การพิมพ์ 3 มิติใช้ทำอะไรได้บ้าง?

การพิมพ์ 3 มิติใช้ทำอะไรได้บ้าง?

เราคุ้นเคยกับการใช้เครื่องพิมพ์ 2 มิติที่ใช้พิมพ์ภาพออกมาบนกระดาษหรือวัตถุที่ต้องการ แต่เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น ภาพที่คุณเคยพิมพ์ออกมาได้เพียงบนกระดาษนั้น กลายเป็นวัตถุของจริงที่สัมผัสและนำมาใช้งานได้ด้วย เครื่องพิมพ์ 3 มิติ

เครื่องพิมพ์ที่เปลี่ยนบทบาทของการพิมพ์ลงบนกระดาษ สู่การสร้างเป็นชิ้นงานเสมือนจริง มีความกว้าง ความลึก ความสูง ตามลักษณะที่ออกแบบไว้ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือ ของเล่น เสื้อผ้า อาหาร การสร้างชิ้นงานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เป็นการสร้างชิ้นงานแบบ Additive Manufacturing ซึ่งเป็นการสร้างชิ้นงานจากวัสดุ เช่น เรซิ่น เส้นพลาสติก พิมพ์ชิ้นงานออกมาเป็นชั้นต่อกัน (Layer by Layer) จนกลายเป็นชิ้นงานที่ผู้ออกแบบต้องการ

การพิมพ์ 3 มิติใช้ทำอะไรได้บ้าง? Applications of 3D Printing
  • การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototyping & Product Design)
  • การศึกษา  (Education)
  • การแพทย์และทันตกรรม (Medical & Dental)
  • การบินและอวกาศ (Aerospace)
  • ยานยนต์ (Automotive)
  • เครื่องประดับ (Jewellery)
  • ศิลปะและการออกแบบ (Art & Design)
  • สถาปัตยกรรม (Architecture)
  1. การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ( prototyping & Product Design) 

ต้นแบบผลิตภัณฑ์(Prototype) ระดับห้องปฏิบัติการ ต้นแบบ ต้นแบบผลิตภัณฑ์หมายถึง ต้นแบบในรูปแบบของ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับการทดสอบก่อนสั่งผลิตจริง ที่ พัฒนาขึ้นจากกระบวนการ วิจัย พัฒนา หรือการ ปรับปรุงกระบวนการเดิมด้วยองค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี – ความพร้อมของเทคโนโลยีสู่อุตสาหกรรม  เราสามารถปริ้นจากเครื่องปริ้น 3 มิติ เพื่อทำงานตัวอย่างก่อนนำงานนี้ไปใช้จริง

งานตัวอย่างจากเครื่องปริ้น 3 มิติ

        2. การศึกษา  (Education) 

ให้นักเรียนนักศึกษาได้รู้หลัการทำงานของตัวเครื่อง และรู้จะการออกแบบไฟล์ 3มิติ เบื้องต้น

3. การแพทย์และทันตกรรม (Medical & Dental)

เราสามารถนำเครื่องปริ้นแต่จะใช้ระบบเรซิ่นในการปริ้น เครื่องปริ้นระบบนี้ค่อนข้างจะจะมีความระเอียดสูงเหมาะสำหรับใช้ในการปริ้นแล้วกับการแพทย์ เช่น จัดฟันใส

4. การบินและอวกาศ (Aerospace)

การผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ หรือ Additive Manufacturing (AM) คือกระบวนการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยการเติมเนื้อวัสดุ ซ้อนเข้าด้วยกันจนได้รูปทรงตามแต่โมเดล 3D ที่กำหนดไว้ ซึ่งเมื่อเทียบกับการผลิตชิ้นงานด้วยการตัด กัด หรือเจียระไนแล้ว AM มีข้อได้เปรียบที่เด่นชัดคือ สามารถผลิตชิ้นงานน้ำหนักเบา และทนทานได้ดีกว่า อีกทั้งยังออกแบบชิ้นงานได้อิสระขึ้น นำมาซึ่งการพัฒนาโครงสร้างใหม่ ๆ และลดต้นทุน รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนา และสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตแล้ว AM ก็เป็นหนึ่งใน Disruptive Technology ที่เกิดขึ้น ซึ่ง General Electric (GE) ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดอากาศยาน ได้ประกาศการผลักดันเทคโนโลยีการผลิตแบบ Additive Manufacturing ด้วยเครื่องยนต์อากาศยานรุ่นใหม่จาก Metal 3D Printer ที่มีชิ้นส่วนเพียง 12 ชิ้น พร้อมติดตั้งในอากาศยานจริง

5. ยานยนต์ (Automotive)

เราใช้ในการปริ้นงานตัวอย่างของเครื่องยนต์หรืออะไหล่รถ ก่อนที่เราจะงานตัวนี้ไปใช้งานจริง

6.  เครื่องประดับ (Jewellery) 

เครื่องพิมพ์สามมิติระบบเรซิ่น DLP/SLA งานพิมพ์คุณภาพสูง เครื่องทำงานโดยฉายแสง UV ไปยังเรซิ่นไวแสง ทำให้เรซิ่นแข็งตัวเป็นชิ้นงานสามมิติ ตัวเครื่อง MiiCraft+ ออกแบบมาเพื่องานจิวเวลรี่ แหวน, ต่างหู, เครื่องประดับฝั่งอัญมณี และงานที่ต้องการความละเอียดสูงเช่น งานทันตกรรม งานทำรากฟัน งานทำครอบฟัน สามารถทำงานได้ละเอียดและซับซ้อนกว่าเครื่อง CNC สามารถใช้เรซิ่นได้หลากหลาย เช่น ใช้เรซิ่นธรรมดาทำตัวเรือนแหวนเพื่อไปอัดพิมพ์ยาง หรือ ใช้เรซิ่นแบบ Direct Cast ไปหล่อเป็นแหวนได้เลย

เครื่องผลิตที่ไต้หวัน MiiCraft จำหน่ายครั้งแรกปี 2012 และพัฒนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนมาเป็นเครื่องรุ่น New MiiCraft+ ในปัจจุบัน Miicraft เป็นต้นแบบของเครื่อง Projet1200 (Miicraft ขาย License ให้ 3D System) ซึ่งมีสเปคเดียวกัน แตกต่างกันที่ MiiCraft+ ไม่ล็อคสเปคเรซิ่นที่ใช้ ทำให้ใช้เรซิ่นของยี่ห้ออื่นได้ เหมาะกับผู้ทำงานด้าน Jewelry ไม่จำเป็นต้องรอให้งานเต็มฐานแล้วค่อยพิมพ์ ราคาไม่แพงหากเทียบกับเครื่อง Envision-Tec

7.  ศิลปะและการออกแบบ (Art & Design)

ศิลปะและการออกแบบเป็นสองศาสตร์แห่งการสร้างความรู้ทางวิชาการและงานสร้างสรรค์ด้านทัศนศิลป์และการออกแบบ ซึ่งส่งผลในระดับปัจเจก และสังคม ในส่วนคุณค่าทางสุนทรีย์และการขับเคลื่อนสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ เครื่องปริ้น 3 มิติ จึงเหมาะ

8. สถาปัตยกรรม (Architecture)

ปัจจุบันมีการใช้เทคโลยีออกแบบบ้าน 3มิติใช้กันอยู่แล้ว เครื่องพิมพ์สามมิติสามารถมาตอบโจทย์พิมพ์ชิ้นงานออกมาให้เห็นได้จริงๆ การพรีเซนต์งานหลายๆครั้งถ้าสามรถแสดงตัวอย่างโครงสร้างที่จับต้องได้ ยอมดีกว่า ลูกค้าเห็นภาพมากกว่า บริษัทออกแบบสถาปนิค หลายๆแห่งจึงนำเครื่องพิมพ์สามมิติไปใช้ ในการพิมพ์โครงสร้างที่ออกแบบมาให้เป็นจริงจับต้องได้ สามารถปรับแต่ง และพิมพ์ใหม่เป็น Prototype ต่อไป อีกทั้งเครื่องพิมพ์ 3มิติสามารถสร้างฟอร์มที่ยากๆได้เช่น พวก Free-Form, Generative Design หรือโครงสร้างที่สร้างได้ยากโดยเครื่องจักรอื่นๆ

  • พิมพ์ตัวอย่างโครงสร้างออกมาดูก่อน
  • ลดข้อจำกัดในการออกแบบ สามารถออกแบบ Free-Form หรือ Generative Design ได้