นักศึกษา ม.อริโซน่าประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวดที่มีชิ้นส่วนพิมพ์จาก 3D Printer

นักศึกษา มหาวิทยาลัย อริโซน่า (University of Arizona) ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวดที่มีชิ้นส่วนพิมพ์จาก 3D Printer

โดยส่วนที่พิมพ์ชิ้นส่วนต่างๆของจรวดดังต่อไปนี้ ส่วนข้อต่อของวงจรไฟฟ้า กล่องใส่แผงวงจร หางเสือของจรวดเผื่อใช้ในการควบคุมทิศทาง ส่วนลำตัวของจรวด (ตามในภาพ แล้วหุ้มด้วยคาร์บอนไฟเบอร์อีกที)

3d-printed-rocket-launch-4

โดยในตอนแรกทีมผู้สร้างวิตกกังวลกันมากเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการผลิตชิ้นส่วนสามมิติเพราะพวกเขามีงบจำกัด พวกเขาจึงถูกแนะนำให้รู้จักกับบริษัทพิมพ์ 3 มิติ Solid Concepts ผู้ซึ่งบอกพวกเขาว่าค่าใช้จ่ายสำหรับการพิมพ์ชิ้นส่วนงานสามมิติต่ำกว่าที่พวกเขาคาดคิด นอกจากนี้ชิ้นส่วนสามมิติที่พวกเขาออกแบบจะช่วยประหยัดเวลาในการผลิตเป็นอย่างมาก

3d-printed-rocket-launch-2

ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ คุณสามารถผลิตชิ้นส่วนหลายชิ้นได้ในคราวเดียว แมธธิว ดูซาร์ด กล่าวว่าการผลิตส่วนหางด้วยระบบ Fused Deposition Modeling (FDM) จะต้องผลิตชิ้นส่วนแยกกัน 7 ชิ้น และใช้เวลาประกอบอีก 3 วัน ด้วยความที่แบบของพวกเขามีช่องโพรงภายในและส่วนหางที่บางเฉียบทำให้การพิมพ์สามมิติเป็นหนทางเดียวที่จะสร้างชิ้นส่วนต่างๆขึ้นมาในคราวเดียว เราห่อชิ้นส่วนสามมิติที่พิมพ์ขึ้นมาด้วยคาร์บอนไฟเบอร์อีกชั้นหนึ่งเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทาน จากนั้นเลื่อนชิ้นส่วนนี้ไปที่ท้ายจรวด เท่านี้จรวดก็พร้อมใช้งานแทบจะทันที

3d-printed-rocket-launch-5

ส่วนหางที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติได้ช่วยประหยัดเวลาสร้างไปทั้งหมด 2 วันเต็มๆ ยิ่งไปกว่านั้น แบบที่พวกเขาพิมพ์ขึ้นจากเครื่องพิมพ์สามมิตินี้ยังช่วยลดแรงกระชากและเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น 85 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับวิธีผลิตแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังช่วยให้ผลิตส่วนหางได้บางขึ้น ความโค้งที่เนี้ยบก็ทำให้จรวดทำงานได้ดีขึ้นด้วย ซึ่งไม่สามารถเป็นไปได้เลยด้วยวิธีการผลิตแบบอื่น