เครื่องขายของหยอดเหรียญในห้อง ‘T-Room’ ในโรงเรียน Cockrell School of Engineering ซึ่งอยู่ภายใน มหาวิทยาลัย University of Texas ไม่เหมือนเครื่องหยอดเหรียญที่ไหน เพราะมันได้ขายขนมหรือลูกกวาดให้นักเรียน แต่เป็นการขายชิ้นงานสามมิติ เครื่องนี้ตั้งใจจะสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนสายวิศวกรรมขอโรงเรียนแห่งนี้ให้มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น มันถูกสร้างขึ้นโดยนักเรียนด้วยกันเอง ให้ใช้กันได้ฟรีๆ มีนักเรียนใช้เครื่องนี้พิมพ์งานออกมาได้หลายร้อยชิ้นแล้ว
Dr. Carolyn Seepersad บอกกับนักข่าวว่าเครื่องหยอดเหรียญนี้ช่วยลดช่องว่างระหว่างการพิมพ์สามมิติกับนักเรียนลงได้มาก แค่พวกเขามีบัตรนักเรียนของ University of Texas ก็สามารถใช้เครื่องนี้แล้ว และเครื่องนี้ยังตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนรวม ซึ่งเราหวังว่ามันจะชวยสร้างชุมนุมชนรอบๆ เครื่องนี้อีกด้วย
เครื่องนี้ยังใช้งานได้ง่ายมาก แม้แต่กับนักเรียนที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการพิมพ์สามมิติ นักเรียนสามารถออกแบบชิ้นงานแล้วอัพโหลดขึ้นเว็บที่เชื่อมต่อกับเครื่องพิมพ์ ชิ้นงานที่เป็นที่นิยมในขณะนี้คือสัญญลักษณ์วัวเขายาวแห่งเท็กซัส
ไฟล์งานจะถูกตรวจทานจากนักเรียนผู้ดูแล จากนั้นก็ส่งไปยังเครื่องพิมพ์ นักเรียนที่อัพโหลดงานเอาไว้จะได้รับข้อความแจ้งว่างานเสร็จเรียบร้อยแล้ว พวกเขาจะรับชิ้นงานได้ในช่องรับของได้ทันทีที่มันเสร็จสมบูรณ์
เครื่องพิมพ์และซอฟแวร์ถูกพัฒนาโดยนักเรียนเอง ภายใต้การกำกับของ Dr. Carolyn Seepersad เครื่องพิมพ์เป็นระบบ FDM และใช้เส้นพลาสติก PLA ความพิเศษของเครื่องนี้คือการที่ชิ้นงานที่พิมพ์เสร็จแล้วจะถูกลำเลียงมาที่ช่องรับของ โดยไม่ต้องไปยุ่งกับเครื่องพิมพ์เลย ระบบนี้กำลังขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรอยู่ ตัวซอฟแวร์ก็สามารถประมวลผลหลายๆ ชิ้นงานได้ในเวลาเดียวกัน
ทีมงานเบื้องหลังกำลังพยายามเผยแพร่ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ในรูปของ open-source ซึ่งจะทำให้นักเรียนที่อยู่ที่ใดก็ตามจะสามารถเข้าถึงเครื่องพิมพ์สามมิติได้
All images by Cockrell School of Engineering, The University of Texas at Austin/Flickr
source: http://www.3ders.org/articles/20141228-3d-printing-vending-machine-unveiled-on-university-of-texas-campus.html