Art / Jewelry / Design

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 3D Printing กับงานด้านศิลปกรรม / พุทธรูป / การทำเครื่องประดับ Jewelry / การออกแบบผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างการสแกน 3มิติ รูปปั้นที่มีความซับซ้อน

การใช้เครื่องพิมพ์ 3มิติ มีส่วนช่วยในการทำงานประติมากรรมทั้งนูนต่ำและลอยตัว ตามบทความที่เคยเขียนไว้ข้างต้น ประติมากรรม 4.0 กับ เทคโนโลยี 3D Scanner/Printer ตอน1/2, ตอน2/2  สแกนรูปปั้นเก็บเป็นไฟล์ 3D แล้วนำมาตกแต่ง, ย่อ, หรือ ขยายต่อไป การทำงานแบบนี้ช่วยได้มากในการลดเวลา แรงงาน และได้ความแม่นยำมากขึ้น คนสร้างไม่จำเป็นต้องปั้นชิ้นงานขนาดเท่าจริง อาจจะปั้นเล็กกว่าและนำมาขยาย (ทำอนุสาวรีย์เป็นต้น) ปั้นใหญ่แล้วย่อให้เล็กลง (การทำพระเครื่อง, เหรียญนูนต่ำเป็นต้น)

  • ลดเวลาในการปั้น ชิ้นงานปั้นเล็กและนำมาขยาย หรือ ปั้นใหญ่และมาย่อก็ได้
  • ใช้ 3D Scanner เก็บไฟล์เป็นดิจิตรอน สามารถนำมาแต่ง ต่อเติมได้
  • เครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์งานที่ออนชอยและ ซับซ้อนมากๆ ที่เครื่องจักกอื่นเช่น CNC ทำไม่ได้

การทำ Jewelry ก็มีส่วนช่วยได้มาก สามารถออกแบบไฟล์ใน Software ออกแบบเครื่องประดับและนำมาพิมพ์เป็นตัวอย่าง เพื่อทำโมลซิลิโคน หรือ พิมพ์วัสดุที่เป็น Wax แล้วนำไปหล่อต้นเทียนโดยตรงเลยก็ได้ ต้นทุนต่อวงเป็นหลักสิบบาท สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานหลากหลายมากขึ้น สามารถพิมพ์ชิ้นงาน แบบละหนึ่งวงก็ได้ ลดการพึงพาช่างฝีมือ

  • ต้นทุนต่ำลง สามารถผลิตจำนวนน้อยๆได้ เช่น แหวน 1 แบบ 1 วงก็ได้
  • ลดการพึ่งพาแรงงานช่างฝีมือ

Case Study1

งานพระราชพิธี พระเมรุมาศ

งานปั้นจริงจากดิน สแกนเพื่อเก็บเป็นงาน Digital

นำไฟล์ 3มิติ มาพิมพ์เป็นชิ้นงานจริง 3มิติ

Case Study2

โรงงานผลิตเครื่องประดับ จากแต่ก่อนต้องมีช่างแกะ wax ซึ่งเป็นงานฝีมือและใช้เวลาในการทำนาน เครื่องพิมพ์ 3มิติปัจจุบันสามารถพิมพ์ชิ้นงานออกมาเป็น Wax ได้เช่นกัน ซึ่งสามารถนำมาหล่อตรง (Direct Casting) ได้เลย เช่นหล่อเป็นทองคำ กระบวนการออกแบบทั้งหมดเป็น Digital ออกแบบเครื่องประดับโดยใช้ Software >> นำไฟล์มาพิมพ์ >> ไปหล่อเป็นโลหะต่อไป

ขั้นตอนเบื้องต้นการทำ Jewelry

มีการประยุกต์ใช้เครื่อง 3D Scanner มาใช้กับงาน Jewelry ด้วยเช่นกัน อาจจะนำรูปปั้นโบราณมาสแกน และย่อให้เล็กลง เป็นทำเป็นรูปหล่อทองคำ เป็นต้น

S__4014089

สินค้าที่เกี่ยวข้อง


Gallery


บทความที่เกี่ยวข้อง