ขยายชิ้นงานขนาดเล็กด้วย 3D

ขยายชิ้นงานขนาดเล็กด้วย 3D

นวัตกกรมเกี่ยวกับ 3D นั้น ในปัจจุบัน มีทั้งเครื่องพิมพ์  เครื่องสแกนเนอร์  เป็นต้น โดยเราสามารถที่จะเก็บชิ้นงาน อาทิ พระพุทธรูป โบราณสถาน อุปกรณ์ต่างๆทางด้านวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม ไว้ในรูปแบบของ ไฟล์ 3D ได้ตลอดไม่หายไปตามกาลเวลา ด้วยเครื่อง สแกนเนอร์ หลายคนคงสงสัยว่ามีวิธีการอย่างไร วันนี้เราไปดูกันเลยครับผม

เริ่มจากนำชิ้นงานมาสแกน ด้วยเครื่อง Scanner ก่อนครับ หลังจากเราได้สแกนชิ้นงานเสร็จ จนได้ไฟล์ 3D มาแล้ว 

ขั้นตอนต่อไป ผมอยากที่จะนำไฟล์ที่ได้มาขยายใหญ่ขึ้น ด้วยการใช้เครื่องพิมพ์ 3D เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานขึ้นมา

ตั้งค่าในโปรแกรม Flashprint ซึ่งในการตั้งค่าชิ้นงาน ในเรื่องของ ความแข็งแรง ความละเอียดของชิ้นงาน หลังจากนั้นสั้งพิมพ์ชิ้นงาน

ชิ้นงานที่ได้จากเครื่องพิมพ์ 3D ซึ่งจะเห็นได้เลยว่า ชิ้นงานที่ได้ออกมาเหมือนกับชิ้นงานต้นฉบับ ทุกอย่างทั้งลวดลายและความคมชัด ซึ่งบ่งบอกได้ถึงความละเอียดและคุณภาพของ เครื่องสแกนที่เราใช้ ซึ่งไฟล์ทีนำมาพิมพ์หลังจากสแกนไม่ได้มีการเอาไปทำเพิ่มแต่อย่างใดครับ

ชิ้นงานที่เราพิมพ์ออกมา จะมีสิ่งที่เรียกว่า Support และ Raft เป็นตัวช่วยในการพิมพ์ชิ้นงาน โดยโปรแกรม Flashprint จะคำนวนให้อัติโนมัติ พอพิมพ์เสร็จแล้วจึงเอาออกจากชิ้นงานได้เลย 

ได้แกะชิ้นงานและนำไปพ่นสี ซึ่งจริงๆแล้ว เส้นมีหลายสี รวมถึงสีทองด้วยครับ แต่อันนี้ต้องการให้เห็นถึงการใช้งาน สามารถทำชิ้นงานขึ้นมาได้หลากหลายครับ

 

 

 

 

ระหว่างชิ้นงานจริง และ ชิ้นงานที่พิมพ์ขึ้นมาครับ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามารับชมครับ