FreeDD#5 Wat Arun สแกนรอบวัดอรุณ ขึ้นรูปโมเดล Lidar Scan to 3D Printer แจกฟรีโมเดล

FreeDD#5 Wat Arun สแกนรอบวัดอรุณ ขึ้นรูปโมเดล Lidar Scan to 3D Printer แจกฟรีโมเดล

#ฟรีดีดี ครั้งที่5 จะพิเศษหน่อย คราวนี้เราสแกนที่สถานที่จริงเลยครับ เราเริ่มงานที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร สแกนสถานที่ด้วยเครื่อง 3D Scanner Lidar ตัวล่าสุดที่ถือสแกน โดยการเดินรอบตามเข็มนาฬิกาใช้เวลาในการสแกนรวม 15นาที นำไฟล์กลับมา Process ต่ออีกหน่อยจะได้ Point Cloud จำนวนจุดประมาณ 200ล้านจุด สามารถนำไฟล์นี้ไปใช้ในการวัดและการสำรวจได้ทันที แต่ในบทความนี้ทีมงานเราได้ขึ้นไฟล์ 3มิติแบบ Low Polygon เพื่อนำเอามาพิมพ์ และ แจกแก่ประชาชนต่อไปครับ

เราภูมิใจเพราะวัดอรุณเป็นวัด Landmark สำคัญของประเทศไทย อยากให้ทุกคนที่นำไฟล์ไปใช้ ใช้อย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์กับเราชาวไทยต่อไปนะครับ เราเทศพิมพ์ไฟล์นี้ด้วยเครื่องพิมพ์ 3มิติของเราเอง แนะนำให้ใช้เส้น PLA ยิ่งสีด้านยิ่งดี (ใครยังไม่มีซื้อเครื่องพิมพ์ กับเส้นของเราได้ 5555)

เราลองเทสพิมพ์จาก FDM 3D Printer ไฟล์ทั้ง2นี้ พิมพ์ค่อนข้างง่ายและต้องใช้ Support ใครมี 3D Printer ผมว่าไม่ควรพลาด หรือใครยังไม่มีผมใช้เครื่อง Flashforge Adventurer 5M Pro เป็นเครื่องที่แนะนำ เส้นที่ใช้แนะนำให้ใช้เส้นด้านครับ PLA Matte ถ่ายรูปจะขึ้นกว่าและดูเนียนหลอกตามมากกว่า

ประวัติโดยสังเขปของวัดอรุณ เป็นวัดที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ทราบเวลาการสร้างที่แน่ชัด แต่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมทีมีชื่อว่า “วัดมะกอกนอก” ต่อมาพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสร็จมาวัดนี้ในเวลาแจ้ง ได้เปลี่ยนชื่อวัดนี้เป็น “วัดแจ้ง” และ “วัดอรุณ” ตามลำดับ นอกจากนั้นถือเป้นวัดประจำวัง เพราะอยู่ในเขตของพระราชวังเดิม วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่2 เนื่องจากในขณะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นวังหน้าในรัชกาลที่1 นั้น พระองค์ได้ประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมแห่งนี้ และได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้เป็นการใหญ่ มีการจัดงานสมโภชใหญ่ถึง 7 วัน 7 คืน

พระปรางค์วัดอรุณฯ มีขนาดความสูงจากฐานถึงยอด 81.85 เมตร องค์พระปรางค์ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ ฐาน เรือนธาตุ และเรือนยอด มีสัณฐานดุจเขาพระสุเมรุ ส่วนตัวเรือนฐานทำการย่อมุมลง และเรือนยอดที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ในแต่ละชั้นมีช่องรูปกินนรและกินรี เชิงบาตรเหนือช่องมีรูปมารแบกกระบี่แบกสลับกัน เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มคูหารูปพระพายทรงม้า จากนั้นเป็นยอดปรางค์มีรูปครุฑยุดนาคและเทพนมอยู่เหนือซุ้มคูหา ส่วนยอดปรางค์เป็นพระมหามงกุฎนภศูล

พญายักษ์ ณ วัดอรุณฯ ที่ยืนเฝ้าซุ้มประตูยอดมงกุฎอยู่ 2 ตน มือทั้งสองกุมกระบอง ยักษ์กายสีขาวชื่อ สหัสเดชะ และยักษ์กายสีเขียวชื่อ ทศกัณฐ์ ปั้นด้วยปูน ประดับกระเบื้องเคลือบสีเป็นลวดลายเครื่องแต่งตัว

โมเดล 3D วัดอรุณชิ้นนี้สร้างมาจากการสแกนจากสถานที่จริง ขึ้นแบบโดยลดทอนรายละเอียดบางส่วนไป (ไฟล์ที่สแกนมีความละเอียดมาก 4GB)

Point Cloud ที่ได้จากการสแกน สามารถนำไปทำงานต่อได้หลาย Software เช่น Revit, Blender, Rhino, SolidWork

Download 3D Model

ไฟล์ SLT แบบ Low-Poly พิมพ์กันง่ายๆ Minimal – ตัว High-Poly ขออนุญาติใช้งานกับเจ้าของ Project หน่วยงานรัฐ ที่ให้ในเชิงวิศวกรรม สถาปัตยกรรมกันต่อไป คนไทยน่าจะชอบโมเดลนี้ ภูมิใจและสวยงามดีครับ
ไฟล์ 3มิติ / Link Wat Arun by 3DD & Dfine3D
เครื่องพิมพ์ที่ใช้ Adventurer 5M Pro (ใช้หัวฉีดมาตรฐาน 0.4mm)
วัสดุที่ใช้ 3DD PLA Matte Grey  (เส้น PLA ด้านสีเทาเข้ม)
เวลาที่ใช้พิมพ์ ขึ้นกับค่าที่ตั้ง เราใช้เวลา 4ชม. 50นาที
Credit 3D Files www.print3dd.com | www.dfine3d.com

FreeDD ฟรีดีดีแนะนำโมเดล 3มิติฟรีสำหรับผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์ 3มิติ พิมพ์เองได้เลยที่บ้าน พร้อมลิงค์ Download ซึ่งเราทดลองพิมพ์แล้วพิมพ์ได้ดี สวย งานดี แนะนำให้พิมพ์ต่อๆกัน คนอื่นไม่รู้เป็นไงแต่ผมพิมพ์เองแล้วมีความสุข สะสม อีกอย่างต้นทุนพิมพ์ตกชิ้นละไม่ถึงร้อยบาท

3D Scanning

การสแกน 3มิติพื้นที่ขนาดใหญ่นั้นนิยมใช้กัน 2ระบบคือ Photogrammetry(สามารถโมเดล 3มิติจากภาพถ่ายหลายพันภาพ) และ Lidar Scanner(ยิงเลเซอร์หลายล้านจุดไปรอบเพื่อให้ได้ Point Cloud) เราเลือกให้เครื่อง Lidar แบบ Handheld หรือ เรียกอีกอย่างว่า SLAM (Simultaneous Localisation and Mapping) โมเดลที่เราใช้คือ SLAM100 โดยเป็นแบบมือถือสแกน เวลาในการสแกนจึงประหยัดไปได้มาก โดยโปรเจคนี้เป็นการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์

เริ่มต้นการสแกนโดยการวางแผนการเดิน โดยเราวางแผนการเดิน ตามเข็มนาฬิกา (หลักการสแกนด้วยเครื่อง SLAM คือจุดเริ่มต้นกับจุดสุดท้ายควรเป็นจุดเดียวกัน เดินให้ครบ Loop) ใช้เวลาในการสแกนเก็บ 20-25นาที โดยเราจะเห็นโมเดลของเรา Real Time ในมือถือ และนำไฟล์ที่ได้มา After Process เพื่อให้ได้ข้อมูลความละเอียดสูง ใน PC อีกครั้ง

อ่านบทความไปสแกนที่วัดอรุณเต็มๆได้ที่นี่

Space of the Week EP.7 : สแกน 3มิติวัดอรุณ ใน 25นาที ด้วยเครื่อง 3D Lidar Scan SLAM100

เครื่อง SLAM100 เป็น Handheld Lidar Scanner ใช้เวลาในการสแกนไม่กี่นาที ไม่เหมือนเมื่อก่อนต้องตั้งสแกนเป็นเวลานาน

สามารถนำไฟล์ไปทำการวัดระยะพิกัด ในแนว 3มิติ มีประโยชน์มากในการอนุรักษ์

Point Cloud แบบขึ้นสีตามลำดับความสูง ในรูปเป็นการ Gen ความละเอียดระดับกลางที่ประมาณ 200ล้านจุด

3D Modeling

หลังจากสแกน 3มิติด้วยเครื่อง SLAM100 เราจะได้ Point Cloud ที่มีความละเอียดสูงมากๆมา เพื่อเอาไปใช้ตามแต่วัตถุประสงค์ สามารถนำไปใช้ Survey การคำนวนหาปริมาตร การคำนวนเชิงวิศวกรรม สร้างภาพยนต์หรือ Animation ต่อไป

ในฟรีดีดี ครั้งนี้เรานำ Point Cloud ความละเอียดสูงกว่า 200ล้านจุด มาทำเป็น โมเดลความละเอียดต่ำเพื่อการใช้งานพิมพ์ 3มิติต่อไป เน้นออกแบบให้พิมพ์ง่าย โดย Software ที่เรานำมาใช้ใน Case นี้คือ Rhino – (การสร้าง Reverse Engineer, BIM สามารถใช้ Software ได้หลายตัวมากเช่น Revit, 3D Max, Rhino, Blender, SolidWork, SolidEdge, Geomagic Design X)

เราขึ้น Draft โมเดล 3มิติของวัดอรุณ ได้เป็นไฟล์ STL มาให้ทุกคนได้ใช้กันฟรีๆ

อ่านบทความ Reverse Engineer / Modeling วัดอรุณฉบับเต็มได้ที่นี่

ออกแบบพระปรางค์วัดอรุณจาก Piont Cloud l SOW Ep.3

รูป Top View ไฟล์จากการสแกน
ขึ้นโมเดล 3มิติแบบลดทอนรายละเอียด เพื่อสามารถนำไปพิมพ์ได้ในชั้นตอนต่อไป กรณีนำไฟล์ไปใช้เชิงสถาปัตยกรรม หรือ วิศวกรรม นิยมใช้จาก Point Cloud มากกว่าเพราะมีความละเอียดสูงถึง 200ล้านจุด

3D Printing

เมื่อเราได้โมเดล STL จากกระบวนการขั้นต้นแล้ว เราเอามาพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3มิติ ในบทความนี้เราใช้เครื่อง Flashforge Adventurer 5M Pro และเลือกใช้เส้นวัสดุ PLA Matte สีเทา เวลาพิมพ์สีด้านและเทาจะค่อนข้างถ่ายรูปขึ้นครับ ลองเอาตัวนี้ไปใช้กันดู

เวลาในการพิมพ์โมเดลนี้คือเกือบ 5ชม. พิมพ์ออกมาแล้วชอบและภูมิใจยิ่งนัก ลองไปพิมพ์กันดูครับ

ไฟล์ SLT แบบ Low-Poly พิมพ์กันง่ายๆ Minimal – ตัว High-Poly ขออนุญาติใช้งานกับเจ้าของ Project หน่วยงานรัฐ ที่ให้ในเชิงวิศวกรรม สถาปัตยกรรมกันต่อไป คนไทยน่าจะชอบโมเดลนี้ ภูมิใจและสวยงามดีครับ
เมื่อ Slice จะมีการคำนวนเวลาในการพิมพ์โมเดลขึ้นมา ปริมาณการใช้วัสดุสิ้นเปลื้อง เชคดูความเรียบร้อย ก่อนสั่งพิมพ์


#FreeDD #ฟรีดีดี