How to พิมพ์ABS อย่างไรให้ปัง

How to พิมพ์ABS อย่างไรให้ปัง

ABS หรือชื่อเต็มคือ Acrylonitrile butadiene styrene เป็นหนึ่งในพลาสติกที่นิยมกันในหมู่ผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติระบบFDM จำนวนไม่น้อย เพราะด้วยคุณสมบัติของตัวเส้นที่มีคุณสมบัติเชิงกลที่ดีเยี่ยม มีความต้านทานต่ออุณหภูมิที่สูงกและการจัดการกระบวนการเก็บงานหลังจากพิมพ์นั้นทำได้ง่าย
เมื่อเปรียบเทียบกับพลาสติกพื้นฐานอย่างPLA และ PETG ซึ่งABS จะอยู่ตรงกลางระหว่างนี้ ถึงแม้ว่าPLAนั้นจะพิมพ์ได้ง่ายกว่าแต่ในส่วนของการเก็บงานนั้นABS จะทำได้ดีกว่า PETG แต่PETGเองนั้นมีข้อดีคือระหว่างพิมพ์นั้นแทบจะไม่มีกลิ่นเล้ดลอดออกมาเลยและไม่ค่อยมีการโก่งตัวเหมือนกับABS

แต่ถึงอย่างนั้นABSก็ยังคงเป็นที่นิยมเพราะด้วยราคาที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับพลาสติกเกรดอุตสาหกรรมชนิดอื่นๆ และยังสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายมากกว่า นั่นจึงทำให้การที่จะสร้างงานต้นแบบ(Prototype)นั้น ABS ก็ถือเป็นตัวเลือกระดับต้นๆเลยทีเดียว

ทำอย่างไรให้งาน ABS นั้นพิมพ์ได้สมบูรณ์

เลือกเครื่องพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นตู้ปิด


ABS นั้นเป็นพลาสติกที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างพิมพ์มากกว่าวัสดุอื่นๆในขณะที่พิมพ์ด้วยเครื่องระบบเปิด ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหางานโก่ง ไม่ตืดฐาน หรือบิดเบี้ยวเนื่องจากการหดตัวตามมา การใช้งานเครื่องพิมพ์ระบบปิดนั้นจะช่วยในการควบคุมอุณหภูมิบริเวณรอบๆการพิมพ์งานนั้นเปลี่ยนแปลงน้อยมากๆและยังป้องกันลมที่พัดไปมาระหว่างที่ทำการพิมพื ซึ่งส่งผลเสียต่อผิวงานโดยตรง และยังช่วยในการป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่มาจากABSระหว่างพิมพ์เพราะกลิ่นจากพลาสติกนี้นั้นมีสารพิษและเป็นอัตรายต่อผู้สูดดม
-เลือกเครื่องพิมพ์ที่มีการปิดรอบด้าน
-เครื่องพิมพ์ที่มีระบบกรองอากาศภายในห้องพิมพ์

ตั้งอุณหภูมิให้ถูกต้อง


ABS ในตลาดที่มีขายอยู่ตอนนี้นั้นมีหลากหลายยี่ห้อทำให้คุณสมบัติแตกต่างกันเล็กน้อยซี่งรวมถึงอุณหภูมิด้วย โดยเฉลี่ยแล้วอุณหภูมิที่ใช้ในการพิมพ์ของพลาสติกชนิดนี้จะอยู่ที่ 220-250 Cº แต่อุณหภูมิเริ่มต้นที่ดีก็จะแนะนำอยู่ที่ 230 Cº
นอกจากหัวฉีดจะต้องทำความร้อนสูงแล้ว ฐานพิมพ์ก็จะต้องทำความร้อนสูงได้เช่นกันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหางานโก่งหรือการหดตัวเกิดขึ้นและเพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิของตัวชิ้นงานให้มีการเย็นตัวลงอย่างช้าๆ โดยอุณหภูมิของฐานพิมพืที่แนะนำจะอยู่ที่ 90-110Cº

พิมพ์ช้าซักหน่อยเอาชัวร์ไว้ก่อน


เพื่อให้ได้การเชื่อมต่อระหว่างเลเยอร์ที่สมบูรณ์แบบจำเป็นจะต้องใช้ความเร็วที่ช้าลงซักหน่อยเพื่อเป็นการเพิ่มเวลาการเย็นตัวของพลาสติกที่ถูกฉีดออกมาแล้ว โดยความเร็วที่เหมาะสมนั้นไม่ควรเกิน40mm/s เพื่อให้การยึดเกาะของพลาสติกแต่ละเลเอยณืนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากว่าช่วงแรกของชิ้นงานนั้นสามารถติดแน่นได้อย่างดีแล้วนั้นก็สามารถที่จะเพิ่มความเร็วเป็น50-60mm/sได้

ปิดพัดลมเพื่อลดความเย็น


อย่างที่ได้บอกไว้ก่อนหน้านี้ว่าABSนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาในการเย็นตัวลงพอสมควรเพราะหากเย็นเร็วเกินไปอาจทำให้แต่ละเลเยอร์เชื่อมต่อกันไม่ได้หรืออาจจะทำให้ชิ้นงานเกิดการหดหรือโก่งตัวได้เลยที่ดียว การปิดพัดลมเป่าชิ้นงานจึงเป็นเรื่องที่ควรทำหากทำการพิมพ์พลาสติกชนิดนี้
แต่ต้องบอกก่อนว่าในหัวข้อนี้อาจจะไม่จำเป็นเสมอไป เพาระในเครื่องพิมพ์บาเครื่องนั้นมีการเก็บรักษาความร้อนได้ดีเยี่ยมบวกกับหัวฉีดที่สามารถทำความร้อนได้สูงมาก ในกรณีนี้การปิดพัดลมอาจจะไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่เพราะจะทำให้ความร้อนสะสมบนชิ้นงานมากเกินไปทำให้ชิ้นงานมีลักษณะเหมือนกำลังจะละลาย โดยอาจจะทำการตั้งค่าพัดลมให้ทำความเร็วอยู่ที่30%ของความเร็วพัดลมปกติเพื่อรักษาอัตรการเย็นตัวของพลาสติกให้ต่อเนื่อง

ติดยากนักก็หาตัวช่วยซะเลย


ในslicerของทุกๆเครื่องนั้นก็จะมีฟังก์ชั่น platform adhesion ที่จะทำการพิมพ์ส่วนฐานเพิ่มเติมจากตัวงานเดิมออกมาเป็นพังผืด(Brim) หรืออาาจะพิมพ์เป็นแพเพื่อเป็นบานรองให้กับงานอีกที(Raft) ซึ่งสองฟังกืชั่นนี้นั้นติบโจทย์เป็นอย่างมากในการเพิ่มพื้นที่สัมผัสกับฐานรองพิมพ์
อีกอย่างหนึ่งก็คือเพิ่มความเหนียวให้กับฐานพิมพ์ด้วยกาวแท่งเอนกประสงค์หรือกาวแท่งUHUที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดีครับ เพราะกาวตัวนี้มีจะเปลี่ยนสถานะเป็นฟิล์มหนาเมื่อเปิดความร้อนที่ฐานรองพิมพ์ และเมื่อเย็นตัวลงสามารถก็สามารถเช็ดออกได้ง่ายๆด้วยแอลกออลทั่วไปได้เลย การใช้งานก็เพียงแค่ทาไปบนฐานพิมพ์ในพื้นที่ทที่เราต้องการจะพิมพ์เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว

อีกอย่างนึงที่สามารถช่วยได้ดีเลยแต่ก็ต้องลงทุนซักนิดหน่อย นั่นคือ การแปะแผ่นรองพิมพ์ ซึ่งแผ่นรองพิมพ์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์สามมิตินั้นจะมีคุณสมบัติเพิ่มพื้นที่การสัมผัสของพลาสติกที่ถูกฉีดลงไปทำให้งานติดได้ดีมากๆและยังทนความร้อนอีกด้วย แต่ก็จะมีข้อเสียเล็กน้อยตรงที่มันมีอายุการใช้งานครับ ซึง่จำเป้นต้องเปลี่ยนเรื่อยๆครับ

อบเส้นให้แห้ง


ข้อนี้หลายคนที่ใช้งานABSอาจจะมองข้ามไป เนื่องด้วยประสิทธิภาพการดูดวคามชื้นของABSนั้นต่ำกว่าPLAหลายเท่าตัว แต่นั่นก็ไม่ได้หลายความว่ามันจะไม่ชื้นครับ ความชื้นจะส่งผลต่อคุณภาพชิ้นงานโดยตรงเพราะจะำให้เกิดฟองอากาศระหว่างพิมพ์โดยช่วงที่เกิดฟองอากศนั้นจะไม่สามารถทำให้เลเยอณืใหม่ที่ถูกฉีดลงมาทำการเชื่อมติดกับเลเยอร์ก่อนหน้าได้ซึ่งส่งผลทำให้ชิ้นงานไม่แข็งแรงครับ ข้อแนะนำคือการใช้ถุงซิปสุญญากาศครับเมื่อใช้งานเสร็จแล้วให้ทำการเก็บเส้นใส่ถุงให้เรียบร้อย หรืออาจะเอาไปอบใน Filament Dry Box ก็ได้ครับ

3D Printer ระบบปิด ใช้ง่าย มั่นใจในทุกเส้นที่เลือกใช้