Reverse Engineering กับการพิมพ์ตัวล็อกหน้ากากหมวกกันน็อค

Reverse Engineering กับการพิมพ์ตัวล็อกหน้ากากหมวกกันน็อค

Reverse Engineering เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในวงวิศวกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการที่สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้จากงานเก่าๆได้อย่างง่ายดาย หรือแม้กระทั่งการนำชิ้นงานที่ไม่สามารถหาได้อีกแล้วมาไว้ในคอมพิวเตอร์แล้วนำไปใช้ต่อได้ แต่กระบวนการนี้ไม่ได้จะใช้กับกระบวนการวิศวกรรมขั้นสูงสูงเท่านั้น ชิ้นส่วนในของใช้ทั่วไปก็ทำได้เช่นกันขอเพียงแค่มี3D Scannerก็จะง่ายขึ้นทันที

วันนี้เราขอยกเคสตัวอย่างของคุณ คัตสึยะ ทานะบิกิ ที่ทำการสแกนชิ้นส่วนด้วยเครื่องEinscan Pro2X ต่อด้วยใช้การReverse Engineering และพิมพ์ด้วย 3D Printer เพื่อทำตัวล็อกหน้ากากหมวกกันน็อตใช้เองเนื่องจากชิ้นนี้เป็นชิ้นส่วนที่มีการสึกหรอเป็นเรื่องปกติแต่กลับไม่มีขายซะงั้นทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกแค่ว่าจะซื้อหน้ากากใหม่เลยหรือหมวกใหม่ดีซึ่งแน่นอนว่าของยังไม่พังซะหน่อย ในเมื่อเรามีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถสแกนชิ้นงานที่อยู่ในโลกจริงให้เข้าไปกลายเป็นไฟล์ในคอมพิวเตอร์แล้วก็ทำการแก้ไขหรือสร้างใหม่

เนื่องจากชิ้นงานที่ทำการสแกนนั้นมีขนาดที่เล็กมากเพื่อให้การสแกนสำเร็จและแม่นยำสูงสุดจึงทำการใช้โหมดFixed scan พร้อมชุด industrial pack

เมื่อหลังจากสแกนเสร็จแล้วก็จะทำการReverse Engineeringต่อได้เลย ในรูปก็จะเป็นข้อมูลที่ได้จากการสแกนหลังจากที่ปรับผิวเบื้องต้นในโปรแกรมแล้ว โดยคุรคัตสึยะจะใช้เป็นโปรแกรมFusion360


ขั้นแรก สร้างเส้นร่างของโมเดลขึ้นมาจากนั้นก็ทำการลากเส้นตามเส้นที่โปรแกรมร่างมาให้เพื่อสร้างเส้นsketchที่สามารถใช้งานได้

แล้วก็ทำการขึ้นรูปจากเส้นที่ร่างไว้จนเป็นรูปสามมิติ แล้วก็ทำการปรับโครงสร้างMeshให้เรียบเพื่อลดเหลี่ยมตามที่ต้องการ

เมื่อได้ไฟลืที่สมบูรณ์จนพอใจแล้วก็ทำการสั่งพิมพ์ด้วย3D Printerได้เลย หลังจากทีพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้วก้นำมาใช้ได้ทันที

3D scannerเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากในการสร้างชิ้นงานที่มีความซับซ้อนสูงจากงานต้นแบบที่เคยทำไว้ เนื่องด้วยเครื่องสแกนมีความแม่นยำที่สูงทำให้งานที่สแกนมาแล้วนำมาใช้ต่อนั้นจึงมีความคลาดเคลื่อนน้อยมากทำให้ไม่ต้องไปวัดใหม่ให้ปวดหัว