กิ๊บติดผมจากเครื่องพิมพ์สามมิติ ที่แปลงเสียงเป็นแรงสั่นสะเทือนเพื่อช่วยเหลือคนหูหนวก

กิ๊บติดผมจากเครื่องพิมพ์สามมิติ ที่แปลงเสียงเป็นแรงสั่นสะเทือนเพื่อช่วยเหลือคนหูหนวก

 japanese-graduate-student-tatsuya-honda-develops-3dprinted-1

ในขณะที่เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่ามีส่วนช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายเช่นผู้สูญเสียแขน ขา ได้มีนวัตกรรมของชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่ายังมีโอกาสอีกมากมายที่จะช่วยเหลือคนทีด้อยโอกาสเหล่านั้น

นักศึกษาชาวญี่ปุ่นชื่อ Tatsuya Honda พัฒนากิ๊บติดผมที่น่าสนใจในงานวิทยานิพนธ์ของเขาซึ่งเรียกว่า Ontenna มันมีความสามารถมากกว่าที่มองเห็น มันแปลงเสียงต่างๆ ที่อยู่รอบตัวให้เป็นแสงและแรงสั่นสะเทือน เหล่านี้ช่วยให้ผู้ใช้งานที่เป็นคนหูหนวกสามารถรับรู้เสียงเช่น เสียงกระดิ่ง ในแบบที่เขาเหล่านั้นตีความได้

Tatsuya Honda ทำงานเป็น UI designer สนใจในการใช้นวัตกรรมในการแก้ปัญหาต่างๆ เขาได้รับแรงบันดาลใจจากการประชุมในมหาวิทยาลัย และได้พบกับคนหูหนวกคนหนึ่งซึ่งพาเขาไปแนะนำสถานที่รอบๆ ด้วยการใช้ภาษามือ คนหูหนวกคนนั้นที่จริงแล้วก็คือประธานองค์กรไม่แสวงหากำไรชื่อ  Hakomimi.net เขาบอกว่า “นั่นทำให้ผมสนใจเกี่ยวกับการสื่อสารของคนหูหนวกเป็นอย่างมาก ผมถึงกับสมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนี้ทันที ผมได้ศึกษาภาษามือ และยังได้เป็นอาสาสมัครล่ามภาษามือ พร้อมทั้งสร้างกลุ่มภาษามือในมหาวิทยาลัยที่ผมเรียนอยู่ด้วย”

japanese-graduate-student-tatsuya-honda-develops-3dprinted-2 japanese-graduate-student-tatsuya-honda-develops-3dprinted-3

นั่นทำให้เขาคิดที่จะทำการวิจัยเกี่ยวกับเสียงที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนหูหนวกดีขึ้น ในการทำวิทยานิพนธ์ของเขาในปี 2012 และมันได้กลายมาเป็น  Ontenna.ซึ่งมองดูรูปร่างก็เหมือนกับกิ๊บติดผมทั่วๆ ไป แต่จริงๆ แล้วมันบรรจุคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สร้างแรงสั่นสะเทือนไปสู่ผิวหนังของผู้ที่สวมใส่ โดยติดไว้ที่ผม (แน่นอนมันมีเป็นแบบต่างหูด้วย) มันติดง่ายและสะดวกสบาย โดยที่เสียงที่มีความดังขนาด 30 เดซิเบล ถึง 90 เดซิเบล จะถูกเปลี่ยนเป็นแรงสั่นสะเทือนถึง 256 ระดับและยังมีแสงไฟด้วย เพื่อให้ผู้ที่สวมใส่รับรู้และแปลความหมายของรูปแบบของแรงสั่นสะเทือนได้

 

explain

 

สิ่งประดิษฐ์ที่น่าสนใจนี้มี MITOU ซึ่งเป็นโครงงานเพื่อการส่งเสริมวิศวกรรมซอฟแวร์ที่อุดหนุนโดยหน่วยงานของรัฐบาล ด้วยการสนับสนุนนี้บวกกับเครื่องพิมพ์สามมิติ Tatsuya สามารถผลิตชิ้นงานต้นแบบที่แตกต่างกันได้มากถึง 200 ชิ้นแล้ว ซึ่งกำลังทดสอบกันอย่างเข้มข้น

japanese-graduate-student-tatsuya-honda-develops-3dprinted-5

japanese-graduate-student-tatsuya-honda-develops-3dprinted-4

 Tatsuya Honda.

การวิจัยอย่างเข้มข้นนี้เองทำให้เครื่องมีความทันสมัยและเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น รูปร่างที่เคยเป็นทรงจัตุรัสมีมุมแหลมๆ สวมใส่ไม่สบายก็กลายมาเป็นรูปร่างในปัจจุบัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ตอนแรกตั้งใจว่าจะติดเครื่องนี้กับเสื้อ ก่อนที่จะจบลงที่เอามาติดกับเส้นผมและหู (เวอร์ชั่นติดกับหูเหมาะกับผู้สูงอายุที่มีเส้นผมน้อยๆ) เขาได้พยายามกับส่วนอื่นๆ ของร่างกายมาแล้วเช่น ปลายนิ้ว แขน แต่คนหูหนวกจะใช้มือและแขนในการสื่อสาร จึงไม่เหมาะที่จะติดบริเวณนั้น การที่ติดเครื่องนี้ที่ผมจะช่วยให้รับรู้ได้ง่ายแม้มันไม่ได้สัมผัสผิวหนังโดยตรง จึงเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุด

ความแรงของการสั่นสะเทือนก็ได้ถูกปรับให้เหมาะสม หลังจากการทดลองหลายต่อหลายครั้งกับคนหูหนวก โดยติดทั้งสองด้านบนศีรษะ พวกเขาสามารถบอกถึงทิศทางของเสียงได้อย่างแม่นยำ เครื่องนี้ไม่เพียงแต่จะออกแบบเพื่อการใช้ภายในบ้านเท่านั้น ในสถานที่ที่คนพลุกพล่าน จอแจ ก็สามารถใช้ได้ด้วย เพียงแต่ต้องมีการปรับอีกเล็กน้อย

ผู้ที่สวมใส่เครื่องนี้กล่าวว่า เขาสามารถบอกได้ถึงความแตกต่างของเสียงเช่น เสียงโทรศัพท์ เสียงอินเตอร์คอม เสียงเครื่องดูดฝุ่น และอื่นๆ หญิงสาวคนหนึ่งกล่าวว่า เธอรู้สึกประทับใจกับเครื่องนี้มาก “ที่โรงเรียนของเธอสอนว่าเสียงของจักจั่นจะเป็นเสียงสั่นยาว แต่ฉันก็ไม่เคยรู้หรอกว่ามันมีรูปแบบ หรือจังหวะของเสียงเป็นอย่างไร จนกระทั่งวันนี้ เมื่อฉันได้ติดเจ้า Ontenna ฉันรู้สึกว่าฉันได้ยินเสียงจักจั่นเป็นครั้งแรกในชีวิต ฉันมีความสุขมากจริงๆ” มีผู้ปกครองของเด็กจำนวนมากติดต่อมายัง Tatsuya Honda เพื่อที่จะขอซื้ออุปกรณ์ชิ้นนี้

ความสำเร็จทั้งหมดนี้เกิดจากแรงบันดาลใจของนักออกแบบคนนี้ที่ใฝ่ฝันถึงเป้าหมายอันสูงส่ง นอกจากนี้เขายังหวังว่าจะทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้วางตลาดได้ในอีกสองสามปีข้างหน้า ไม่ใช่แค่นั้น เขาฝันว่าในปี 2021 จะมีการจัดการแข่งขัน Deaflympics ซึ่งเป็นกีฬาโอลิมปิกของคนหูหนวกโดยเฉพาะเช่นเดียวกันพาราลิมปิก และหวังว่าอุปกรณ์ของเขาจะพร้อมสำหรับนักกีฬาเพื่อเปิดมิติใหม่แห่งการกีฬา และนั่นคือความสำเร็จที่สุดยอดของเขา