เนื่องจากทีมช่างของเรานั้นจะมีการซ่อมเครื่องพิมพ์ต่างๆ วึ่งทำให้เกิดการเลอะเปอะเปื้อน ทั้งจากน้ำมันที่หยอดตามแกนและเรซิ่นที่เปอะตามเครื่องการหยิบการดาษออกมาม้วนๆนั้นอาจจะสร้างความลำบากมากไปนิด วันนี้จึงได้ทำการทดลองทำที่แขวนกระดาษทิชชู่ติดที่โต๊ะเครื่องมือเคลื่อนที่เพื่อสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกมากขึ้น เริ่มแรกก็ทำการวัดขนาดของขอบโต๊ะเพื่อให้ขาเกี่ยวของเรานั้นพอดีกับโต๊ะของเรา จากนั้นก็จะทำการขึ้นไฟล์3มิติกันนะครับ เมื่อได้ไฟล์มาแล้วก็จะทำการสั่งพิมพืทันทีครับ ดดยเราจะใช้เครื่อง Flashforge guider3 เพื่อความรวดเร็วในการพิมพ์ครับ เมื่อทำการพิมพ์เสร็จแล้วก้จะทำการทดลองประกอบกันเลย ถ้าหากดูวิดีโอแล้วจะเห็นว่าเราออกแบบไฟล์ครั้งเดียวแล้วได้เลย บอกเลยว่าไม่จริงครับ5555555 ที่อยุ่ในวิดีโอนั้นเป็นV.4แล้วครับ สำหรับบทความในครั้งนี้ไม่ได้ดชวืความหวือหวาอะไรเป็นพิเศษครับ เพียงแค่จะเป็นการจุดประการสำหรับคนที่มีเครื่องพิพ์อ่ยู่ที่บ้านอยู่แล้วแต่ไม่รุ้จะทำอะำร ลองเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวดูครับ ดูว่าเราขาดอะไร ต้องการอะไรเพิ่มเติม ของที่เราอยากได้นั้นมีขายรึเปล่า หรืออาจจะเพียงแค่ฝึกให้เด็กๆลองหัดทำของเล่นของใช้ดูครับ
Author: YOK
5 Tips นักออกแบบมือใหม่สำหรับงาน 3D Printing
สำหรับนักออกแบบมือใหม่ที่เริ่มหัดใช้3D Printerนั้นก็เริ่มกำลังเรียนรู้การออกแบบไฟล์กันอย่างแน่นอน ในช่วงแรกๆทุกคนก็คงจะโหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ตมาพิมพ์กันเป้นปกติอยุ่แล้วและถึงเวลที่เราจะต้องมีชิ้นงานเป็นของตัวเองซักที แต่ัญหาคือ ทำไมเวลาเอาไปใช้งานจริงถึงใช้งานไม่ได้กันนะ? ทำไมถึงพิมพ์ออกมาไม่เห็นเหมือนกับที่ออกแบบไว้เลย? พิมพ์ติดบ้างไม่ติดบ้าง? วันนี้ผมจะมาแนะนำ 5 Tip การออกแบบไฟล์ให้สามารถพิมพ์ได้อย่างลุล่วง 1.ออกแบบบนพื้นผิวที่เรียบ ในข้อนี้ถือเป็นข้อสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ครับสำหรับผุ้ที่ใช้งานเครื่องพิมพ์ระบบ FDM เพราะเครื่องระบบนี้จะพิมพ์บนฐานพิมพ์หรือBed ซึ่งแน่นอนว่าพลาสติกที่ถูกฉีดออกมานั้นจะต้องลงไปเกาะบนฐานพิมพ์ในชั้นแรกสุด ดังนั้นชั้นแรกของตัวงานที่ลงไปเกาะบนฐานรองพิมพ์นั้นจะต้องมีพื้นที่ที่มากพอสมควร หากพื้นที่ที่ติดฐานพิมพ์น้อยเกินไปจะส่งผลให้ชิ้นงานหลุดอออกจากฐานพิมพ์การก่อนที่งานจะเสร็จได้เลย 2.หลีกเลี่ยงส่วนที่เป็น Steep overhang หรือส่วนที่มีการเอียงแบบสูงชัน Steep overhang เป็นมุมของตัวงานที่มีลักษณะเอียงยื่นออกมาจากตัวงานในแนวตั้งฉาก
Layer shift เรื่องเล็กที่ไม่เล็ก ต้องระวัง!!!!!!!!!!!!
สำหรับผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์สมมิติระบบ FDM มือเก๋าหลายๆท่านน่าจะทราบกันดีว่าพอเครื่องเริ่มเก่าแล้วก็มักจะเริ่มมีปัญหาจุกจิกตามมาพอสมควร ทั้งพิมพ์ไม่สวย พิมพ์ไม่ตรง ความร้อนเพี้ยน และอื่นๆอีกมากมายที่กล่าวถึงไม่หมดครับ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงปัญหา Layer shiftกันครับ Layer Shift คืออะไร? layer shift หรืออาการหลุดสเต็ป อาการนี้คือเครื่องจะมีลักษณะการพิมพ์งานไม่ตรงจุดเดิมซึ่งอาจจะเบี้ยวหรืออาจจะหลุดจากแนวเดิมที่เคยพิมพ์ไว้(งานเสียรูปจะเป็นอีกกรณีนึง) ซึ่งสามารถเกิดได้หลายแบบและหลายครั้งในการพิมพ์งานครั้งเดียว โดยสามารถดูงานเสีของอาการเหล่านี้ได้จากรุปด้านล่างครับ ต้นเหตุของ layer shift ต้นเหตุของอาการนี้มีหลากหลายมากครับแต่โดยส่วนใหญ่แล้วปัญหาจะมาจากตัวเครื่องพิมพ์เป็นหลักครับ เพราะสาเหตุใหญ่ของอาการLayer shift
ทำเคสมือถือสองวัสดุด้วย 3D Printer
เคสมือถือเป็นไอเท็มที่เรียกได้ว่าขาดไม่ได้ไปซะแล้วเพราะถ้าหากมีมือถือก็ต้องมีเคส เพราะไม่ถ้าไม่มีเคสมือถือของคุณอาจเป็นรอยได้ ซึ่งเคสทั่วไปนั้นหาซื้อง่ายและมีตรงรุ่นของทุกคนแต่สำหรับแอดแล้วเคสนั้นหายากเหลือเกิน ถ้าแบบที่มีขายก็ตัวเลือกน้อยมาก มือถือของผมนั้นเป็นIphone 13 Mini ไม่ค่อยมีใครใช้และหาเคสยากพอสมควรจึงอยากลองทำเคสใส่เองซะเลย ตอนแรกว่าจะทำเองแต่เจอไฟล์บนThingiverseซะก่อนก็เลยลดเวลาได้เยอะเลย ไฟล์ต้นฉบับ Download พิมพ์สองวัสดุทำได้จริงหรือ? การพิมพ์แบบสองวัสดุด้วยเครื่องพิมพ์แบบFDMนั้นไม่เป็นที่นิยมมากนักเพราะจากปัญหาของอุณหภูมิของสองวัสดุนั้นค่อนข้างห่างกันพอสมควร ซึ่งส่งผลให้การพิมพ์ตรงรอยต่อของสองวัดุนั้นอาจจะไม่เชื่อมติดกันหรืออาจจะติดดีเกินไปเนื่องจากอุณหภูมิของอันที่มาทับนั้นสูงกว่า แต่การทดลองนี้จะใช้เป็น PETG-CF และพิมพ์ทับด้วย Elastic(TPU95A) ที่เลือกสองตัวนี้เพราะเหตุผลหลักๆสองข้อครับ – สองวัสดุนี้มีความน้อนที่ใช้ใกล้เคียงกัน โดย PETG-CF นั้นจะใชุ้ณหภูมิการพิมพือยู่ที่ 220-240C
How to พิมพ์ABS อย่างไรให้ปัง
ABS หรือชื่อเต็มคือ Acrylonitrile butadiene styrene เป็นหนึ่งในพลาสติกที่นิยมกันในหมู่ผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติระบบFDM จำนวนไม่น้อย เพราะด้วยคุณสมบัติของตัวเส้นที่มีคุณสมบัติเชิงกลที่ดีเยี่ยม มีความต้านทานต่ออุณหภูมิที่สูงกและการจัดการกระบวนการเก็บงานหลังจากพิมพ์นั้นทำได้ง่าย เมื่อเปรียบเทียบกับพลาสติกพื้นฐานอย่างPLA และ PETG ซึ่งABS จะอยู่ตรงกลางระหว่างนี้ ถึงแม้ว่าPLAนั้นจะพิมพ์ได้ง่ายกว่าแต่ในส่วนของการเก็บงานนั้นABS จะทำได้ดีกว่า PETG แต่PETGเองนั้นมีข้อดีคือระหว่างพิมพ์นั้นแทบจะไม่มีกลิ่นเล้ดลอดออกมาเลยและไม่ค่อยมีการโก่งตัวเหมือนกับABS แต่ถึงอย่างนั้นABSก็ยังคงเป็นที่นิยมเพราะด้วยราคาที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับพลาสติกเกรดอุตสาหกรรมชนิดอื่นๆ และยังสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายมากกว่า นั่นจึงทำให้การที่จะสร้างงานต้นแบบ(Prototype)นั้น ABS ก็ถือเป็นตัวเลือกระดับต้นๆเลยทีเดียว ทำอย่างไรให้งาน ABS
ทำหัวดูดฝุ่นใช้เองด้วย 3D Print
ว่างๆแต่มีเครื่องอยู่ไม่รู้จะทำอะไรลองมาทำของใช้ด้วยตัวเองกัน วันนี้แอดจะมาทดลองทำหัวดูดฝุ่นด้วย3D Printerใช้เอง เพราะหัวดูดฝุ่นของที่แถมมานั้นมีแค่หัวพื้นฐานเล็กซึ่งมันดูดไม่ทันใจเท่าไหร่ ซึ่งแอดได้ไปเจอเว็บ Printables.com โดยคุณMAXได้ทำการลงไฟล์หัวเครื่องดูดฝุ่นเอาไว้ให้สามารถใช้กันได้ทุกเครื่องเลยทีเดียว พอเราเข้าไปก็ทำการกดดาวน์โหลดมาทำการพิมพ์ได้เลยตามขนาดของเครื่องดูดฝุ่นเรา โดยขนาดของหัวให้ทำการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวดูดที่แถมมาครับ จากนั้นก็ทำการโยนไฟล์เข้าโปรแกรมและสั่งพิมพ์ได้ทันทีครับโดยที่ไม่จำเป็นต้องตั้งค่าซัพพอร์ตแต่อย่างใด แต่อย่าลืมตั้งระดับเครื่องก่อนพิมพ์กันนะครับเผื่อไม่ได้ใช้นาน วันนี้ตัวเอกของเราก็เป็น Flashforge Finder3 ครับ ซึ่งการพิมพ์งานใช้งานทั่วๆไปเครื่องนี้ก็ตอบโจทย์พร้อมหลากหลายวัสดุ แต่วันนี้แอดได้ใช้เพียงแค่ PLA Pro ก็น่าจะเพียงพอครับสำหรับการใช้งาน ไปดูคลิปใช้งานกันได้เลย จากที่ได้ใช้งานจริงมาสักพักก็ดูดได้ดีปกติทั้งที่นอน พื้น หรือที่ต่างๆ แต่เพียงแค่อาาจะมีหลุดบางตอนที่ปิดเครื่องเพราะขนาดที่ใช้นั้นจะพอดีกับเครื่องแบบเป๊ะๆ
ทำตัวจับมือถือกับPowerBank ด้วย SkectchUp Online
วันนี้เราจะมาลองทำของใช้ง่ายๆด้วยโปรแกรม3Dง่ายๆและฟรีกันครับโดยจะเน้นการวาดแบบด่วนไม่ลงรายละเอียดมากนัก สิ่งที่แอดจะทำก็คือ ตัวจับPowerbankให้ยืดกับมือถือครับ ซึ่งแอดมีปัญหาพอสมควรในการใช้ฟังก์ชั่นWirelessของPowerbankรุ่นนี้พอสมควร หลักๆคือมันลื่นครับ ยังไม่ทันชาร์ตไหลอีกละ ก็เลยต้องหาอะไรมาจับซะหน่อย โปรแกรมที่เราใช้วันนี้จะเป็นsketchUp online เป็นโปรแกรมที่ให้เราใช้ฟรีแตละไม่จำเป็นต้องติดตั้ง เพียงแค่เปิดเว็บก็สามารถใช้งานได้เลย มันเหมาะกับเหล่าMakerมือใหม่แบบสุดๆๆๆ แต่หลายๆฟังก์ชั่นก็จำกัดไว้พอสมควร..เพราะเป็นของฟรีไงล่ะ😄😄😄 แต่ถึงอย่างนั้นเราต้องการแค่วาดไฟล์และพิมพ์ด้วย3D Printerของเราเอง ฟังก์ชั่นฟรีก็เพียงพอแล้วครับ ก่อนที่จะเริ่มใช้งานทั้งหมด ก็อย่าลืมไปเปลี่ยนหน่วยกันด้วยน้าาาา เพราะของเดิมจะเป็นหน่วยแบบimperialครับ(ฟุต/นิ้ว) การวาดไฟล์ด้วยSketchUpนั้นถือว่าง่ายมากๆ เพียงแค่ลากเส้น ใส่ความยาว ก็เรียบร้อย รูปร่างพื้นฐานแบบเรขาคณิตก็มีมาพอสมควร หากวาดจนครบรอบแล้วก็ใช้Extrudeดึงขึ้นและใส่นาดได้เลย
อาการ Cupping บนเครื่องเรซิ่นคืออะไร แก้อย่างไร
อย่างที่ทราบกันดีว่าการพิมพ์งานด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติระบบเรซิ่นจะทำงานด้วยการจุ่มฐานลงไปในน้ำเรซิ่นและทำการฉายแสงเพื่อให้น้ำเรซิ่นแข็งติดกับฐานพิมพ์ จากนั้นก็ยกขึ้นจากน้ำยาและทำแบบเดิมซ้ำๆในชั้นถัดไป ซึ่งระหว่างที่แท่นพิมพ์นั้นยกขึ้นก็ทำให้เกิดแรงตึงอย่างหมาศาลบนแผ่นฟิล์มที่ถาดน้ำยาบางครั้งทำให้งานเสียหายระหว่างที่แท่นพิมพ์ยกขึ้น แรงดึงมหาศาลนี้ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า cupping Cupping blowout หรือ Suction Cups อาการCupping blowout หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า Cupping นั้นเกิดจากตัวงานที่วางอยู่ในลักษณะเหมือนถ้วยคว่ำซึ่งส่งผลทำให้อากาศภายในตัวงานไม่เกิดการไหลเวียนภายในตัวงานมีลักษณะคล้ายสุญญากาศ ส่งผลให้อากาศจากภายนอกพยายามเข้าไปด้านในชิ้นงานและกดตัวงานเอาไว้ทำให้การยกชิ้นงานขึ้นนั้นต้องใช้แรงจำนวนมาก ขณะเดียวกันด้านล่างของถาดน้ำยานั้นคือฟิล์มFEPที่มีความตึงสูงมาก และแน่นอนแรงตึงผิวระหว่างฟิล์มและชิ้นงานนั้นจะสูงมากเช่นกันก็จะส่งผลให้ต้องใช้แรงดึงชิ้นงานเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เครื่องพิมพ์ทุกเครื่องนั้นสามารถยกงานขึ้นมาได้แน่นอน แต่ปัญหาที่ตามมาคือชิ้นงานอาจจะแตกระหว่าที่ดึงงานขึ้นมา อาการcuppingนั้นจะเกิดบ่อยมากกับเครื่องพิมพ์ที่ทำงานแบบTop-down(ฐานพิมพ์อยู่ด้านบนและจุ่มลงไปในถาดน้ำยาดด้านล่าง) และเครื่องราคาเริ่มต้นจนถึงเครื่องระดับกลางนั้นจะใช้ระบบนี้กันเกือบทั้งหมด และยิ่งเครื่องยิ่งใหญ่มากก็จะทำให้ปัญหาCuppingเกิดมากขึ้นไปอีก จริงๆแล้วปัญหาCuppingนั้นเป็นปัญหาประจำตัวของเครื่องพิมพ์เรซิ่นแบบTop-downอยู่แล้วและทุกครั้งที่พิมพ์งานก็จะมีอาการนี้ทุกครั้งเพราะฐานพิมพ์จะจุ่มแนบกับฟิล์มในถาดน้ำยาอยู่แล้วและทำการดึงออกมา ซึ่งแน่นอนว่าเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับแต่เราทำให้ผลกระทบกับตัวงานนั้นน้อยลงได้
3d Printing กับเครื่องมือป้องกันภัยพิบัติ
University Corporation for Atmospheric Research (UCAR) อยู่เบื้องหลังโครงการที่เรียกว่า 3D-PAWS (3D Printed Automatic Weather Station) ซึ่งใช้3D Printing เพื่อออกแบบเครื่องมือและเครื่องมือเพื่อให้สามารถตรวจจับเหตุการณ์สภาพอากาศที่มีผลกระทบสูงได้ก่อนหน้านี้ ทีมงานกำลังนำเสนอความสำเร็จล่าสุดของพวกเขา เซ็นเซอร์อัลตราโซนิกรูปทรงกรวยที่ได้รับการคุ้มครองโดยเปลือกที่พิมพ์ 3 มิติ จะช่วยให้วัดได้ดียิ่งขึ้นไม่เพียงแค่กระแสน้ำและปริมาณหิมะเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคลื่นพายุและความเชื่อมโยง เพื่อปกป้องประชากรในพื้นที่ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดสภาพอากาศเลวร้ายได้ดียิ่งขึ้น 3D-PAWS เปิดตัวเมื่อ
สอนการใช้งาน Flashprint5 Expert mode
การใช้งาน Flashprint5 Expert mode การเข้าใช้งานExpertนั้นง่ายนิดเดียว เพียงแค่กดExpert modeเท่านั้นก็สามารถใช้งานได้ทันที ดาวน์โหลดFlashprint5 เครื่องพิมพ์Flashforge ระบบFDM ทุกรุ่นทั้งเก่าและใหม่สามารถใช้Flashprint5ได้นะ ก่อนปรับExpert mode ต้องรู้จักส่วนประกอบให้Expert หลังจากที่ทำการกดSlice previewแล้วจะมีการจำลองงานที่จะถูกพิมพ์ออกมาดังรูป โดยส่วนประกอบจะดูได้จากแถบสีด้านซ้าย – Infill – โครงสร้างด้านในมีหน้าที่รองรับผิวงานด้านบนไม่ให้ล้มและช่วยให้งานมีความแข็งแรง – Solid infill –
พิมพ์ล้อรถเข็นด้วย3D Printer จากวัสดุ ABS และ Elastic
รถเข็นขนของนั้นจะถูกใช้งานอย่างหนักและต่อเนื่องเพราะต้องขนของน้ำหนักมากๆและยังถูกใช้งานในหลากหลายพื้นที่ ทำให้ล้อของรถเข็นนั้นเกิดการสึกหรอลงตามการใช้งานเรื่อยเพราะล้อที่ใช้กับรถเข็นแบบพับนั้นเป็นล้อแบบโพลียูรีเทน ซึ่งเมื่อเกิดสึกหรือนั้นจะทำให้เจ้าตัวโพลีนั้นหลุดออกมาเรื่อยๆและเหลือเพียงล้อแข็งๆเท่านั้น วิธีการแก้ปัญหาของหลายๆคนคือ ใช้ล้อแบบแข็งๆไปเลยสิจะได้ไม่ต้องเปลี่ยน!!! ข้อดีของล้อแข็งคือทนทานทาน แต่แลกมาด้วยการใช้กับพื้นหลากหลายแบบไม่ได้ เพราะล้อแข็งจะเข็นยากและมาพร้อมกับเสียงที่ดัง พิมพ์เองใช้เอง การพิมพ์ล้อขึ้นมาใช้เองนั้นก็เป้นทางเลือกที่ดี เพราะด้วยการพิมพ์โดยใช้ FDM 3D Printer นั้นรองรับวัสดุการพิมพ์จำนวนมาก ทำให้สามารถเลือกคุณภาพวัสดุที่จะใช้ได้ด้วยตนเอง ใช้วัสดุอะไรดี?? การพิมพ์ในครั้งนี้เราได้ใช้วัสดุสองชนิดคือ ABS Pro และ Elastic(TPU95A) ในการเลือกวัสดุในการพิมพ์นั้นอาจจะเลือกวัสดุที่ดีขึ้นหากเครื่องของท่านสามารถพิมพ์ได้หลากหลาย เช่น ในส่วนของยางนั้นสามารถใช้วัสดุได้หลากหลายเนื่องจากวัสดุชนิดFlexibleนั้นมีให้เลือกหลายหลายความแข็ง(ที่นิยมมากๆจะเป็น85Aและ95A)
มือจับช่วยแรป ช่วยให้ปลอดภัยทำงานราบรื่นจาก3D Printing
วันนี้เรามีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเล็กๆน้อยๆที่จะมาช่วยสายแรปห่อของใหญ่ๆกันครับ ปกติแล้วเจ้าชิ้นนี้จะมาด้วยกันกับม้วนเวลาเราซื้อม้วนแรปมา แต่แน่นอนว่าหายบ่อยมาก ความสำคัญของวงกลมๆนี้คือ เมื่อเราทำการแรปงานใหญ่ๆจะเจ็บมือมากๆเวลาที่ม้วนมันกลิ้งไปกลิ้งมา สามารถไปDownloadกันได้ที่ >>https://www.thingiverse.com/thing:5257431/files วิธีใช้นั้นก็ไม่ยากเลย เพียงแค่ปริ้นมาแล้วก็นำมาเสียบกับม้วนแรปได้เลย ขั้นแรกเราจะทำการออกแบบชิ้นงานออกมาก่อน โดยทางแอดมินจะใช้ Solid edge ในการออกแบบชิ้นงาน เมื่อได้ไฟล์STLมาแล้วเราจะทำการImportเข้าสู้โปรแกรมFlashprint โดยวันนี้เราจะใช้เครื่องFlashforge Adventurer3ในการพิมพ์ชิ้นงาน และเราจะพิมพ์ด้วยPLA Matte จะให้ผิวงานที่เนียนสวยเอามากๆเลย หลังจากได้ชิ้นงานมาแล้วก็นำมาใช้ได้ทันที งานชิ้นนี้เหมาะกับการพิมพ์ไว้หลายๆอันเพราะหายบ่อยแน่นอน5555555 เป็นคอนเทนต์เล็กน้อยๆที่จะมาแนะนำสำหรับคนที่เครื่องเริ่มไม่ค่อยได้ใช้งานแล้วอยากปริ้นอะไรซักอย่างนึงขึ้นมาเพื่อไม่ให้เครื่องว่าง อิอิ
นำไฟล์ 3D Scanner มาลองพิมพ์งานจริง โดยไม่ผ่านโปรแกรมใดๆ
เมื่อโลกVisualกำลังมาแรงตามกระแสMetaverse จึงเริ่มมีการทำสำเนาวัตถุในโลกจริงเข้าสู่โลกเสมือนกันมากขึ้นด้วยเครื่องมือสมัยใหม่มากมาย หนึ่งในนั้นคือการใช้งาน3D Scanner จุดเด่นของเครื่อง3D scannerก็คือ ใช้ง่าย มีความแม่นยำสูง ขนาดงานที่ได้ก็จะเป็น1:1 ทำให้สามารถนำไปใช้ในโลกเสมือนได้อย่าง่ายดาย อีกทั้งยังสามาถมาใช้งานกับ3D printerได้อีกด้วย วันนี้เราได้ลองทำการสแกนขนมครัวซองค์ด้วยการใช้เครื่อง Shining3D TranscanC เมื่อสแกนเสร็จแล้วก็นำไฟล์ที่ได้นั้นมาพิมพ์3มิติด้วย Flashforge Creator pro2 ขั้นแรกเราก็นำขนมไปวางไว้บนถาดหมุนเครื่องสแกนได้เลย จากนั้นก็ทำการปล่อยสแกนพร้อมกับโต๊ะหมุนโดยใช้โหมดWith turntableให้ก็ปล่อยให้เครื่องทำงานไปเรื่อยๆได้เลย ง่ายมาก!!!!!!!!!!! ถ้าเกิดว่าต้องการสแกนทั้งสองด้านก็พลิกอีกด้านสแกนได้เลย หลังจากสแกนเรียบร้อยแล้วก็จะได้งานตามภาพด้านล่างนี้เลย
ทำเครื่องดนตรีเล่นเองง่ายๆที่บ้านด้วย3D Printing
หลายๆท่านที่มีเครื่องพิมพ์สามมิติอยู่ที่บ้านแต่ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ใช้ วันนี้เราจึงขอเสนอเครื่องดนตรีที่สามารถพิมพ์ได้ง่ายๆและใช้ได้จริงโดยเครื่องดนตรีที่เราเลือกวันนี้จะเป็นขลุ่ย อุปกรณ์ที่เลือกใช้วันนี้คือ เครื่องพิมพ์สามมิติ Flashforge Creator pro2 และใช้เส้นPLA Marble พิมพ์ออกมาแล้วจะดูเหมือนงานหินอ่อนเลยทีเดียว ซึ่งขลุ่ยอันนี้จะมีทั้งหมด4ชิ้นอยู่ในทรงสูงจะทำให้ใช้พื้นที่การพิมพ์ไม่มากทพให้ไม่ว่าเครื่องจะเล็กหรือใหญ่ก็พิมพ์ได้ในครั้งเดียว ไฟล์ขลุ่ยที่เราใช้สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ >> Click ขั้นแรกก็โยนไฟล์ที่เราอยากพิมพ์เข้ามา จากนั้นก็ทำให้ใส่ซัพพอร์ต จากนั้นก็สั่งพิมพ์ได้เลยโดยวัสดุที่ใช้เป็นPLAและไม่ต้องตั้งค่าอะไรเพิ่มเติม เมื่อเสร็จแล้วก็แกะมาประกอบได้เลย การประกอบจะเรียงตามรูปด้านล่างและสวมเข้าไปได้เลย หากใส่ยากให้เอากระดาษทรายถูๆที่บริเวณข้อต่อเล็กน้อยเพื่อให้สวมง่ายขึ้น เรียงชิ้นงานตามรูปนี้จากนั้นก็ทำการประได้เลย โดยให้รู้เรียงกันทุกอัน เริ่มอันไหนก่อนก็ได้ เมื่อเสร็จแล้วก็ทดลองเป่าได้เลย
ทำความรู้จักPolycarbonate(PC) วัสดุเกรดอุตสาหกรรมที่กำลังมาแรง
โพลีคาร์บอเนตรู้จักกันดีในชื่อย่อ PC เป็นวัสดุที่มีชื่อเสียงในวงการการพิมพ์ 3 มิติในด้านความทนทานต่อแรงกระแทกและมีความโปร่งใส เป็นเทอร์โมพลาสติกน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานระดับมืออาชีพที่หลากหลาย แต่การพิมพ์นั้นไม่ง่ายเหมือนกันPLA หรือ PETG เนื่องจากต้องใช้อุณหภูมิการหลอมเหลวที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามการพิมพ์ด้วยโพลีคาร์บอเนตช่วยให้สามารถผลิตชิ้นส่วนที่ซับซ้อนและทนความร้อนได้ด้วยการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติระบบ FDM ในแวดวงอุตสาหกรรมนั้นมีการใช้PCในการผลิตสิ่งต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นการทำแว่นตา หมวกกันน็อก หรือแม้กระทั่งกระจกกันกระสุนพราะด้วย PCมีมูลค่าสูงจากอุตสาหกรรมการผลิตสารเติมแต่งในด้านความแข็งแกร่งและความโปร่งใส มีความหนาแน่นต่ำกว่ากระจกมาก ทำให้น่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับการออกแบบชิ้นส่วนออปติก ฉากป้องกัน หรือวัตถุตกแต่ง เส้นใยโพลีคาร์บอเนตสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ตั้งแต่ -150°C ถึง 140°C
การใช้การพิมพ์ 3 มิติเพื่อผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ทนความร้อนสำหรับมอเตอร์ไซค์
Andrea Pirazzini ผู้ก่อตั้ง Help3D ใช้เครื่องพิมพ์ Formlabs 3D เพื่อสร้างท่อร่วมไอดีสำหรับพิทไบค์ที่เขาขี่ในการแข่งขันชิงแชมป์ 12 Pollici Italian Cup เมื่อทีมของเขาปรับแต่งรถมอเตอร์ไซค์ พวกเขาพยายามให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้ได้เอาท์พุตกำลังเชิงเส้น Pirazzini ใช้การวิเคราะห์ของไหล-ไดนามิกกับการออกแบบการบิดท่อร่วมที่เป็นไปได้เพื่อจำกัดแรงม้าโดยไม่ต้องใช้หน้าแปลนลด ซึ่งอาจทำให้แรงดันตกคร่อมเฉพาะที่ Pirazzini หันมาใช้การพิมพ์ 3 มิติ เนื่องจากทำให้เขาสามารถพิมพ์ชิ้นส่วนเดียวกันได้หลายเวอร์ชันด้วยต้นทุนที่ต่ำ ทดสอบการออกแบบในวันถัดไป และได้เปรียบในสนามแข่ง Elia
แปลงรถบ้านให้เป็นรถพยาบาลด้วยEinscanHX
System Strobel เป็นผู้ผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่เชี่ยวชาญด้านรถพยาบาล การขนส่งผู้ป่วย และยานพาหนะฉุกเฉิน ผลิตภัณฑ์หลักของพวกเขาคือโครงสร้างตัวถังแบบดั้งเดิม รถตู้ดัดแปลงและรถเก๋ง แต่ยังรวมถึงยานพาหนะเอนกประสงค์อื่นๆ ด้วย ยานพาหนะทุกคัน ยกเว้นเครื่องยนต์และระบบส่งกำลัง รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ได้รับการออกแบบและผลิตขึ้นเองด้วยมือ System Strobel กำลังส่งออกผลิตภัณฑ์ทั่วโลกไปยังหน่วยแพทย์ หน่วยงานบรรเทาทุกข์ หน่วยดับเพลิงและตำรวจ ส่วนหนึ่งของ DNA ของบริษัทคือการพึ่งพางานฝีมือแบบดั้งเดิมในเกือบทุกขั้นตอนการผลิต แต่การยึดมั่นในต้นกำเนิด นวัตกรรม และระบบดิจิทัลเป็นปัจจัยสำคัญของวิวัฒนาการ ดังนั้น เมื่อเร็วๆ
พิมพ์ครีบฉลามติดรถง่ายๆด้วย3D Scanner
วันนี้เรานำเคสการสแกนอย่างง่ายที่สแกนเสร็จแล้วพิมพ์ด้วย3D Printerได้ทันทีมาให้ชมกัน ตัวอย่างสำหรับวันนี้คือ เสาครีบฉลามของรถToyotaและอุปกรณ์ที่เราจะใช้กันก็คือ Einscan ProHD + industrial pack 3D Scanner คุณภาพสูงมาพร้อมกับอุปกรณ์เสริมเพื่อให้สแกนงานขนาดลเ็กได้ง่ายขึ้น ก่อนอื่นเราก็นำครีบฉลามต้นแบบนำมาสแกน โดยก่อนสแกนนั้นจะต้องทำการพ่นสเปรย์แป้งก่อนเนื่องจากชิ้นส่วนบนรถมีความเงาทำให้การสแกนยากจึงต้องพ่นเพื่อลดความเงาลง(สเปรย์แป้งไม่อันตรายต่อสีรถนะจ๊ะ) การสแกนครั้งนี้จำเป็นต้องใช้ชุดIndustrial packเพื่อใช้ประโยชน์จากTurntableเพื่อประหยัดMarker เครื่องก็จะหมุนงานไปเรื่อยๆจนครบรอบตัวงานจากนั้นก็จะได้ตัวงานที่เกือบสมบูรณ์แล้ว เมื่อทำการปิดผิวจนครบแล้วก็ทำการExport Fileออกมาเพื่อทำการพิมพ์ โดยวัสดุที่เราจะใช้เป็นวัสดุABS ด้วยเครื่องFlashforge Creator Pro2 เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วก็แกะออกมาเพื่อลองก่อนใช้งาน ถ้าหากพร้อมก็ติดกับรถได้เลย
ลิ้นชักเก็บของจากม้วนพลาสติกที่เหลือใช้
หลังจากใช้เส้นพลาสติกจนหมดม้วนแล้วก็จะเหลือเพียงแกนม้วนเปล่าๆ ซึ่งแน่นอนว่ามันรีไซเคิลได้เหมือนๆกับพลาสติกชนิดอื่นๆ แต่มีผู้ใช้หลายท่านที่กำลังมองหาไอเดียในการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้จากแกนม้วนเปล่าเหล่านี้โดยที่ไม่ใช่การทิ้ง วันนี้เราจึงมาแนะนำและแจกไฟล์สำหรับลูกค้าPrint3DDที่กำลังมองหาไอเดียใหม่ๆ เราจึงเสนอการทำลิ้นชักเก็บของโดยใช้ม้วนพลาสติกเปล่าเป็นหลัก โดยสิ่งของและอุปกรณ์มีดังนี้ 1.แกนม้วนพลาสติกที่หมดแล้ว 2.กระดาษทรายหรือตะไบก็ได้ 3.กาวร้อน 4.ลิ้นชัก(3D Print) 5.กลอน(3D Print) 6.แกนลิ้นชัก(3D Print) สามารถดูขั้นตอนการประกอบอย่างละเอียดได้จากวิดีโอด้านล่างนี้ได้เลย 1.พิมพ์ชิ้นส่วนทั้งหมดดังนี้ ลิ้นชัก12ชิ้น กลอน24ชิ้น แกน4ชิ้น(ซ้าย2 ขวา2) 2.เมื่อได้ชิ้นส่วนมาแล้วก็ทำการประกอบเข้าด้วยกัน โดยนำแกนลิ้นชักลองใส่เข้าไปก่อนสองชิ้นดังรูป จากนั้นลองใส่ลิ้นชัก1ชิ้นเพื่อเทียบดูว่าพอดีกับแกนหรือไม่(ลิ้นชักจะไหลลื่นไปกับแกนพลาสติก)จากนั้นติดกาวแกนลิ้นชักดังรูป ก่อนนำมาติดกาวแนะนำให้นำแกนลิ้นชกมาขัดก่อนเพื่อให้กาวติดแน่นขึ้น
นักวิจัยใช้ขยะพลาสติกสรา้งเครื่องมือให้เกษตกรในทวีปแอฟริกาด้วย 3D Printing
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยLouhboroughของสหราชอาณาจักรได้จัดการเปลี่ยนขยะพลาสติกที่เก็บรวบรวมในทวีปแอฟริกาให้เป็นเครื่องมือทางการเกษตรราคาประหยัดสำหรับเกษตรกรในท้องถิ่นที่นั่น การทำงานเป็นส่วนหนึ่งของ ‘Circular Plastics Project’ ทีมงานได้รีไซเคิลขวดที่ทิ้งแล้วให้เป็นเส้นฟิลาเมนต์ ก่อนที่จะพิมพ์ 3 มิติลงในอุปกรณ์ทำฟาร์มแบบวงกลม 6 ชิ้นด้วยเครื่องระบบFDM 3D Printer นักออกแบบของพวกเขากล่าวว่าเครื่องมือเหล่านี้ ซึ่งมีตั้งแต่การเก็บผลไม้ไปจนถึงระบบการเลี้ยงปลา สามารถช่วยประเทศกำลังพัฒนาไม่เพียงแต่ส่งเสริมเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการสะสมของขยะพลาสติกในท้องถิ่นอีกด้วย การทำงานเป็นส่วนหนึ่งของ ‘Circular Plastics Project’ ทีมงานได้รีไซเคิลขวดที่ทิ้งแล้วให้เป็นเส้นฟิลาเมนต์ ก่อนการพิมพ์ 3 มิติลงในอุปกรณ์ทำฟาร์มแบบวงกลม