สร้างโมเดล 3มิติ จากรูปถ่าย หัวโขนหนุมาน Photogrammertry

สร้างโมเดล 3มิติ จากรูปถ่าย หัวโขนหนุมาน Photogrammertry

บทความนี้เราจะสร้าง 3D Files ของโมเดลหัวโขนขนาดจำลอง โดยเทคนิค Photogrammetry หรือ เทคนิคสร้างโมเดล 3มิติจากรูปถ่าย

  1. หาโมเดล 3มิติที่เราต้องการสแกน วัตถุควรจะนิ่งๆไม่ได้สั่นไปมา เพราะเราต้องใช้การถ่ายภาพแล้วเอามาต่อกัน ถ้าวัตถุที่นำมาเคลื่อนหรือเปลี่ยนรูป Software จะไม่สามารถต่อเป็นโมเดลได้
  2. เอาวัตถุมาวางให้ดี จัดแสงพยายามไม่ให้เกิดเงาขึ้นกับชิ้นงาน หรือ ไม่ให้แสงหลักไปที่ด้านใดด้านหนึ่ง Background ความเป็นฉากสีพื้นหรือสีดำ
  3. ถ่ายภาพ ล้อมชิ้นงานทุกด้าน  2รอบมุมก้ม 2รอบวางชิ้นงานนอนกับพื้น
  4. นำไป Process ด้วย Software ที่เราใช้อยู่และแนะนำเป็น 2ตัวคือ Agisoft แบบซื้อขาด และ Reality Capture
  5. นำงาน 3D ที่ Generate ขึ้นมาได้ ไปปรับแก้ทำความสะอาด หรือ Clear Up
  6. นำไฟล์ 3D ไปใช้ต่อในการสร้าง Game, VR, AR หรือ อื่นๆ
  7. (Optional) นำไฟล์ 3D ที่ได้ไปพิมพ์ ด้วยเครื่องพิมพ์ 3มิติ

  • Software ที่ใช้ Agisoft Metashape 
  • กล้องที่ใช้ DSLR เลนส์ 50m หรือ ถ่ายด้วยคุณภาพเดียวกันแต่เร็วกว่า Dfine Auto
  • 3D Printer ที่ใช้ Mimaki 3DUJ-2207 

ขั้นตอนในการทำงาน / Workflow ของ Dfine Auto

    1. หาโมเดล 3มิติที่เราต้องการสแกน วัตถุควรจะนิ่งๆไม่ได้สั่นไปมา เพราะเราต้องใช้การถ่ายภาพแล้วเอามาต่อกัน ถ้าวัตถุที่นำมาเคลื่อนหรือเปลี่ยนรูป Software จะไม่สามารถต่อเป็นโมเดลได้
    2. เอาวัตถุมาวางให้ดี จัดแสงพยายามไม่ให้เกิดเงาขึ้นกับชิ้นงาน หรือ ไม่ให้แสงหลักไปที่ด้านใดด้านหนึ่ง Background ความเป็นฉากสีพื้นหรือสีดำ
    3. ถ่ายภาพ ล้อมชิ้นงานทุกด้าน  2รอบมุมก้ม 2รอบวางชิ้นงานนอนกับพื้น
    4. นำไป Process ด้วย Software ที่เราใช้อยู่และแนะนำเป็น 2ตัวคือ Agisoft แบบซื้อขาด และ Reality Capture
    5. นำงาน 3D ที่ Generate ขึ้นมาได้ ไปปรับแก้ทำความสะอาด หรือ Clear Up
    6. นำไฟล์ 3D ไปใช้ต่อในการสร้าง Game, VR, AR หรือ อื่นๆ
    7. (Optional) นำไฟล์ 3D ที่ได้ไปพิมพ์ ด้วยเครื่องพิมพ์ 3มิติ
เลือกงานหนุมาน ขนาด 5x7cm
ถ่ายรูปด้วยเครื่อง Dfine Auto ถ่ายทีเดียว 4รูปต่อครั้ง ประหยัดเวลาพร้อมมีฐานหมุน งานได้เร็วกว่าที่เล็งเอาเอง เพราะสามารถ Pre-Align ได้เลย
สามารถถ่ายได้ด้วยกล้อง DRSL, Mirroless หรือ กล้องทั่วๆไป โดยหลักการง่ายๆคือ พยายาม Set ค่ากล้องให้เท่ากัน แนะนำให้ set ค่ากล้องเป้น Manual, ช่วง Lens และ รูรับแสงในการถ่ายควรจะเท่ากัน
เมื่อเรียงรูปกันแล้ว สามารถสร้าง Point Cloud และ Mesh ต่อด้วย Software ทำให้เป็นไฟล์ 3D จริงๆ

เลือกขนาดต่างๆในการพิมพ์ด้วยตัวเอง ในที่นี่พิมพ์ตั้งแต่งานเล็กๆไปใหญ่ๆ
ผลการเสร็จแล้ว เอาไปแช่น้ำให้ Support ละลายน้ำเป้นอันใช้ได้
เราได้ หนุมานขนาดต่างๆ กันแล้ว

แต่ถ้าหากใช้ TranScan C ตัวโปรเจคนี้จะง่ายขึ้นมากๆ โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมอื่นเข้ามาช่วยในการถ่ายภาพด้วยกล้อง DSLR ที่ต้องทำการถ่ายหลายๆภาพและการ Pre-Align จะเห็นประหยัดเวลามากกว่า เนื่องจาก TranScan C เป็นเครื่องที่ทำมาเพื่อการสแกนโดยเฉพาะ
และตัวไฟล์ก็สามารถนำขึ้นโชว์ในเว็ปไซต์ได้เหมือนกัน การเก็บสีก็ทำได้เหมือนกัน จึงเหมาะมากกับงานที่เกี่ยวกับการสแกนวัตถุ แต่วันนี้เราได้นำตัวอย่างการสแกนด้วยกล้อง Dfine Auto ที่เป็นการคิดค้นโดยคนไทย สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติม “ได้ที่นี่”

3D Scanner TranScan C ทำงานเก็บสีได้รวดเร็วกว่าและแม่นยำกว่า เหมาะมากกับการสแกนวัตถุ