Download – software FlashForge 3D Printer ที่นี่ <—
Download – คู่มือ FlashPrint3D Printer ที่นี่ <—
โปรแกรม FlashPrint สามารถใช้ได้อย่างดีกับเครื่องพิมพ์สามมิติ Flashforge Finder, Flashforge Dreamer, Flashforge Creator Pro, Flashforge Guider, และเครื่องพิมพ์แบบ DLP Flashforge Hunter. โปรแกรม FlashPrint จะอยู่ใน USB Flash Drive หรือ SD card ที่มาพร้อมกับเครื่องพิมพ์ Flashforge หรือดาวน์โหลดจากที่นี่ http://www.ff3dp.com/#!sup/c1df1 การติดตั้งให้ทำตามคำแนะนำบนจอ โปรแกรมนี้ใช้กับ Windows XP / Win 7 32-bit & 64 bit / Win 8 /Win 10 / Linux 14.0 และ Mac OS. เลือกรุ่นของเครื่องพิมพ์ — เริ่มใช้งานครั้งแรกต้องเลือกรุ่นของเครื่องพิมพ์ก่อน เมื่อเปิดโปรแกรม จะมีหน้าต่างให้เลือกรุ่นของเครื่องพิมพ์ ให้คุณเลือกรุ่น Flashforge Guider แล้วกด [OK].คุณยังสามารถเลือกเปลี่ยนรุ่นได้ในภายหลังโดยไปที่เมนู [Print]–[Machine type] เมนูของ Flashprint Rotate-หมุนโมเดลได้ทั้งสามแกน คุณสามารถโหลดโมเดลหรือไฟล์ Gcode เข้ามาในโปรแกรม FlashPrint ได้หกวิธีคือ วิธีที่ 1 กดปุ่ม Load ที่ด้านบนของจอภาพ แล้วเลือกไฟล์โมเดลที่จะพิมพ์ วิธีที่ 2 เลือกไฟล์ที่จะพิมพ์ แล้วลากเข้ามาในหน้าต่างของ FlashPrint วิธีที่ 3 เลือกเมนู [File]–[Load File].แล้วเลือกไฟล์โมเดลที่จะพิมพ์ วิธีที่ 4 เลือกเมนู [File]–[Examples] แล้วเลือกไฟล์ตัวอย่างที่ให้มา วิธีที่ 5 เลือกเมนู [File]–[Recent Files] แล้วเลือกไฟล์ที่เคยเปิดก่อนหน้านี้ วิธีที่ 6 เลือกไฟล์ที่จะพิมพ์ แล้วลากเข้ามาที่ไอคอนของโปรแกรม FlashPrint .stl, .obj, .fpp , .png, .jpg, .jpeg หรือ .bmp เป็นรูปแบบของไฟล์ที่เก็บข้อมูลโมเดลสามมิติที่โปรแกรม FlashPrint สนับสนุน เมื่อโหลดไฟล์มาแล้วสามารถจะปรับตำแหน่ง ขนาด ทิศทางของโมเดลได้ หลังจากนั้นคุณก็จะสร้างไฟล์ Gcode เพื่อนำไปพิมพ์ได้เลย หมายเหตุ ไฟล์ Gcode ไม่สามารถแก้ไขได้อีกแล้ว แต่สามารถส่งไปพิมพ์ได้เลย กดเมาส์ปุ่มซ้ายเพื่อเลือกโมเดล กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้แล้วกดปุ่มซ้ายเพื่อเลือกโมเดลหลายๆ ชิ้น โมเดลจะมีสีสว่างขึ้นเมื่อถูกเลือก จะแก้ไขปรับเปลี่ยนได้เฉพาะโมเดลที่ถูกเลือกเท่านั้น ยกเลิกการเลือกโดยกดปุ่มซ้ายตรงพื้นที่ว่าง ในโหมดต่างๆ เช่น มุมมอง ปรับเปลี่ยน การกดปุ่มซ้ายค้างไว้จะให้ผลที่แตกต่างกันไป กดปุ่มขวาค้างไว้เพื่อหมุนแท่นพิมพ์ในทิศทางต่างๆ ซูมภาพเข้า-ออก เปลี่ยนมุมมองของโมเดลโดยการย้าย หมุน ปรับขนาด และอื่นๆ กดปุ่ม [View] จากนั้นคุณสามารถย้ายมุมมองของแท่นพิมพ์ไปมาบนหน้าจอได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้: วิธีที่ 1: กดปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้แล้วลาก วิธีที่ 2: กดปุ่มกลางของเมาส์ค้างไว้แล้วลาก วิธีที่ 3: กดปุ่ม Shift และปุ่มขวาของเมาส์ค้างไว้แล้วลาก กดปุ่ม [View] จากนั้นคุณสามารถหมุนแท่นพิมพ์ด้วยวิธีการต่อไปนี้: วิธีที่ 1: กดปุ่มขวาของเมาส์ค้างไว้แล้วลาก วิธีที่ 2: กดปุ่ม Shift และปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้แล้วลาก หมุนลูกล้อที่เมาส์เพื่อซูมเข้า หรือออก คุณสามารถเปลี่ยนมุมมองที่เป็นมุมมาตรฐานคือ บน/ล่าง/ซ้าย/ขวา/หน้า/หลัง คุณสามารถสามารถกดปุ่ม reset เพื่อกลับมามุมมองแรกเริ่มได้ด้วย กดเมนู [View]–[Show Model Outline],จะแสดงเส้นขอบของโมเดลเป็นสีเหลือง กดเมนู [View]–[Show Steep Overhang] จะแสดงบริเวณที่มีมุมเอียงน้อยกว่า 45องศาเป็นสีแดง คุณสามารถเคลื่อนย้าย หมุน และย่อ-ขยายโมเดลได้ เลือกโมเดลแล้วคุณสามารถย้ายตำแหน่งโมเดลไปอยู่ที่ใดก็ได้บนแท่นพิมพ์: วิธีที่ 1: กดปุ่ม [Move] แล้วกดปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้แล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการในแนวแกน X-Y แต่เมื่อกด [Shift] ค้างไว้ด้วย จะเป็นการเคลื่อนย้ายโมเดลในแนวแกน Z โดยจะมีตัวเลขบอกระยะทางที่เคลื่อนที่ไปด้วย วิธีที่ 2: กดปุ่ม [Move] แล้วใส่ตัวเลขระบุตำแหน่งที่จะให้โมเดลย้ายไปอยู่ สามารถยกเลิกโดยกดปุ่ม [Reset] หมายเหตุ: คุณสามารถกดปุ่ม [Center] เพื่อย้ายโมเดลมาอยู่ตรงกลางแท่นพิมพ์ และกดปุ่ม [On Platform] หลังจากการย้ายโมเดล เพื่อให้แน่ใจว่าโมเดลอยู่ติดกับแท่นพิมพ์ เลือกโมเดลแล้วคุณสามารถหมุนโมเดลไปอยู่ที่ใดก็ได้บนแท่นพิมพ์: วิธีที่ 1: กดปุ่ม [Rotate] ที่ด้านซ้ายของจอ จะมีวงแหวนสามวงตามแนวแกน X-Y-Z รอบโมเดล กดปุ่มซ้ายของเมาส์ที่เส้นใดเส้นหนึ่งแล้วลากเพื่อหมุนโมเดล เลือกหมุนจนได้มุมที่ต้องการ วิธีที่ 2: กดปุ่ม [Rotate] ที่ด้านซ้ายของจอ จะมีช่องใส่ข้อมูลองศาทั้งสามแกน ใส่ตัวเลขที่ต้องการแล้วกด enter หรือกดปุ่ม [Reset] เพื่อเริ่มต้นทำใหม่ เลือกโมเดลแล้วคุณสามารถย่อ-ขยายโมเดลที่อยู่บนแท่นพิมพ์: วิธีที่ 1: กดปุ่ม [Scale] แล้วกดปุ่มซ้ายที่เมาส์ค้างไว้แล้วลากจนได้ขนาดที่ต้องการ จะมีตัวเลขขนาดปรับตามให้เห็นทันที วิธีที่ 2: กดปุ่ม [Scale] จะมีช่องใส่ข้อมูลขนาดทั้งสามแกน ใส่ตัวเลขที่ต้องการแล้วกด enter หรือกดปุ่ม [Maximum] เพื่อขยายให้เต็มพื้นที่ๆ เครื่องสามารถพิมพ์ได้ หรือกดปุ่ม [Reset] เพื่อเริ่มต้นทำใหม่ หมายเหตุ: ถ้าปุ่ม [Uniform Scaling] ถูกเลือกไว้ โปรแกรมจะย่อ-ขยายตามสัดส่วนเดิม เมื่อใส่ตัวเลขในช่องใดช่องหนึ่ง ถ้าปุ่มนั้นไม่ถูกเลือก จะเป็นการย่อ-ขยายเพียงแกนที่ป้อนตัวเลขเข้าไปเท่านั้น กดปุ่มเลือกโมเดลที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม [Extruder] แล้วเลือกว่าจะพิมพ์ด้วยหัวพิมพ์ด้านซ้าย หรือขวา ถ้าเลือกด้านซ้ายโมเดลจะแสดงเป็นสีเขียว ถ้าเลือกด้านขวาโมเดลจะแสดงเป็นสีเทา ปกติจะแสดงเป็นหัวพิมพ์ด้านขวาเสมอ หากต้องการพิมพ์สองสี หรือสองวัสดุโดยใช้หัวด้านหนึ่งเป็นวัสดุ support ก็สั่งพิมพ์แบบสองหัวพิมพ์พร้อมกัน แต่การพิมพ์สองสี จะต้องมีสองโมเดลอยู่บนแท่นพิมพ์เสมอ ยกเลิกคำสั่งสุดท้ายที่ทำไปโดยกดเมนู [Edit]–[Undo]. หรือกดปุ่ม Ctrl+Z ที่แป้นพิมพ์ ยกเลิกคำสั่งที่เพิ่งยกเลิกไปโดยกดเมนู [Edit]–[Redo]. หรือกดปุ่ม Ctrl+Y ที่แป้นพิมพ์ คุณสามารถเลือกโมเดลที่อยู่บนแท่นพิมพ์ทั้งหมดด้วยการกดเมนู [Edit]–[Select All].หรือกด Ctrl+A ที่แป้นพิมพ์ ในกรณีที่โหลดโมเดลมาแล้วแต่มันเล็กมาก หรือออกไปนอกแท่นพิมพ์จนมองไม่เห็น ให้กดเลือกทั้งหมด แล้วใช้คำสั่ง [Center] และ [Scale] เพื่อย้ายมากลางแท่นพิมพ์ และขยายขึ้นมา ใช้ทำสำเนาโมเดลที่อยู่บนแท่นพิมพ์ ให้เลือกโมเดลที่ต้องการก่อน แล้วเลือกเมนู [Edit]–[Duplicate] หรือกดปุ่ม Ctrl+D ที่แป้นพิมพ์ ใช้ลบโมเดลที่อยู่บนแท่นพิมพ์ ให้เลือกโมเดลที่ต้องการก่อน แล้วเลือกเมนู [Edit]–[ Delete] หรือกดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์ กดเมนู [Edit]–[Auto Layout All] ในกรณีที่โหลดโมเดลหลายๆ ชิ้นมาอยู่บนแท่นพิมพ์ โปรแกรมจะจัดโมเดลให้เป็นระเบียบโดยอัตโนมัติ ใช้ล้างหน่วยความจำที่เก็บคำสั่งแต่ละขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้มีหน่วยความจำที่ว่างมากขึ้น เลือกโมเดลที่ต้องการแล้วคุณสามารถตัดโมเดลที่อยู่บนแท่นพิมพ์นั้น: กดปุ่ม [Cut] แล้วเลือกแนวแกนที่จะตัดได้ดังต่อไปนี้ Draw with mouse: กดปุ่มซ้ายที่เมาส์แล้วลากไปในทิศทางที่ต้องการเพื่อสร้างเส้นตัด ถ้าต้องการจะเปลี่ยนตำแหน่งของเส้นตัดให้กดเลือกเส้นตัดแล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ หรือใส่ตัวเลขตำแหน่งที่ต้องการลงในช่องว่าง ก่อนตัด หลังตัด X, Y หรือ Z Plane: เลือกว่าจะตัดในแนวแกน X, Y หรือ Z ในเมนู Direction กดเลือกโมเดล โปรแกรมจะสร้างเส้นตัดให้โดยอัตโนมัติ ถ้าต้องการจะเปลี่ยนตำแหน่งของเส้นตัดให้กดเลือกเส้นตัดแล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ หรือใส่ตัวเลขตำแหน่งที่ต้องการลงในช่องว่าง จากนั้นกดปุ่ม [Start Cut] เพื่อทำการตัดโมเดล ถ้าต้องการให้วัตถุที่ถูกตัดแล้วอยู่ในตำแหน่งเดิม ให้กาถูกในช่อง Keep parts in place เอาไว้ เมื่อโหลดโมเดลเข้ามาแล้ว กดเมนู [Edit]–[Supports] หรือ กดที่ไอคอน( ) เพื่อเข้าสู่โหมดสร้าง Support เมื่อเสร็จแล้วให้กดปุ่ม [Back] เพื่อออกจากโหมดนี้ กดปุ่ม [Auto Supports] โปรแกรมจะคำนวณตำแหน่งของ support ให้อัตโนมัติ และสร้างให้เห็นทันที หากมี support ปรากฏอยู่แล้วจะต้องถูกลบทิ้งเสียก่อนที่จะสร้างใหม่ Auto Supports เลือกปุ่มนี้เพื่อลบ support ทั้งหมดออกไป กดปุ่ม [Add] ด้านซ้ายของจอเพื่อเพิ่ม support ในตำแหน่งที่ต้องการ กดปุ่มซ้ายที่เมาส์เพื่อกำหนดตำแหน่ง กดเมาส์ค้างไว้เมื่อต้องการลากไปยังตำแน่งที่ต้องการ หากตำแหน่งที่สร้างสามารถทำได้จะเป็นสีเขียว หากเป็นสีแดงแสดงว่าไม่สามารถสร้างได้ โปรแกรมจะลบออกไปเอง หากต้องการลบ support ที่ไม่ต้องการออกให้กดปุ่ม [Delete] ที่ด้านซ้ายของจอแล้วกดเลือก support ที่จะลบ หาก support นั้นมีส่วนต่อก็จะถูกทั้งหมด สำหรับเครื่อง FDM กดปุ่ม [Supports Options] จะมีกล่องข้อความขึ้นมา จะมีตัวเลือกสองตัวคือ “treelike”และ “linear” ข้อสังเกต Overhang Thresh: เป็นการกำหนดองศาของความเอียงของโมเดล ในกรณีที่มีความเอียงลาดมากๆ จะทำให้เส้นพลาสติกหลุดออกจากชั้นก่อนหน้า จึงต้องมี support มารองรับ องศาที่มักจะเริ่มมีปัญหาจะอยู่ที่ 45° แต่คุณสามารถตั้งได้ตั้งแต่ 30°-60° 60° 30° หากเลือกองศาที่มากกว่าเช่น 60° โมเดลในส่วนที่เอียงไม่ถึง 60° จะไม่มีการสร้าง support กดปุ่ม [Supports Options] จะมีกล่องข้อความ “Columnar Supports” ขึ้นมาคุณสามารถเลือกองศาของโมเดลที่ต้องการ support ขนาดจุดสัมผัส ขนาดเสา ขนาดฐาน ความสูงของฐาน และระยะห่างของเสา จากนั้นกด [OK] เลือก “Exterior Only” เพื่อให้โปรแกรมสร้าง support เฉพาะจุดที่ถูกสร้างจากพื้นเท่านั้น ก่อนที่จะเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์เข้ากับคอมพิวเตอร์ ให้กดเมนู [Print]–[Machine Type] แล้วเลือกรุ่นของเครื่องพิมพ์ให้ถูกต้อง โปรแกรมจะปรับขนาดแท่นพิมพ์ และตัวเลือกในการพิมพ์ให้โดยอัตโนมัติ สร้างไฟล์ Gcode คุณจะต้อง slice โมเดลของคุณก่อนที่จะส่งไปพิมพ์ โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ A–Preview: เลือกเปิด-ปิดการแสดงภาพก่อนพิมพ์ B–Print when slice done: เลือกให้พิมพ์ทันทีหลังจากกด [OK] C–Material Left: เลือกวัสดุที่จะใช้พิมพ์ที่หัวพิมพ์ด้านซ้าย D–Material Right: เลือกวัสดุที่จะใช้พิมพ์ที่หัวพิมพ์ด้านขวา หมายเหตุ: เครื่อง Flashforge Dreamer/Creator Pro วัสดุที่มีให้เลือกคือ PLA, ABS, HIPS, Conductive filament, Flexible filament E–Supports: เลือกหัวพิมพ์ที่จะพิมพ์วัสดุที่จะใช้ทำ support (Dissolvable Filament) เลือกซ้าย หรือขวา หรือไม่พิมพ์เลยก็ได้ (Disable) เฉพาะ Flashforge Guider / Finder จะมีให้เลือกเพียงเปิดหรือปิดการใช้งานเท่านั้น F–Raft: คือตัวช่วยให้โมเดลติดกับแท่นพิมพ์ได้ดีขึ้น เลือกใช้หัวพิมพ์ด้านซ้าย หรือขวา หรือไม่พิมพ์เลยก็ได้ เฉพาะ Flashforge Guider / Finder จะมีให้เลือกเพียงเปิดหรือปิดการใช้งานเท่านั้น H–Wall: เลือกเพื่อเปิดคำสั่งการสร้างผนังสำหรับเช็ดหัวพิมพ์เพื่อไม่ให้เลอะชิ้นงานในกรณีที่สั่งพิมพ์พร้อมกัน2หัว I—Brim: เลือกเพื่อสร้างครีบที่ฐาน แผ่ออกไปเพื่อลดการแอ่นตัวของโมเดล G—Resolution: เป็นการเลือกความละเอียดของโมเดล โดยมีตัวเลือกแบบสำเร็จรูปสี่แบบ คือ Low—ความละเอียดต่ำ แต่งานจะเสร็จเร็ว Standard—ความละเอียดปานกลาง High—ความละเอียดสูง ใช้เวลาพิมพ์นาน Hyper—ความละเอียดสูงมาก (เมื่อเลือกพิมพ์ PLA ที่หัวพิมพ์ด้านขวาของเครื่อง Flashforge Dreamer) Layer Height: กำหนดความสูงของแต่ละชั้นของเส้นพลาสติก ค่าที่น้อยจะได้ชิ้นงานที่มีผิวเรียบเนียนกว่า First Layer Height: กำหนดความสูงที่ชั้นแรกของโมเดล มักจะกำหนดให้สูงกว่าชั้นอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการยึดเกาะกับแท่นพิมพ์ ไม่ควรเกิน 0.4 ม.ม. แนะนำว่าให้ใช้ค่าที่ให้มาShells: เป็นการกำหนดความหนาของพื้นผิวชิ้นงาน (หากเลือก vase mode ผิวด้านบนจะไม่พิมพ์) Perimeter Shells: ความหนาผนังแนวตั้ง สูงสุดคือ 10 ชั้น Top Solid Layer: ความหนาผนังด้านบน สูงสุดคือ 10 ชั้น น้อยสุดคือ 1 ชั้น Bottom Solid Layer: ความหนาผนังด้านบน สูงสุดคือ 10 ชั้น น้อยสุดคือ 1 ชั้นInfill กำหนดปริมาณ และรูปแบบเนื้อพลาสติกที่อยู่ในโมเดล Fill Density: ปริมาณเนื้อพลาสติกที่อยู่ภายในของตัวโมเดล Fill Pattern: รูปแบบของเนื้อพลาสติกที่พิมพ์ มีแบบหกเหลี่ยมจะแข็งแรงที่สุด สามเหลี่ยมจะให้การยึดตัวของแต่ละ layer ดี และเส้นตรงจะพิมพ์ได้เร็วที่สุด Combine Infill: เป็นการลดเวลาในการพิมพ์ โดยพิมพ์ infill แบบชั้นเว้นชั้น Layer height ที่มากกว่า 0.1 ม.ม.แนะนำให้ใช้ Every “n” Layers นอกจากนั้นแนะนำให้ใช้ Every “n” Inner Layers Speed: ความเร็วในการพิมพ์ การพิมพ์ให้ช้าจะได้โมเดลที่สวยงามกว่า (ประมาณ 40 ม.ม./วินาที) Print Speed: ความเร็วระหว่างพิมพ์โมเดล Travel Speed: ความเร็วขณะที่หัวพิมพ์เคลื่อนข้ามช่องว่าง (ไม่ได้ฉีดพลาสติก) สำหรับ PLA แนะนำที่ 100 หมายเหตุ: การปรับค่าการพิมพ์เพื่อให้ได้ผลที่ดี จะแตกต่างในแต่ละโมเดลTemperature ตั้งค่าอุณหภูมิที่หัวพิมพ์ และแท่นพิมพ์ Right/Left Extruder: ตั้งค่าอุณหภูมิที่หัวพิมพ์ทั้งสองด้าน สำหรับเครื่อง Finder / Guider จะมีช่องเดียว Platform: ตั้งค่าอุณหภูมิที่แท่นพิมพ์ สำหรับเครื่อง Finder / Guider จะไม่มีค่านี้ หมายเหตุ: การใช้อุณหภูมิที่แตกต่างกันจะมีผลกับโมเดลที่พิมพ์ ควรปรับให้เหมาะสมกับโมเดลของคุณ Cooling Fan Controls: มีเฉพาะเครื่องรุ่น Flashforge Dreamer/Creator Pro ใช้สำหรับกำหนดการเปิด/ปิดพัดลม และยังกำหนดการเปิดพัดลมที่ความสูงใดๆ ของแกน Z ได้อีกด้วย Pause at Heights: กำหนดให้เครื่องหยุดพิมพ์ชั่วคราวที่ความสูงใดๆ ของแกน Z สามารถกำหนดได้หลายๆ ตำแหน่ง โดยการกดปุ่ม [Edit] ใส่ความสูงที่ต้องการเป็น ม.ม. แล้วกด + หากต้องการลบค่าใด ก็เลือกค่านั้นแล้วกด –เรียบร้อยแล้วกดปุ่ม [OK] Explanation of Expert Slicing settings Preview: เลือกช่องนี้เพื่อดูการทำงานของเครื่องก่อนพิมพ์ Print When Slice Done: เลือกช่องนี้เพื่อพิมพ์งานทันที Select Profile: เลือกชุดคำสั่งที่บันทึกไว้ล่วงหน้า General: Layer Height: Layer Height: Layer Height: กำหนดความสูงของแต่ละชั้นของเส้นพลาสติก ค่าที่น้อยจะได้ชิ้นงานที่มีผิวเรียบเนียนกว่า First Layer Height: กำหนดความสูงที่ชั้นแรกของโมเดล มักจะกำหนดให้สูงกว่าชั้นอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการยึดเกาะกับแท่นพิมพ์ ไม่ควรเกิน 0.4 ม.ม. แนะนำว่าให้ใช้ค่าที่ให้มา Speed: Base Print Speed: ความเร็วระหว่างพิมพ์โมเดล ค่าความเร็วนี้จะเป็นฐานในการคำนวณความเร็วอื่นๆ ต่อไป Travel Speed: ความเร็วขณะที่หัวพิมพ์ไม่ได้ฉีดพลาสติกออกมา Minimum Speed: ความเร็วต่ำสุดขณะพิมพ์ First Layer Maximum Speed: ความเร็วสูงสุดในการพิมพ์ layer แรก ควรให้ช้าเพื่อช่วยให้ติดแท่นพิมพ์ได้ดีขึ้น – หากใช้ raft จะไม่นำค่านี้ไปใช้ First Layer Maximum Travel Speed: ความเร็วสูงสุดขณะที่หัวพิมพ์ไม่ได้ฉีดพลาสติกที่ layer แรก ควรให้ช้าเพื่อช่วยให้ติดแท่นพิมพ์ได้ดีขึ้น – หากใช้ raft จะไม่นำค่านี้ไปใช้ Temperature Extruder’s temperature: อุณหภูมิที่หัวพิมพ์ขณะพิมพ์ Platform: อุณหภูมิที่แท่นพิมพ์ช่วยให้โมเดลติดแท่นพิมพ์ได้ดีขึ้น หากเครื่องพิมพ์เป็นรุ่น “Flashforge Dreamer/ Creator Pro/ Inventor” จะแสดงอุณหภูมิของหัวพิมพ์ ซ้าย-ขวา-แท่นพิมพ์ หากเครื่องพิมพ์เป็นรุ่น “FlashForge Finder/Guider”จะแสดงอุณหภูมิของหัวพิมพ์เท่านั้น การกำหนดอุณหภูมิควรให้เหมาะกับชนิดของพลาสติกที่ใช้ หมายเหตุ: การใช้อุณหภูมิที่แตกต่างกันจะมีผลกับโมเดลที่พิมพ์ ควรปรับให้เหมาะสมกับโมเดลของคุณ Retraction Retraction length: ระยะทางที่มอเตอร์จะดึงเส้นพลาสติกกลับก่อนที่หัวพิมพ์จะเคลื่อนที่ผ่านช่องว่าง ซึ่งจะช่วยลดการเกิดเส้นใย และการเลอะของพลาสติก Speed: ความเร็วในการดึงเส้นพลาสติกกลับ Perimeter: Thickness: Shell Count: จำนวนรอบที่หัวพิมพ์จะฉีดพลาสติกในการสร้างผนังด้านข้าง จำนวนรอบมากขึ้นโมเดลจะมีความแข็งแรงมากขึ้นตาม Maximum Path Overlap: กำหนดระยะทับซ้อนของเส้นพลาสติกในกรณีที่พิมพ์งานผนังบาง Start Points: Mode: กำหนดตำแหน่งจุดเริ่มต้นของ layer ซึ่งมีอยู่ 2 ตัวเลือกคือ Closest to specific location: ทุก layer จะเริ่มที่จุดที่ใกล้ตำแหน่งที่ระบุมากที่สุด Use random start points: จุดเริ่มต้นจะเป็นไปในลักษณะสุ่มตำแหน่ง X : พิกัดในแกน X ที่หัวพิมพ์จะเริ่มพิมพ์ในแต่ละ layer Y : พิกัดในแกน Y ที่หัวพิมพ์จะเริ่มพิมพ์ในแต่ละ layer Speed: Exterior Speed: ความเร็วในการพิมพ์ผิวด้านนอกของโมเดล คิดเป็น % ของ Base Print Speed ควรพิมพ์ให้ช้าเพื่อผิวงานที่สวยกว่า Visible Interior Speed: ความเร็วในการพิมพ์ผิวด้านในของโมเดลในส่วนที่มองเห็น คิดเป็น % ของ Base Print Speed Invisible Interior Speed: ความเร็วในการพิมพ์ผิวด้านในของโมเดลในส่วนที่มองไม่เห็น คิดเป็น % ของ Base Print Speed Infill: General Top Solid Layers: ความหนาของพื้นด้านบน เกิดจากการปู layer ให้เต็ม ปกติจะปูเต็มหลายๆ layer เพื่อไม่ให้บางเกินไป Bottom Solid Layers: ความหนาของพื้นด้านล่าง เกิดจากการปู layer ให้เต็ม ปกติจะปูเต็มหลายๆ layer เพื่อไม่ให้บางเกินไป Fill Density: กำหนดปริมาณเนื้อพลาสติกที่เติมเข้าไปในช่องว่างภายในตัวโมเดล Fill Pattern: รูปแบบของเส้นพลาสติกที่จะสร้างเป็นเนื้อด้านในโมเดล รูปหกเหลี่ยมจะแข็งแรงที่สุด เส้นตรงจะเร็วที่สุด สามเหลี่ยมจะให้การยึดเหนี่ยวระหว่าง layers.มากที่สุด Start Angle: กำหนดองศาของรูปแบบที่พิมพ์ที่ layer แรก จะไม่มีผลกับแบบหกเหลี่ยม Overlap Perimeter: กำหนดระยะทับซ้อนของ infill กับ shell เพื่อให้โมเดลมีความแข็งแรงไม่เกิดรู Vase Mode: โหมดแจกัน เมื่อเลือกโหมดนี้ infill และ top solid layer จะไม่ถูกพิมพ์ Speed Solid Speed: ความเร็วในขณะที่พิมพ์เต็ม (solid layer) จะตั้งค่าเป็น % ของ Base Print Speed Sparse Speed: ความเร็วในขณะที่พิมพ์ infill Combine Infill Maximum Combine Layers: เลือกเพื่อรวมจำนวนชั้นของ infill เข้าด้วยกัน ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้นโดยจะพิมพ์ชั้นสลับชั้น ตามจำนวนที่ชั้นที่เลือก และจะฉีดพลาสติกให้ออกมามากขึ้นแทน Combine Mode: หาก Layer height ที่มากกว่า 0.1 ม.ม.แนะนำให้ใช้ Every “n” Layers นอกจากนั้นแนะนำให้ใช้ Every “n” Inner Layers Support: General Enable Support: ตอบ Yes เพื่อให้เครื่องพิมพ์ support ที่สร้างมาแล้ว หากตอบ No จะไม่พิมพ์ แม้จะสร้างมาแล้วก็ตาม Select Extruder: เลือกหัวพิมพ์ซ้าย หรือขวา เพื่อพิมพ์ support หากเครื่องรุ่น “FlashForge Dreamer/FlashForge Creator Pro/ FlashForge Inventor” จะสามารถเลือกได้ ตัวเลือก Automatch ซอฟแวร์จะเลือกหัวพิมพ์ให้โดยอัตโนมัติ หากใช้เครื่องรุ่น “FlashForge Finder/Guider”จะไม่สามารถเลือกได้. Treelike Speed: ปรับความเร็วในการพิมพ์ support ใส่ค่าเป็น % ของ Base Print Speed Space to Model(X/Y): ปรับระยะห่างที่น้อยที่สุดของ support กับโมเดล เพื่อให้สามารถแกะ support ได้โดยง่าย Shell Count: จำนวนรอบในการพิมพ์ support Linear Speed: ปรับความเร็วในการพิมพ์ support ใส่ค่าเป็น % ของ Base Print Speed Space to Model(X/Y): ปรับระยะห่างที่น้อยที่สุดของ support กับโมเดล เพื่อให้สามารถแกะ support ได้โดยง่าย Space to Model (Z): ระยะห่างระหว่าง support กับโมเดลในแนวแกน Z เพื่อให้สามารถแกะ support ได้โดยง่าย Path Space: ความถี่ของ support ยิ่งถี่มากก็จะรองรับได้ดีขึ้น แต่ใช้เวลานานมากขึ้นด้วย Additions: Raft: Enable Raft: ตอบ Yes เพื่อให้เครื่องพิมพ์สร้าง raft ซึ่งจะช่วยให้โมเดลยึดติดกับแท่นพิมพ์ได้ดีขึ้น และยังช่วยปรับพื้นผิวแท่นพิมพ์ที่ไม่เรียบได้อีกด้วย Select Extruder: เลือกหัวพิมพ์ซ้าย หรือขวา เพื่อพิมพ์ support หากเครื่องรุ่น “FlashForge Dreamer/FlashForge Creator Pro/ FlashForge Inventor” จะสามารถเลือกได้ ตัวเลือก หากใช้เครื่องรุ่น “FlashForge Finder/Guider”จะไม่สามารถเลือกได้. Margin: กำหนดขนาดของ raft ว่าจะกว้างกว่าตัวโมเดลเท่าใด Space to Model (Z): ระยะห่างระหว่าง raft กับโมเดลในแนวแกน Z เพื่อให้สามารถแกะ raft ได้โดยง่าย Pre-extrusion Enable Pre-extrusion: กำหนดให้เครื่องพิมพ์เส้นออกมาระยะหนึ่งเพื่อเตรียมหัวพิมพ์ให้พร้อม Margin: กำหนดระยะให้ห่างจากโมเดลเท่าใด Path Length: กำหนดว่าจะให้พิมพ์เส้นออกมายาวเท่าใด Speed: ความเร็วในการพิมพ์เส้นนี้ Wall Enable Wall: สร้างกำแพงรอบๆ โมเดล ทำหน้าที่เช็ดพลาสติกที่ไหลย้อยออกมาจากหัวพิมพ์ที่ยังไม่ได้ถูกใช้งาน ในกรณีที่พิมพ์สองหัวพร้อมกัน Select Extruder: เลือกหัวพิมพ์ซ้าย หรือขวา เพื่อพิมพ์ support หากเครื่องรุ่น “FlashForge Dreamer/FlashForge Creator Pro/ FlashForge Inventor” จะสามารถเลือกได้ ตัวเลือก หากใช้เครื่องรุ่น “FlashForge Finder/Guider”จะไม่สามารถเลือกได้ Shell Count: จำนวนรอบในการพิมพ์ wall จำนวนรอบที่มากขึ้นผนังจะหนาและแข็งแรงขึ้น Margin: กำหนดระยะห่างระหว่างโมเดล และ Wall Speed: กำหนดความเร็วในการพิมพ์ Wall Brim Enable brim: กำหนดให้สร้างเส้นรอบรูปโมเดลที่ชั้นแรก สร้างเป็นครีบออกมาจากฐานโมเดลเพื่อช่วยในการยึดเกาะกับแท่นพิมพ์ป้องกันการยกตัวจากฐาน Select extruder: เลือกหัวพิมพ์ซ้าย หรือขวา เพื่อพิมพ์ support หากเครื่องรุ่น “FlashForge Dreamer/FlashForge Creator Pro/ FlashForge Inventor” จะสามารถเลือกได้ ตัวเลือก หากใช้เครื่องรุ่น “FlashForge Finder/Guider”จะไม่สามารถเลือกได้ Margin: ความกว้างของครีบที่จะสร้าง ยิ่งกว้างมากก็ยิ่งยึดติดได้ดี Brim Layer: จำนวนชั้นที่พิมพ์ Brim ยิ่งหลายชั้นจะยิ่งแข็งแรงขึ้น แต่จะแกะออกยากขึ้น Advanced Stepper Motor Voltage (Usually keep default) แนะนำว่าให้คงค่าเดิมไว้ X-Axis: ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ใช้กับมอเตอร์แกน X ยิ่งสูงจะได้กำลังมาก แต่มอเตอร์จะร้อนมากขึ้น Y-Axis: ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ใช้กับมอเตอร์แกน Y ยิ่งสูงจะได้กำลังมาก แต่มอเตอร์จะร้อนมากขึ้น Z-Axis: ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ใช้กับมอเตอร์แกน Z ยิ่งสูงจะได้กำลังมาก แต่มอเตอร์จะร้อนมากขึ้น A-Axis: ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ใช้กับมอเตอร์หัวฉีด 1 ยิ่งสูงจะได้กำลังมาก แต่มอเตอร์จะร้อนมากขึ้น B-Axis: ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ใช้กับมอเตอร์หัวฉีด 2 ยิ่งสูงจะได้กำลังมาก แต่มอเตอร์จะร้อนมากขึ้น Others Extrusion Ratio: อัตราการฉีดเนื้อพลาสติกออกจากหัวพิมพ์ Path Width: ขนาดเส้นพลาสติกที่ฉีดออกจากหัวพิมพ์ 0.4 คือค่าที่เท่ากับขนาดรูหัวพิมพ์ Path Resolution: กำหนดความละเอียดของเส้นพลาสติกในกรณีที่โมเดลมีรายละเอียดมากเกินไป ตัวเลขที่มากขึ้นจะทำให้ตำแหน่งของเส้นพลาสติกมีความละเอียดลดลง แต่การความแม่นยำของการฉีดพลาสติกจะสูงขึ้น Others Cooling Fan Controls Cooling Fan Controls: ควบคุมการเปิดปิดพัดลมระบายความร้อน มีตัวเลือกดังนี้ [“Always On” เปิดตลอดเวลา] [“Always Off” ปิดตลอดเวลา], [“ON (when raft printed)” เปิดเมื่อ พิมพ์ raft เสร็จ], [“ON (when to pre-set height)”เปิดเมื่อถึงระยะที่ตั้งล่วงหน้า] ซึ่งใช้ได้กับเครื่องรุ่น “FlashForge Dreamer/FlashForge Creator Pro/FlashForge Inventor” เท่านั้น The Pre-set Fan On Height: กำหนดความสูงของโมเดลที่จะเปิดพัดลมล่วงหน้า Pause Heights: กำหนดความสูงที่ให้เครื่องหยุดพิมพ์ชั่วคราว กำหนดได้หลายตำแหน่ง แต่ต้องไม่สูงกว่าตัวโมเดล วิธีทำ-ให้กดปุ่ม [Edit] แล้วจะมีหน้าต่างดังรูปข้างล่าง ใส่ตัวเลขความสูงที่ต้องการแล้วกดเครื่องหมาย + หากต้องการลบให้เลือกจากบรรทัดที่สอง แล้วกดเครื่องหมาย – เรียบร้อยแล้วกดปุ่ม [OK] Enable Adjustments: เปิดใช้งานค่าชดเชยขนาดของโมเดลในกรณีที่ขนาดคลาดเคลื่อน External Compensation: กำหนดค่าชดเชยขนาดของโมเดลในส่วนของขนาดภายนอก ค่าบวกจะทำให้ขนาดใหญ่ขึ้น ค่าลบจะทำให้ขนาดเล็กลง Internal Compensation: กำหนดค่าชดเชยขนาดของโมเดลในส่วนของขนาดภายใน ค่าบวกจะทำให้ขนาดใหญ่ขึ้น ค่าลบจะทำให้ขนาดเล็กลง Reset extruder temperature once reach to specific heights Extruder: กำหนดว่าให้เปลี่ยนค่าความร้อนเป็นค่าที่กำหนดใหม่เมื่อโมเดลมีความสูงถึงระยะที่กำหนด วิธีทำ-ให้กดปุ่ม [Edit] แล้วจะมีหน้าต่างดังรูปข้างล่าง ใส่ตัวเลขความสูง และอุณหภูมิที่ต้องการแล้วกดเครื่องหมาย + หากต้องการลบให้เลือกจากบรรทัดที่สอง แล้วกดเครื่องหมาย – เรียบร้อยแล้วกดปุ่ม [OK] การทำภาพนูนต่ำ (Lithophane / Relievo) ในการทำภาพนูนต่ำ ให้เลือกไฟล์รูปภาพที่เป็นแบบ png, jpg, jpeg หรือ bmp แล้วโปรแกรมจะทำการเปลี่ยนให้เป็นไฟล์ .stl จะมีหน้าต่างดังนี้ขึ้นมา ปรับค่าต่างๆ ตามความต้องการดังนี้ Shape เลือกเป็นแบบแผ่น ท่อ ถ้วย โคมไฟ Mode กำหนดให้สีเข้มให้หนา หรือสีอ่อนให้หนา Maximum thickness ความหนารวมของโมเดล Bottom thickness ความหนาของฐาน Height ความสูงรวม Top diameter เส้นผ่าศูนย์กลางด้านบน Bottom diameter เส้นผ่าศูนย์กลางด้านล่าง จากนั้นกดปุ่ม [OK] จากรูปนี้เราจะได้โมเดลตามนี้ Surface to Platform ใช้กำหนดพื้นผิวที่ต้องการให้แนบกับแท่นพิมพ์ ให้เลือกโมเดลที่ต้องการก่อน แล้วเลือกเมนู [Edit]–[Surface to Platform] แล้วใช้เมาส์ชี้ไปที่พื้นผิวที่ต้องการ จะมีกรอบสีแดงให้เห็น จากนั้นกด Double-click พื้นผิวนั้นจะไปแนบกับแท่นพิมพ์ทันทีFlashPrint
การติดตั้งโปรแกรม Flashprint
ทำความรู้จักโปรแกรม Flashprint
Load-โหลดไฟล์โมเดล สามารถโหลดได้มากกว่า 1 ไฟล์
Supports-เข้าสู่โหมดสร้าง Support
View-เปลี่ยนมุมมองของหน้าจอ
Move-ย้ายตำแหน่งโมเดลในแนว X-Y; กด shift+click ค้างไว้เพื่อย้ายในแกน Z
Scale-ย่อ-ขยายโมเดล
Cut-ตัดโมเดลในทิศทางต่างๆ ตามต้องการ
Extruder-เลือกหัวพิมพ์ซ้าย-ขวา ที่จะใช้พิมพ์โมเดลนั้น (เฉพาะรุ่นที่มี 2 หัวพิมพ์)
Print-สั่งพิมพ์โมเดลที่อยู่บนหน้าจอ.
โหลดไฟล์งานใน FlashPrint
การใช้เมาส์
กดปุ่มซ้าย 1 ครั้ง
กดปุ่มซ้ายค้างไว้
กดปุ่มขวาค้างไว้
การหมุนลูกล้อ
เปลี่ยนมุมมอง
ย้ายมุมมอง
หมุนแท่นพิมพ์
ย่อ-ขยายมุมมอง
มุมมองมาตรฐาน
ย้อนกลับมุมมองแรกเริ่ม
แสดงเส้นรอบรูปของโมเดล
แสดงพื้นที่ที่เป็นส่วนยื่น (Overhang)
ปรับแต่งโมเดล
Move-เคลื่อนย้ายโมเดล
Rotate-หมุน
Scale-ปรับขนาด
Extruder-เลือกหัวพิมพ์ (มีเฉพาะ Flashforge Dreamer/Creator Pro)
อื่นๆ
การยกเลิกคำสั่ง
การยกเลิกคำสั่งที่เพิ่งยกเลิกไป
เลือกทั้งหมด
เพิ่มจำนวนโมเดลเดิม
Delete
Auto Layout All
Model Repair
ในขณะที่โหลดโมเดล หากโมเดลมีข้อบกพร่องจะมีกล่องข้อความขึ้นมาเตือน คุณสามารถเลือกลบโมเดล [Delete], ไม่สนใจ [Ignore] หรือให้โปรแกรมช่วยซ่อมแซมให้โดยกดปุ่ม [Repair Model]Empty Undo-stack
Cut-การตัดโมเดล
ปรับแต่ง Supports
Auto Supports
Clear Supports
Add Support
Delete Supports
Supports Options
หากสร้าง support ไปก่อนหน้านี้แล้วจะต้องถูกลบและสร้างใหม่อีกครั้งสำหรับเครื่อง DLP
Printing
Select Machine Type
Print
คำอธิบายการตั้งค่า
สำหรับ Flashforge Guider / Finder จะมีให้เลือกเพียง 1 หัวพิมพ์เท่านั้น และจะใช้วัสดุ PLA, Conductive filament, Flexible filamentหากต้องการปรับตัวเลือกมากกว่านี้ให้กดปุ่ม [More options] เพื่อกำหนด Layers, Shells, Infill, Temperature, และอื่นๆ
Layer
Others อื่นๆ
Dimensional Adjustment