟล์นามสกุล stl. หรือ obj.
เช็คดูรูปร่างและโครงสร้างของโมเดลว่าไม่มีจุดไหนเสียหาย
Import ไฟล์เข้าโปรแกรม 3D
ใช้คำสั่งเลือกบริเวณพื้นที่ที่ต้องการจะให้สัมผัสกับฐานพิมพ์ เพื่อให้สามารถขึ้นงานได้อย่างมันคง ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละโมเดลว่าควรขึ้นยังไง
เจาะรูที่ชิ้นงาน 1-2 รู บริเวณใต้สุดของโมเดล เพื่อให้เวลาพิมพ์เสร็จ ตัวน้ำยาเรซิ่นที่เคลือบอยู่ข้างในไหลออกมา เป็นการประหยัดน้ำยาเรซิ่น และให้น้ำยาIPA ที่ไว้ล้างไหลออกมาหลังจากล้างเสร็จเรียบร้อย ป้องกันการแตกหักของชิ้นงานเมื่อนำไปอบหากยังมีน้ำยาเรซิ่นหลงเหลืออยู่ข้างใน
ตัวโปรแกรมเมื่อใช้คำสั่งเจาะรู โปรแกรมจะคำนวนและสร้างเนื้อที่เป็นรูให้เพื่อเวลาพิมพ์เสร็จสามารถนำมาประกบติดกันเหมือนเดิมได้
สร้าง Support แบบอัตโนมัติ
เช็คดูรอบๆตัวงานว่าซัพพอร์ตที่โปรแกรมคำนวนนั้นโอเคหรือยัง
เช็คความหนาผนังของชิ้นงาน แต่ละเลเยอร์
และอย่าลืมที่จะทำ Support ให้กับชิ้นที่ปิดรู
สร้างเส้นเพื่อเชื่อม Support ต่อกัน เพื่อให้เวลาพิมพ์งาน จะทำให้พิมพ์ซัพพอร์ทได้มั่นคงขึ้นและช่วยให้เป็นก้อนชิ้นงานเดียวกัน
เมื่อเช็คทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ทำการตั้งค่าต่างๆในการพิมพ์ และบันทึกไฟล์ออกมาพร้อมที่จะพิมพ์ต่อไป
เทน้ำยาเรซิ่นลงบนแท่นพิมพ์ให้เต็มแท็งค์
ตัวปาดผิวจะทำการปาดเพื่อเคลียร์ผิวหน้าของแท็งค์ไม่ให้มีฟองอากาศหรือเศษผงที่จะมารบกวนการพิมพ์งาน
ทำการอัพโหลดไฟล์ที่พร้อมพิมพ์งาน ลง Thumb Drive แล้วนำมาต่อกับเครื่องพิมพ์ เพื่อสั่งงานผ่านเครื่องพิมพ์ต่อไป
เมื่ออัพโหลดลงเครื่องพิมพ์แล้ว หน้าจอจะขึ้นเป็นพื้นที่พิมพ์งาน ซึ่งเราสามารถจัดวางโมเดลว่าจะให้พิมพ์บริเวณไหน มีประโยชน์ในกรณีมีพิมพ์ทีเดียวหลายชิ้นงาน เมื่อจัดวางได้ที่แล้วก็กดสั่งพิมพ์ได้เลย
ตัวเลเซอร์จะยิงและวิ่งตามแบบในแต่ละชั้นด้วยความเร็วสูง เหมือนกับการวาดภาพ
เมื่อเลเซอร์ยิงได้ครบทั้งชั้นแล้ว ตัวปาดนำยาเรซิ่นจะปาดผิวน้ำยา1รอบเพื่อเคลียร์พื้นผิวของแท็งค์ และแท่นพิมพ์จะค่อยๆเลื่อนลงทีละชั้นๆ เป็นการพิมพ์จากล่างขึ้นบน
เมื่อทำการพิมพ์เสร็จ ตัวแท่นพิมพ์จะเลื่อนขึ้นยกชิ้นงานขึ้นมาจากแท็งค์เรซิ่น

 

แท่นพิมพ์ยกชิ้นงานขึ้นจนเลยน้ำยาเรซิ่นแท็งค์ รอให้น้ำยาที่ยังหลงเหลือเคลือบบนชิ้นงานไหลลงมาก่อนที่จะทำการนำออก เพื่อเป็นการประหยัดน้ำยาเรซิ่นและเคลียร์พื้นผิวให้ได้มากที่สุดก่อนล้าง

👉เนื่องจากหากเรานำไปล้างทันที ตัว IPA ที่ล้างจะสกปรกเร็วขึ้น มีเรซิ่นผสมกับIPA อยู่มาก ทำให้การล้างชิ้นงานในครั้งถัดๆไปตัวชิ้นงานจะล้างไม่สะอาดเพราะพวกเศษๆเรซิ่นที่ผสมกับIPA อยู่จะไปเกาะกับชิ้นงานซึ่งจะเล็กจนเรามองไม่เห็น
แต่หากนำไปอบให้เซตตัวและแห้งแล้ว ตัวพื้นผิวชิ้นงานจะมีเศษเรซิ่นเกาะอยู่และต้องมาขัดเก็บทีหลังทำให้เสียเวลาและเสียแรงในการขัดแต่งงานหลายรอบ

เมื่อรอให้น้ำยาเรซิ่นที่เคลือบผิวงานไหลออกไปพอได้ที่แล้ว จึงทำการแซะชิ้นงานออกจากแท่นพิมพ์
จะเห็นได้ว่ามีส่วนที่เป็นเส้นเชื่อมซัพพอร์ตของแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้ชิ้นงานมั่นคงและเป็นก้อนเดียวกัน
ยกชิ้นงานออกจากเครื่องพิมพ์ โดยใช้ถาดรองกันน้ำยาเรซิ่นไหลเลอะเทอะ

ซึ่งต้องใส่ถุงเมือ และชุดป้องกัน IPA และที่สำคัญคือแว่นตาและหน้ากากกันแก๊สที่ต้องสวมอยู่ตลอดเวลาการทำงาน เนื่องจาก IPA เป็นแอลกอฮอร์บริสุทธิ มีกลิ่นฉุนมากๆ
ยิ่งใช้ในแท็คใหญ่ด้วยแล้วยิ่งฉุนรุนแรง ทำใหเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ จึงควรที่จะต้องสวมเครื่องป้องกันอย่างแน่นหน้

นำมาล้างน้ำ IPA รอบแรก

👉ซึ่งต้องใส่ถุงเมือ และชุดป้องกัน IPA และที่สำคัญคือแว่นตาและหน้ากากกันแก๊สที่ต้องสวมอยู่ตลอดเวลาการทำงาน เนื่องจาก IPA เป็นแอลกอฮอร์บริสุทธิ มีกลิ่นฉุนมากๆ
ยิ่งใช้ในแท็คใหญ่ด้วยแล้วยิ่งฉุนรุนแรง ทำใหเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ จึงควรที่จะต้องสวมเครื่องป้องกันอย่างแน่นหนา

นำมาล้างน้ำ IPA รอบสอง ในแท็คที่อยู่ข้างๆกัน
ใช้แปรงจุ่ม IPA และปาดเช็ดน้ำยาเรซิ่นที่เกาะบนผิวงานออก
ในขั้นตอนการล้างนี้สามารถดึงชิ้นส่วนซัพพอร์ตคร่าวๆออกระหว่างล้าง IPA ได้เลย เนื่องจากตัวซัพพอร์ตยังนิ่มและดึงออกได้ง่ายอยู่
จากนั้นจึงนำไปล้างน้ำรอบที่3หลังจากดึงซัพพอร์ตออกไปส่วนหนึ่งแล้ว ใช้แปรงปาดๆออกอีกรอบหนึ่งเพื่อความสะอาด เรียบร้อย
เป่าลมเข้าไปในรูเพื่อให้น้ำที่ขังอยู่ข้างในไหลออกมาให้ได้มากที่สุด
เป่าลมให้ทั่วชิ้นงานไล่น้ำ IPA ออกจากพวกร่อง รู เล็กๆที่เป็นรายละเอียดของชิ้นงานให้หมด จากนั้นนำไปตากผึ่งลมไว้ก่อนเพื่อให้IPA ระเหยออกให้หมดไป เช็ดงานให้สะอาดก่อนนำไปขัดแต่ง
ใช้ที่คีบเก็บงานภายในรูปที่เจาะไว้เพื่อไม่ให้มีเศษซัพพอร์ตติดอยู่ข้างใน
ขัดแต่งภาพนอกให้เรียบร้อยก่อนนำไปอบชิ้นงาน ซึ่งก่อนอบชิ้นงาน ตัวโมเดลค่อนข้างมีความแข็งแรงมากพออยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าโมเดลจะเสียหายระหว่างขัดแต่ง
ใช้กระดาษทรายขัดผิวให้เรียบร้อย
นำเข้าเตาอบ UV
ไฟ UV จะช่วยให้ชิ้นงานเซตตัวและแข็งโดยสมบูรณ์
เสร็จแล้วจึงติดชิ้นส่วนที่เจาะรูเข้าไว้ด้วยกันเหมือนเดิม
พ่นรองพื้นที่มีเนื้อสีเข้มข้นเพื่อเป็นการอุดรวย หรือ ตามด บนผิวชิ้นงาน เป็นการเช็คเนื่องจากสีเรซิ่นทำให้เราไม่สามารถมองเห้ฯร่องรอยที่เล็กได้
รอให้สีแห้งแล้วจึงขัดแต่งผิวงานอีกครั้ง
เมื่อขัดเรียบร้อย ผิวงานจะเผยให้เห็นสีที่เราพ่นอุดร่อยนั้นเด่นชัดขึ้นมา
จากนั้นจึงเริ่มพ่นสีจริงต่อ โดยพ่นสีพื้นให้ทั่ว สีพื้นจะเป็นสีที่มีเปอร์เซ็นเยอะกว่าสีอื่นของตัวชิ้นงาน ในภาพจะเห็นว่าเป็นการพ่นสีดำ เนื่องจากตัวงานจริงเป็นสีเงินเมทัลลิก การรองพื้นดำนั้นจะช่วยให้การพ่อนสีประเภทเมทัลลิกเงาขึ้นมาก
ใช้เทปติดกั้นพ่นสี
พ่นสีจริงทับกับเทปกั้นพ่นได้เลย รอสีแห้งแล้วจึงแกะเทปกั้นพ่นออก
จากนั้นตกแต่งด้วยวัสดุอื่นๆตามที่ออกแบบไว้ ได้ชิ้นงานสมจริง สวยงาม ออกมาเรียบร้อย

 

และมี Video การเปรียบเทียบระหว่างการ CNC และ 3D Printing ว่ามีความแตกต่างและน่าสนใจต่างกันอย่างไรบ้าง

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า Process ในการทำงานนั้นมีหลายขั้นตอน กว่าจะได้ชิ้นงาน Prototype มา1ชิ้น แต่เนื่องจากการเข้ามาของเทคโนโลยีการพิมพ์ SLA แบบนี้นั้นทำให้การขึ้นต้นแบบเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทำงานง่าย การทำโครงสร้างที่ซับซ้อนได้ไม่ยากซึ่งต่างจากการทำด้วยเครื่องจักรอื่นๆที่มีข้อจำกัดในการขึ้นรูปทรงที่ซับซ้อนมากมาย จึงไม่แปลกใจเลยถ้าอนาคตเราจะเห็นรถยนต์ที่ถูกสร้างด้วย 3D Printing ทั้งคัน

 

ทางเรา Print 3DD ก็มีเครื่อง SLA ขนาดใหญ่รองรับการขึ้นโมเดลทางอุตสาหกรรมให้ลองเลือกดูอีกด้วย

การมีเครื่องจักรที่สามารถลดต้นทุนเวลาและการทำงานที่ซับซ้อนได้ ก็คงคุ้มไม่ใช้น้อยจะที่ได้ใช้งานนะครับ….😁

หรือ หากใครสนใจเครื่องที่เล็กลงมาก็ขอแนะนำเป็น…