
โปแกรม Solid Edge ST10 เป็นโปรแกรมที่มีการใช้งานจะคล้ายๆ โปรแกรมสร้างชิ้นงาน 3 มิติทั่วๆ ไปอย่างเช่น AutoCAD, Fusion360 และ Solidworks ซึ่งสามารถทำงานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น การดราฟ, ขึ้นโมเดล, ภาพการประกอบชิ้นส่วนงาน, การสร้างท่อโค้งงอ, การ Simulation, การ Reverse ทาง Engineering และอื่นๆ อีกมากมาย แต่สิ่งที่โปแกรม Solid Edge ทำได้แตกต่างออกมานั้นคือการ Revers ไฟล์งาน เพราะได้รวบร่วมเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพทางการออกแบบ 3 มิติ ไว้ให้ใช้งานอย่างครบครัน และมีเครื่องมือในการแก้ไขปรับแต่งไฟล์งานที่มีข้อมูลเป็นแบบสามเหลี่ยม ซึ่งทีมาของไฟล์งานอาจจะมาจากการสแกน หรือโปรแกรมอื่นๆ เพราะไฟล์งานส่วนมากเลยที่ได้จากการสแกน 3 มิติ นั้นจะไม่สมบูรณ์ 100% อยู่แล้วจึงต้องทำการปรับแต่งไฟล์ให้กลับมาสมบูรณ์มากที่สุดก็คือการ Reverse เช่น การปรับผิวให้เรียบ การปรับแต่งจากงานเดิม การสร้างชิ้นงานใหม่จากการเทียบขนาดที่ได้จากการสแกน 3 มิติ แล้วแต่เราจะเลือกใช้งานเลยครับ ถือว่าช่วยลดระยะเวลาในการออกแบบงานทางวิศวกรรมได้มาก เพราะบางงานไม่จำเป็นต้องมาวัดขนาดชิ้นงานจริงและสร้างชิ้นงานขึ้นมาใหม่แล้วซึ่งมันจะใช้เวลามากต่องานหนึ่งชิ้น เพื่อการไม่ให้เสียเวลามากเรามาเริ่มใช้งานโ)รแกรม Solid Edge ST10 กันเลยดีกว่าครับ

ภาพที่ 2

ภาพที่ 3

ภาพที่ 4
เมื่อเราเปิดโปรแกรม Solid Edge ขึ้นมาจะเจอกับการสร้าง Sheet ของทาง Solid Edge จะมีให้เลือกใช้งานเยอะไม่ว่าจะเป็น Part, Daft, Metal, Assembly และ Weldment หน่วยที่จะใช้ก็สามารถเลือกได้จะเป็นนิ้วหรือเซนติเมตรส่วนมากเรามักจะใช้เป็น Part แบบเซนติเมตรมากกว่า เลือกไปที่ (ภาพที่ 2-3) Open Bowse > เลือกไฟล์ .stl > ANSI Metric > ansi metric part แล้วเราก็จะได้ sheet งานที่พร้อมจะทำการสร้างาน แก้ไขงานที่มีหน่วยเป็นเซ็นติเมตรแล้วครับ (ภาพที่ 4) จะเห็นว่าจะมีหน้าต่างเครื่องมือที่ไว้ใช้สำหรับการ Reverse Engineering โดยเฉพาะทางเลยนี่แหละครับเป็นทีเด็ดของทางโปรแกรม Solid Edge ST10 Classic จากนั้นเราก็ทำการจัดวางโมเดล 3 มิติ ที่เปิดขึ้นมาให้อยู่ตรงกึ่งกลางของแกนต่างๆ เพื่อง่ายต่อการทำงาน (ภาพที่ 5)

ภาพที่ 5
วีธีการ Reverse ไฟล์งานที่ได้จากเครื่องสแกน Einscan-SE
เครื่องสแกนเนอร์ที่ผมใช้เป็น Einscan-SE งานที่ไม่ได้เน้นความละเอียดของชิ้นงานมากต้องการแค่ลักษณะของชิ้นงานเบื้องต้นถือว่า Einscan-SE ทำได้ดีมากเลยครับ อาจจะสแกนได้ไม่ดีเท่ารุ่นพี่อยาง Einscan Pro/Pro+ หรือ David SLS-3 HD ก็ตาม (ภาพที่ 6-7) จากรูปภาพจะเห็นได้ว่างานที่ได้จากการนั้นถือว่าดีมากแล้ว แต่เมื่อจะนำไปใช้งานจริงอาจจะต้องทำการแก้ไขให้ผิวของชิ้นงานนั้นเรียบ เพราะจะสังเกตุเห็นได้ว่าบางจุดยังสแกนได้ไม่ดี ถ้าเรานำงานนี้ไปพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เลยผิวของชิ้นงานที่ได้จะไม่สวยเลยก็ว่าได้ ชิ้นงานมีรอยขรุขระของผิวงานแบบไหนเมืื่อทำการสไลด์จากโปรแกรมของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แล้วก็ยังจะมีรอยเหล่านั้นอยูเช่นเดิมนี่แหละเป็นหตุผลที่เราต้องทำการ Reeverse ไฟล์งานก่อนจะไปใช้งานจริง

ภาพที่ 6

ภาพที่ 7
โปรแกรม Solid Edge ST10 ตัว Classic นี้จะมีเครื่องมือที่ช่วยในการแก้ไขไฟล์งานได้ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ .stl, .step และอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนมากไฟล์ที่ได้จากเครื่องสแกนเนอร์ Einscan-SE จะเป็น .stl อยู่แล้ว เมื่อกดไปที่หน้าต่างการ Reverse Engineering จะเจอเครื่องมือในการแก้ไข (ภาพที่ 8)
- จะเป็นหน้าต่างของเครื่องมือทั้งหมดจะครอบคุมการทำงานไม่ว่าจะเป็น การวาด 2D, การวาด 3D, การทำ Surfacing, PMI, การ Simulation, การ Gennerative Design, การ Reverse และอื่นๆ
- Planes สร้าง plane ต่างๆ ตามจุดที่เราต้องงการจะวาดหรือแก้ไข เพื่อจะได้ง่ายต่อการแก้ไขงานเวลาวาด 2D ณ ต่ำแหน่งตามแกน x, y, z ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- Cleanup Mesh เป็นการแก้ไขพื้นพิวของงานสามารถลบผิวของงานที่ได้จากการสแกนมา และเติมผิวตรงจุดนั้นๆ ได้เพื่อให้เรียบขึ้น การลบนั้นจะลบเป็นแบบลายตาข่ายแบบ Polygon ของชิ้นงานนั้นๆ ถาไฟลที่ได้จากการสแกนมีความละเอียดมาก Polygon ก้จะเยอะตามกันไป
- Identify Regions เป็นการระบายสีของผิวชิ้นงานเพื่อจะแบ่งผิวของชิ้นงานให้ออกเป็นส่วนๆ จะได้ง่ายต่อการแก้ไข และสร้างพื้นผิวของขึ้นมาใหม่เพื่อใช้อ้างอิงกัับชิ้นงานที่ได้ทำการสร้างขึ้นมาใหม่ เครื่องมือนี้จะใช้ร่วมกับ Extract Surfaces
- Extract Surfaces เป็นการสร้างพื้นผิวงานขึ้นมาใหม่ที่ได้จากการอ้างอิงพื้นผิวของงานเก่หรืองานที่ได้จากการสแกน 3 มิติ การสร้างจะมีให้เลือก 2 แบบ Extract กับ Fit ส่วนมากแล้วจะใช้แบบ Fit มากกว่าเพราะจะมีฟังก์ชั่นในกาเลือกรูปแบบพื้นผิวได้มากกว่า เช่น วงกลม, สี่แหลี่ยม, กรวย, ทรงกระบอก และอื่นๆ
- Curves เป็นการสร้างส่วนที่โค้งงอต่างๆ ให้ง่ายขึ้น การวาดส่วนโค้งต่างๆ ตามชิ้นงาน สามารถตัดชิ้นงานที่มาจากการสแกน 3 มิติ ได้ต้องการจะตัดเฉพาะจุดก็ทำได้สบายมาก
- Surfaces เป็นการปรับแต่งพื้นผิวที่ได้มาจากเครื่องมือที่ (5)Extract Surfaces และ (6)Curvers ไม่ว่าจะ คัดลอกพื้นผิว Offset การดึงสร้างพื้นผิวจากเส้นที่วาดขึ้นจะเป็นแบบโค้งงานก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายเหมือนกัน
- Modify Surfaces เป็นการแก้ไขพื้นผิวที่ได้จากการทำ (5)Extract Surfaces และ (6)Curvers การตัดพื้นผิว การขยายพื้นผิว การผสานพื้นผิวให้เป็นชิ้นเดียวกัน การดึงพื้นผิวของชิ้นงานจริงแนบกับพื้นผิวที่ได้จากการทำในเครื่องมือที่ (4)Identify Regions และ (5) Extract Surfaces จากชิ้นงานที่ต้นแบบจากการสแกน 3 มิติ ถือว่าทำให้เกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นต่อการแก้ไขปรับปรุงไฟล์งานทาง Engineering

ภาพที่ 8
สำหรับคนที่ยังมองภาพไม่ออกนะครับ ว่าเครื่องมือทั้งหมดมีการทำงานยังไงบ้างผมได้ทำวีดีโอการ Revers เบื่องต้นมาให้ชมกันครับ งานนี้จะได้มาจากการสแกนกับเครื่อง Einscan-SE ชิ้นงานอันนี้จะเป็นอะไหล่ฝาครอบของรถเข็นคนพิการจะมีด้วยกัน 2 ชิ้น แต่ได้แตกไป 1 ชิ้น เลยนำอีกอันมาสแกนและ Reverse เพื่อจะนำไปพิมพ์ออกมาใช้งานจริงพลาสติกที่ใช้เป็น ABS เน้นแข็งแรง ใช้งานกว่าแสงแดดได้ ชิ้นงานจริงจะเป็นสีดำนะครับที่เห็นในรูปจะเป็นสีขาวเพราะได้พ่นสเปรย์แป้งให้ง่ายต่อการสแกนงานถ้าเป็นชิ้นงานที่สีทึบดำ มันเงา โป่งใส จะไม่สามารถสแกนได้ครับ ตามภาพที่ 9-10

ภาพที่ 9

ภาพที่ 10
วีดีโอการ Revere Engineering อะไหล่รถเข็นคนพิการ
เมื่อทำการแก้ไขไฟล์เรียบร้อยแล้วผมได้ Save งานออกมาเป็น .stl เพื่อจะนำไปพิมพ์กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Fashforge Creator Pro ความละเอียดที่พิมพ์อยู่ที่ 200 ไมคอน (0.2 มิลลิเมตร) พลาสติกที่ใช้เป็น ABS เพื่อเน้นความเเข็งแรงของชิ้นงานต่อการใช้งานจริง เดี๋ยวให้บนความต่อไปผมจะมาแนะนำการตั้งค่าพิมพ์งานกันนะครับ เมื่อนำมางานแต่ละแบบมาเปรียบเทียบกันทั้ง 4 แบบจะมี การสแกนด้วย Einscan-SE(ภาพที่ 11), การ Reverse Engineering(ภาพที่ 12), การพิมพ์แบบ 3 มิติจาก Flashforge Creator Pro(ภาพที่ 12) และชิ้นงานจริงที่แตกหัก (ภาพที่ 13) จากทั้งหมดที่นำมาเปรียบเทียบนั้นบอกได้เลยว่าโปรแกรม Solid Edge ST10 Classic สามารถ Reverse ได้จริงและใช้งานไม่ยาก เครื่องมือต่างๆ ที่มีก็ใช้งานคล้ายๆ กับโปรแกรม 3D ทั่วไปเลยครับ สำหรับคนที่เป็นโปรแกรม 3D อยู่แล้วสบายมากที่จะหันมาใช้งาน Solid Edge ST10 อีกสักโปรแกรม

ภาพที่ 11

ภาพที่ 12

ภาพที่ 13