Space of the Week Ep.11 เจาะลึกโครงสร้างโลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม เพื่องานบูรณะและสถาปัตยกรรม

Space of the Week Ep.11 เจาะลึกโครงสร้างโลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม เพื่องานบูรณะและสถาปัตยกรรม

ถ้าขึ้นชื่อว่าโบราณสถานตามคำจำกัดความของสำนักงานโบราณคดีนั้น ถือว่าสถานที่แห่งนั้นต้องมาอายุมากกว่า 100 ปี ตามเกณฑ์การรับรอง ซึ่งหากเราลองนึกเปรียบเทียบกับบ้านเรือนนั้นถือว่าเก่าแก่มากกว่าหลายเท่า เพราะบ้านที่พักอาศัยนั้นส่วนใหญ่อายุการใช้งานจะอยู่ที่ราวๆ 50-60 ปีโดยประมาณ แต่สำหรับในโบราณสถานที่เป็นสถานที่ๆ เราควรที่จะอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชมและเรียนรู้สืบไป ซึ่งหน่วยงานที่เข้ามาทำการบูรณ์และพัฒนานั้นก็ต้องอาศัยความเชียวชาญ และปราณีตในการปรับปรุงสถานที่เป็นอย่างมาก ซึ่งวิธีการที่ใช้กันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคือ อนัสติโลซิส (ANASTYLOSIS) ของประเทศฝรั่งเศษ คือ เทคนิคการศึกษารูปแบบปราสาท แล้วรื้อของเดิมลงมาโดยทำรหัสหรือหมายเลขกำกับไว้ จากนั้นทำเสริมฐานรากใหม่ให้แข็งแรงเช่น ปูนซีเมนต์ เป็นต้น แล้วนำชิ้นส่วนที่กลับไปก่อใหม่ที่เดิม โดยใช้วิธีการสมัยใหม่ช่วย เทคนิควิธีนี้จะไม่สามารถใช้ได้กับปราสาทที่ทำด้วยอิฐ เพราะว่าเปราะบางแตกง่าย แต่จะทำได้เฉพาะหินที่มีลักษณะเป็นก้อน ทำให้ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะได้ปราสาทกลับมา 1 ปราสาท เช่น ปราสาทหินพนมรุ้งใช้เวลาในการซ่อมแซมบูรณะ ประมาณ 16 ปี (พ.ศ. 2514-2531)

ขอบคุณข้อมูลจาก :Cyber Tourism

การบูรณะปราสาทพนมรุ้ง : ขอบคุณภาพจาก google.com

โดยวิธีนี้นั้นถ้ายกตามตัวอย่างการบูรณะปราสาทพนมรุ้งนั้น เพียงแค่การสำรวจอาจจะใช้เวลานานร่วม 2-3 ปี แต่สำหรับในปัจจุบันนั้น เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ในเรื่องการสำรวจนั้นมีออกมาแพร่หลายอย่างมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ SLAM100 เครื่องสแกนพื้นที่ตัวใหม่ล่าสุดของโลกที่พึ่งเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งความเก่งและความฉลาดเจ้าเครื่องนี้คือสามารถสร้าง Point cloud ได้อย่าละเอียดยิบ เพียงแค่เดินถือ Slam 100 เข้าไปในสถานที่ต่างๆ ก็สามารถสร้างแบบจำลอง เพื่อนำไปทำงานต่อได้ทันที

วันนี้ทีมงาน Dfine จะพาทุกท่านไปสำรวจงานโครงสร้างของ “โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม” เพื่อเจาะลึกงานก่อสร้างแบบฉบับของภูมิปัญญาคนยุครัชกาลที่ 3 ที่ได้สร้างสถานที่แห่งนี้ขึ้นมา และเพื่อเป็นประโยชน์ในการบูรณะสถานที่ในอนาคต ซึ่งเราจะไปพร้อมกับตัวช่วยสำคัญอย่าง Slam 100 เครื่องสแกนระบบ Lidar Scan ที่สามารถสแกนสถานที่ต่างๆ ได้อย่างละเอียดและสามารถนำ point cloud ไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างไม่ยุ่งยากนัก

โดยการสแกนนั้นเราเริ่มกันที่ในส่วนของบริเวณโดบรอบองค์โลหะปราสาท  จากนั้นวนเข้าทางประตูด้านหน้าอละขึ้นบันไดไปยังชั้นที่ 2 และออกไปวนรอบระเบียง 1 รอบ และกลับเข้ามาภายในองค์โลหะปราสาทอีกครั้ง และขึ้นบันไดวนไปยังชั้นสูงสุด เพื่อสแกนเก็บองค์ประกอบด้านบนหลังคาของแต่ละชั้น ซึ่งในการทำงานนั้นอุปสรรคเดียวที่พบก็คือช่องของบันไดวน ที่มีความแคบและเล็กพอสมควร ประกอบกับมีนักเที่ยวที่ผลัดขึ้น-ลงบันไดตลอดเวลา ทำให้การสแกนต้องหยุดในบางระยะ แต่ทั้งหมดนี้เราใช้เวลาสแกนเพียง 15 นาทีเท่านั้น ซึ่งถือว่าเร็วในระดับที่ดีเยี่ยม เพราะจากปกติแล้ว การสแกนสถานที่ใหญ่ขนาดนี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 วันเลยทีเดียว

หลังจากที่พวกเรานำไฟล์กลับมาประมวลผลที่คอมพิวเตอร์นั้น ทำให้เห็นว่าในระยะเวลาเพียง 15 นาทีนั้นเราสามารถจำลององค์โลหะปราสาทออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งรูปทรง สีสัน ระดับความสูง รวมไปถึง piont cloud ที่มีความละเอียดสูงมากๆ ตัวอย่างตามภาพด้านล่างเลยนี้ครับ

รายละเอียด texture ของโลหะปราสาท
ภาพเปรียบเทียบงนจำลองโลหะปราสาทแบบกราฟฟิกและการสแกนผ่าน Slam 100 l ขอคุณภาพจาก : www.google.co.th

ข้อชวนสังเกต

  1. Slam 100 ควรมีการวางแผนเส้นทางการเดินก่อนเริ่มสแกนเพื่อความต่อเนื่อง
  2. ระมัดระวังช่วงเลี้ยวหักศอก เพราะจะทำให้เกิดมุมแหลมของการสแกน และอาจจะหลุดได้
  3. คอมพิวเตอร์ในการประมวณผลต้องอาศัยสเปกที่สูงพอสมควร
  4. ควรจัดการหน่วยความจำของการ์ดให้เรียบร้อยเพราะ 1 สถานที่ใช้พื้นที่จัดเก็บเยอะมาก
  5. ควรมีที่ยึดโทรศัพท์กับ slam 100