ไฟล์ที่ได้จากเครื่องแสกนเนอร์ (Einscan File type)

ไฟล์ที่ได้จากเครื่องแสกนเนอร์ (Einscan File type)

เครื่องแสกน 3 มิติ หรือ 3D Scanner เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ในระหว่างการแสกนมีประเภทของข้อมูลที่แตกต่างกันจำนวนมากที่เกี่ยวข้อง ผู้ใช้งานอาจจะสับสนแต่ละตามสกุลไฟล์ได้ดังนั้นเลย ทำบทความนี่มาอธิบายอย่างคร่าวๆกันครับ 
Data Output

โปรแกรมแสกนสามารถส่งออกไฟล์ได้ทั้งหมด 6 ประเภท โดยจะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน โดยเมื่อขณะแสกนเสร็จแล้วสร้าง Generate Point Cloud สามารถคลิกที่ปุ่ม บันทึก (Save) เพื่อบันทึก Data Point Cloud เป็น .asc และตำแหน่งของมาร์คเกอร์ (Marker) จะเป็นนามสกุลแยกออกมาคือ .p3 นั่นเอง
(สำหรับโหมดการแสกนแบบ FIX Scan ข้อมูลแต่ละ Shot จะถูกบันทึกแยกจากกัน ในขณะที่การแสกนแบบ Handheld จะถูกบันทึกเป็นไฟล์เดียว)

  • ASC  : เป็นไฟล์ที่มีข้อมูลของแต่ละจุดใน Point cloud เป็นนามสกุลไฟล์ที่เกี่ยวของกับข้อมูลแสกน ส่วนใหญ่จะต้องใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรวิทยา เช่น Meshmixer, Geomagic Essentials
  • P3    : เป็นไฟล์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ขนาดใหญ่ จะถูกใช้เพื่ออ้างอิงตำแหน่ง จุดมาร์คเกอร์ เปรียบเทียบความแม่นยำ
  • STL : เป็นไฟล์ประเภทข้อมูลตาข่าย (Mesh) ที่ถูกพบมากที่สุด เชื่อมต่อกันเป็นทิศทางเฉพาะในรูปแบบของสามเหลี่ยม  ไฟล์ประเภทนี้สามารภเปิดได้ด้วยโปรแกรม CAD จำนวนมาก เช่น SolidEdge สำหรับการทำ Reverse Engineering
    (อ่านบทความเพิ่มเติม >> เกี่ยวกับไฟล์ STL คลิก <<)
  • OBJ  : ไฟล์ที่มีนามสกุล .obj ก็เป็นไฟล์คำจำกัดความทางเรขาคณิตเช่นกัน ได้รับการพัฒนาโดย Wavefront Technologies สำหรับซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Advanced Visualizer ปัจจุบันเป็นโอเพ่นซอร์ส และได้รับการรับรองโดยโปรแกรมกราฟิก 3 มิติจำนวนมาก นอกจากนี้ยังจัดเก็บข้อมูลเรขาคณิตอย่างง่ายเกี่ยวกับวัตถุ เช่น สี ตำแหน่งของแต่ละจุดยอด พื้นผิว จุดปกติ ฯลฯ
  • PLY : นามสกุล .ply และเป็นรูปแบบสำหรับรูปหลายเหลี่ยม หรือสามเหลี่ยม ออกแบบมาเพื่อจัดเก็บข้อมูลสามมิติจากเครื่องสแกน 3 มิติ เป็นเรขาคณิตอย่างง่ายของวัตถุ เช่นเดียวกับคุณสมบัติอื่นๆ เช่น สี ความโปร่งใส ความปกติของพื้นผิว พิกัดพื้นผิว ฯลฯ
  • 3MF : รูปแบบนี้จัดเก็บไว้ในไฟล์ .3mf ซึ่งเป็นมาตรฐานโอเพ่นซอร์สที่พัฒนาโดย 3MF Consortium รูปแบบข้อมูลทางเรขาคณิตสำหรับการผลิตแบบเพิ่มเนื้อจะยึดตาม XML ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุ เกี่ยวกับสี ฯลฯ เป็นไฟล์มีสามารถแสดงวัสดุ สี และข้อมูลต่างๆที่ไม่สามารถแสดงบนไฟล์ STL ได้ และสามารถนำไฟล์ไป Reverse ได้

Data Post Process
สำหรับการแก้ไขไฟล์บนโปรแกรม Einscan นั้นเพื่อนๆสามารถนำไฟล์จากภายนอก โดยมีนามสกุล STL,OBJ,PLY มาแก้ไขบนโปรแกรมนี้ได้ (ไม่ต้องต่อเครื่องแสกนก็ได้ ) และยังสามารถ Export เป็นนามสกุลใหม่ได้ด้วย Project Group and Project
ในขณะเราแสกนไฟล์ ตัวโปรแกรมจะบันทึกไฟล์อัตโนมัติ ไฟล์เหล่านี้จะถูกบันทึกใน Folder ที่เราเลือกได้ก่อนตอนสร้าง New Project แบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยกันแสดงดังภาพด้านล่าง ในการย้ายไฟล์ที่อยู่ในนี้ จำเป็นต้องย้ายไปด้วยกันทั้งหมด เพราะทุกๆไฟล์ในโฟอร์เดอร์นี้สัมพัมธ์กันหมด
สรุปในการ Save File จากเครื่องแสกนคือ ผู้ใช้งานสามารถส่งออกเป็นไฟล์ Point Cloud หรือ ไฟล์ Mesh ในรูปแบบของ STL ก็ได้ มีให้เลือก 4 ชนิดสำหรับไฟล์ Mesh และ 1 ชนิดสำหรับไฟล์ Point Cloud
Credit : Einscan