เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติช่วยให้แพทย์วินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์มารดา

เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติช่วยให้แพทย์วินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์มารดา

doctors-use-3d-printing-ensure-safe-delivery-high-risk-pregancy

 

ทุกวันนี้เครื่องพิมพ์3มิติเข้ามามีบทบาทในทุกวงการไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิศวกรรม ด้านการออกแบบ หรือแม้กระทั่งทางการแพทย์ โดยนำมาใช้ในด้านออกแบบอวัยวะเพื่อนำไปขึ้นรูปเป็นอวัยวะเทียม และตอนนี้สามารถพัฒนาถึงบอกความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้แล้ว

บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์กุมารเวชศาสตร์ทีมแพทย์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานการใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์3มิติที่สามารถสร้างลักษณ์ทางกายวิภาคของใบหน้าทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาได้ เพื่อดูความผิดปกติของทารก กรณีนี้เป็นครั้งแรกที่เครื่องพิมพ์3มิติได้ถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยความผิดปกติของใบหน้าทารกและความเสี่ยงที่อาจเกิดกับระบบทางเดินหายใจของทารกที่อยู่ในครรภ์

 

doctors-use-3d-printing-ensure-safe-delivery-high-risk-pregancy-2

 

เมื่อไม่นานมานี้คุณแม่อายุ 22 ปี ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ ได้ทำการ ultrasounds แพทย์พบว่าทารกมีความผิดปกติแต่ไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจน แม้จะทำ MRI แต่เนื่องจากตำแหน่งทารกในครรภ์ทำให้เก็บรายละเอียดได้ไม่มากนัก การวินิจฉัยเบื้องต้นของทีมแพทย์ได้แจ้งว่าอาจเกิดการอุดตันของระบบทางเดินหายใจ

ทีมแพทย์จึงใช้ผลของการทำ MRI มาสร้างแบบจำลองใบหน้า และใช้เครื่องพิมพ์3มิติพิมพ์ใบหน้าของทารกทำให้ทีมแพทย์พบว่าแท้จริงแล้วทารกไม่ได้มีปัญหาระบบทางเดินหายใจแต่ทารกเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่

การใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์3มิติทำให้การนิจฉัยของแพทย์มีความเที่ยงตรงแม่นยำ ตัวอย่างเช่น ถ้ารูปแบบ3มิติของใบหน้าทารกแสดงให้เห็นถึงการอุดตันของทางเดินระบบหายใจ ทางทีมแพทย์สามารถมีเวลาสำหรับเตรียมความพร้อมและยังฝึกอบรมเพิ่มเติมได้ในกรณีที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าการผ่าตัดประสบความสำเร็จ

 

doctors-use-3d-printing-ensure-safe-delivery-high-risk-pregancy-1

 

ในประเทศไทยตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้ใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์3มิติ เข้ามาช่วยในการรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่ โดยการพิมพ์แบบจำลองจากเครื่องพิมพ์3มิติ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรคต่อไป