Description
PETG คืออะไร?
PETG ย่อมาจาก Polyethylene terephthalate Glycol-modified เป็นคู่ตรงข้ามของ PLA เพราะเป็นเส้นที่ทำมาจากน้ำมันดิบ หรือปิโตเลียม เป็นวัสดุเดียวกับขวดพลาสติกแบบใส สามารถย่อยสลายได้เหมือนกับกับพลาสติกทั่วไปแต่เมื่อเผาจะทำให้เกิดสารพิษน้อยกว่า มันให้คุณสมบัติครบในเรื่องความแข็งแรง ความอ่อนตัว และใช้งานง่าย สามารถใช้กับงานทั่วไปได้อย่างกว้างขวาง
ในส่วนเรื่องของความสวยงามแล้ว เส้น PLA จะมีผิวที่ด้านมากกว่า ทำให้ดูภาพรวม ๆ แล้ว งานจะดูเนียบมากกว่าของ PETG ที่มีเบสเป็นความเงา ทำให้รายละเอียดตอนฉีดเส้นในตัวดูชัด และไม่เนียนละเอียดเท่า PLA สรุปง่ายๆ คือ PLA งานสวยเนียน เนื้อแมท เหมาะสำหรับงานโมเดลที่ต้องการความสวยงาม ส่วน PETG มีความเงา เน้นใช้งานจริง และราคาประหยัด ที่สำคัญเส้นทั้ง 2ประเภทปลอดภัยเด็กๆ ใช้งานได้นะ
คุณสมบัติเด่นของ PETG
- ความแข็งแรง: สูง
- ความอ่อนตัว: ปานกลาง
- ความคงทน: สูง
- ความยากง่ายในการพิมพ์: ง่ายมาก
- อุณหภูมิที่ใช้พิมพ์: 220 – 250 °C
- อุณหภูมิฐานพิมพ์: 50 – 75 °C
- อัตราการหดตัว/บิดตัว: ต่ำมาก
- ไม่ละลายในน้ำ
- ความปลอดภัยด้านอาหาร: ปลอดภัยโดยตัววัสดุเอง แต่อาจปนเปื้อนจากการใช้งาน
PETG เป็นวัสดุกึ่งแข็ง สามารถรับแรงกระแทกได้ดี ทนต่อสารเคมีและความชื้นได้ดี ทนทาน และแข็งแรงกว่า PLA พิมพ์ได้ง่ายกว่า ABS PETG บิดตัวเสียรูปน้อยกว่า ทำให้ไม่ต้องการเครื่องพิมพ์ที่ปิดมิดชิด ในการพิมพ์จะใช้อุณหภูมิปานกลางที่ประมาณ 220°C-250°C ยึดติดกับฐานพิมพ์ได้ดี มีอัตราการหดตัวต่ำ PETG เปฌนพลาสติดที่ปลอดภัยกับอาหาร มันสามารถรีไซเคิลได้ มีสีใส และสีอื่น ๆ อีกมากมาย
3 สิ่งที่ควรคำนึงในการใช้ PETG:
- PETG เป็นวัสดุที่เรียกว่า “hygroscopic”, คือมันสามารถดูดซับความชื้นจากอากาศได้ ซึ่งเป็นผลเสียกับการพิมพ์สามมิติด้วยวัสดุนี้ ดังนั้นควรเก็บเส้นพลาสติกในที่แห้ง และเย็น ควรทำการอบให้แห้งก่อนนำไปพิมพ์
- PETG มีความเหนียวเมื่อพิมพ์ ทำให้มันไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่ที่จะใช้เป็น support ทำให้แกะยาก แต่เรื่องการติดกันของเลเยอร์แล้วมันดีมาก
- แข็งแรง ไม่เปราะแตก แต่เป็นรอยขีดข่วนได้ดีกว่า ABS
เมื่อไหร่ที่ควรใช้ PETG?
PETG เป็นตัวเลือกที่ดีในการใช้งานทั่วไป สิ่งที่มันโดดเด่นคือมันอ่อนตัวได้ แข็งแรง ทนอุณหภูมิสูง และแรงกระแทกได้ดี ทำให้เหมาะที่จะใช้พิมพ์งานที่นำไปใช้งานจริงที่ต้องทนแรงเค้นได้ เช่นชิ้นส่วนเครื่องจักร
![]() |
![]() |






GALLERY 3DD FILAMENT