David SLS3 Support

SLS-3 HD 3D Scanner Cover

การใช้งานแก้ปัญหาเบื้องต้นDownload

**ข้อมูลในบทความนี้อาจจะต่างไปบ้าง เนื่องจาก update Firmware / software ใหม่ๆ**
วิดีโอแสดงการสแกนจากเครื่อง David 3D

s906715801739130113_p40_i11_w940

มีอะไรบ้างในกล่อง

ในกล่องประกอบด้วยด้วยส่วนหลักๆอยู่ 6 ส่วนคือ ตัวโปรเจคเตอร์ที่ปรับระยะโฟกัสได้, เลนส์เกรดอุตสาหกรรมที่ปรับระยะโฟกัสและรูรับแสงได้, ขาตั้งกล้องและรางสไลด์อลูมิเนียมสีแดง, Dongle โปรแกรม โดยขณะใช้งานโปรแกรมต้องเสียบ USB นี้ไว้ตลอดเวลา, Calibrate Board และสุดท้าย คือสายไฟและอุปกรณ์ต่อพวงต่างๆ

– โปรเจคเตอร์ เป็นโปรเจคเตอร์ที่โรงงาน Acer ทำมาเพื่อ David โปรเจคเตอร์กำลังไฟค่อนข้างสูงและปรับระยะโฟกัสได้จากใหญ่ถึงเล็ก โปรเจคเตอร์ เป็นแหล่งกำเนิดแถบแสงส่องไปยังชิ้นงานให้ ให้กล้องจับภาพอีกครั้ง
– กล้อง เป็นส่วนสำคัญของตัวเครื่องเลยก็ว่าได้ กล้องดี ปรับโฟกัสและรูรับแสงดี ก็จะได้งานที่ดีเป็นต้น
– ขาตั้งกล้อง ขาตั้งกล้องที่แถมมาถือว่าคุณภาพดีผลิตในยุโรป แต่ไม่ได้พิเศษอะไร ที่พิเศษคือรางสไลด์ที่แถมมา เป็นอลูมิเนียสีแดง งานส่วนและดูดีเป็นส่วนยึดกล้องและโปรเจคเตอร์ไว้ งานเนี๊ยบ

Projector, กล้อง HD, รางสไลด์, ขาตั้งกล้อง
Projector, กล้อง HD, รางสไลด์, ขาตั้งกล้อง

– Software ในรูปแบบของ Dongle USB (อันนี้สำคัญห้ามทำหาย Copy ไม่ได้ หายแล้วใช้ Software ไม่ได้ต้องซื้ออย่างเดียว ซึ่ง Dongle ตัวนี้ถ้าขายแยกราคาแพงที่สุดในชุด)

1-david4
Software ในรูปแบบ Dongle

– Calibrate Board สำหรับปรับค่ามาตรวัดของโปรแกรมส่วนี้จำเป็นต้องทำทุกครั้งที่มีการปรับโฟกัส (ถ้าไม่ปรับไม่เลื่อนระยะกล้องไม่ต้องปรับใหม่ ใช้ได้ตลอด) ส่วนเป็นแผ่นที่ทำจากกระจก ต้องระมัดระวังให้ดีในการขนส่ง ทางเรามีประสบการณ์รับสินค้า แล้วเจอแตก ต้องส่งเคลมให้ลูกค้า

Calibration Board ทำมาจากกระจก
Calibration Board ทำมาจากกระจก

– สายต่อพวงอื่นๆ มีเช่น HDMI USB3 สายไฟฟ้า Adaptor ปลั๊กไฟทั่วโลก และ สิ่งพิมพ์ต่างๆ หนังสือคือมือหลายภาษาเป็นต้น

หลักการทำงาน

หลักการทำงานของเครื่องง่ายๆคือ “Projector ฉายแสงไปที่วัตถุ กล้องจับภาพที่แสงที่สะท้อนกลับออกมาจากวัตถุ ส่งไปประมวลผลในคอมออกมาเป็นโมเดล 3มิติ” โดย Software จะประมวลผลและต่อชิ้นงานที่เราสแกนแต่ละ shot จนครบ Software สามารถต่อให้เองโดยอัตโนมัติ หรือ เราจะต่อเองก็ได้ ซึ่งไม่ได้ยาก (โดยปกติโมเดลหนึ่งๆนั้นต้องสแกนมากว่า 10 shot ขึ้นไป) ในรุ่นนี้สามารถ Scan โดยเก็บ Texture สีได้เลยเหมาะกับผู้ทำงาน Animation หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการทำงาน

1. Focus adjusting ก่อนการสแกนชิ้นงานจะเริ่มต้นด้วยการปรับระยะโฟกัสของการสแกนก่อน เช่นหากวัตถุมีขนาดเล็กก็ปรับโฟกัสของ Project ฉายภาพเล็กตามรวมถึงปรับโฟกัสกล้องให้เห็นวัตถุชัดที่สุด หากเราปรับ Projector ให้ฉายภาพใหญ่กล้องมองเห็นมุมกว้างไปสแกนงานชิ้นเล็กๆ รายละเอียดที่ได้จากการสแกนก็จะไม่ละเอียดเป็นต้น

อันนี้ข้อมีของเครื่อง Scanner David SLS-3 HD 3D Scanner เลยเพราะสามารถปรับโฟกัสของ Projector และ กล้องให้สัมพันธ์กับขนาดชิ้นงานได้ เลยสามารถสแกนได้ทั้งชิ้นเล็กๆ จนถึงรถยนต์เป็นคันๆได้เลย


2. Calibration เมื่อทำขั้นตอนที่หนึ่งเสร็จ เราต้องมาการ Calibrate ระยะในการสแกนเพื่อให้การสแกนออกมาเป็น Scale ที่ถูกต้อง/ให้ได้ค่าที่แม่นยำที่สุด การ Calibrate ทำได้ไม่ยากโดยใช้แผ่นกระจก Calibrate ที่แถมมาอยู่ในชุดอยู่แล้ว กรณีไม่มีการปรับระยะโฟกัส ไม่จำเป็นต้องทำการ Calibrate อีกรอบ เราสามารถใช้เครื่อง Scanner ไปได้ตลอดจนกว่าจะมีการปรับ Focus อีกครั้ง

3. Scan หากทำขั้นที่หนึ่งและสองเสร็จแล้วมาถึงการ สแกน โดยเราสแกนด้านไหนก่อนก็ได้ เราสามารถเลือกคุณภาพการสแกน สแกนแบบมีสี/ไม่มีสี เมื่อกดสแกนโปรเจคเตอร์จะฉายแถบแสงลักษณะต่างๆไปยังวัตถุ ซึ่งกล้องจะจับภาพ และประมวณผลออกมาเป็นชิ้นงาน 3มิติ หน้าที่ของเราคือสแกน shot อื่นต่อไปเรื่อยจนเราพอใจ (เหมือนการถ่ายรูป Panorama ในกล้องมือถือ) เราแนะนำให้ภาพที่สแกนต่อไปมีส่วนของชิ้นงานเดิมอยู่ 40% software จะต่อภาพให้ หรือ Align ได้ดี

4. Align การ Align คือการต่อพื้นผิวสามมิติที่เราสแกนในแต่ละ Shot นั่นเอง เราสามารถเซ็ทให้โปรแกรมทำการต่อพื้นผิวให้เองหรือกำหนดค่าเองก็ได้ ในบางครั้งบางมุมเราต้องทำการ Manual Align ซึ่งไม่ได้ยากอะไรทำเพียงให้กำหนดจุด
5. Fuse Model หลักจากที่เราสแกนได้พื้นผิวหลาย Shot แล้วเราสามารถรวมพื้นผิวทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นชิ้นเดียวกันได้ สามารถเลือกแค่รวมผิว หรือ รวมผิวและทำให้เป็นชิ้นงานตัน(Solid) ได้

ผลงานที่ได้ออกมา

-งานที่ออกมาคุณภาพสูง ข้อดีของเครื่องสแกนตัวนี้ สามารถทำงานคลอบคลุมต้องแต่ขนาดหัวแม่โป้ง ถึง รถทั้งคัน โดยคุณภาพไม่ได้ลดทอนไป
-สามารถเลือกความละเอียดสูงได้ หรือสามารถ Export มาเป็นแต่ละ Shot ได้เลยซึ่งงานที่ออกมาได้ทั่ง Surface และ point

เราต้องสแกนไปเรื่อยๆจนครบพื้นผิวทั้งหมดเป็นอันเสร็จ งานแต่ละชิ้นจะใช้เวลาไม่เท่ากัน

Tips ควรรู้

1. ควรเลือกในการปรับโฟกันสัมพันธ์กับขนาดชิ้นงาน เช่นหากชิ้นงานขนาดเท่ากำปั้น ควรปรับโฟกัสโปรเจคเตอร์กับกล้องประมาณ 15 cm พอ หากชิ้นงานใหญ่ๆ อาจจะปรับโฟกัสโปรเจอเตอร์กับกล้องไปที่ 50cm เป็นต้น
2. การสแกนควรอยู่ในสภาพแสงมืด ไม่มีสิ่งใดมารบกวนสถาพแสง


แก้ปัญหาเบื้องต้น

Download
โปรแกรม David Scanner >>  อยู่ใน USB Dongle ที่แถมมากับเครื่อง
คู่มือการใช้งาน >>  https://www.dropbox.com/s/e2bb4qwfkqaipoq/SLS-3_Quickguide_2015-10-09_EN_WEB.pdf?dl=0
ดูตัวอย่างงานแสกนได้ที่ >> https://sketchfab.com/print3dd