กูเกิลนำโปรเจ็กต์สมาร์ทโฟนแผนที่สามมิติ ‘แทงโก้’มาใช้ร่วมกับหุ่นยนต์นาซ่าในอวกาศ

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กูเกิลได้เปิดเผยถึงโครงการ ‘แทงโก้’ ซึ่งเป็นระบบรุ่นใหม่ล่าสุดที่ทำให้สมาร์ทโฟนสามารถจำลองโลกที่เราอาศัยอยู่เพื่อนำมาทำเป็นแอพพลิเคชั่นและการใช้งานเจ๋งๆที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

project-tango-google-nasa

ในที่สุดก็เกิดความร่วมมือกันระหว่าง NASA และทีม ATAP (Advanced Technology and Projects) จากกูเกิล โดยโครงการพัฒนาแทงโก้จะถูกนำมาใช้ร่วมกับดาวเทียม SPHERES ภายในสถานีอวกาศ International Space Station (ISS) โดยโปรแกรม SPHERES นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะพัฒนาแท่นปฏิบัติการอัตโนมัติแบบไร้แรงโน้มถ่วงซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหุ่นยนต์นักบินอวกาศหรือทำการซ่อมบำรุงได้อย่างอิสระบนสถานีอวกาศ ความสามารถในการติดตามและทำแผนที่สามมิติของโครงการแทงโก้จะช่วยให้ SPHERES ปฏิรูปแผนที่สามมิติของสถานีอวกาศขึ้นใหม่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และทำให้แท่นปฏิบัติการหุ่นยนต์สามารถดำเนินการสำรวจอัตโนมัติ 230 ไมล์เหนือพื้นผิวโลกได้

65931main_Robonaut

ด้วยวิธีการนี้ ดาวเทียมสามารถสำรวจส่วนต่างๆของสถานีและใช้ซอฟท์แวร์ตัวใหม่ในการทำแผนที่โลกรอบๆดาวเทียม SPHERES นอกจากนี้เทคโนโลยีนี้อาจเป็นก้าวใหม่ขั้นสำคัญเพื่อการประดิษฐ์ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติในระดับซับซ้อนขึ้นต่อไปเพื่อช่วยเหลือนักบินอวกาศในชีวิตประจำวัน โทรศัพท์แทงโก้ได้ถูกปรับเป็นพิเศษสำหรับโครงการ SPHERES โดยการแบ่งอุปกรณ์นี้เป็นสองส่วนเพื่อสนับสนุนการติดต่อและระบบกล้องสำหรับผู้ใช้งาน
การร่วมมือระหว่างโครงการแทงโก้และSPHERES จะเริ่มดำเนินการในช่วงหน้าร้อนปีนี้