เจาะลึก Function ใหม่ๆ ใน FlashPrint 3.19.0

เจาะลึก Function ใหม่ๆ ใน FlashPrint 3.19.0

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Flashforge ได้อัพเดท FlashPrint เป็นรุ่น 3.19.0 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก โดยได้เพิ่มคำสั่งที่มีความสำคัญในการช่วยให้เครื่องพิมพ์ Flashforge ทุกรุ่นสามารถพิมพ์งานได้ดีขึ้น โดยที่การปรับปรุงทั้งหมดมีรายละเอียดดังนี้

1. เพิ่มความสามารถในการกำหนด layer height หลายๆ ค่าในหนึ่งโมเดลได้โดยอิสระ
2. เพิ่มการพิมพ์ Bridge ช่วยให้จุดที่โมเดลลอยตัวพิมพ์ได้ดีขึ้น
3. เพิ่มตัวเลือกในการระบายความร้อนมากขึ้น ทำให้ทำงานในจุดเล็กๆ ได้โดยไม่เกิดการย้วย
4. สามารถแสดง Thumbnail ของไฟล์ประเภท .fpp, .gx or .svgx ใน Windows
5. เพิ่มฟังก์ชั่นการคำนวนน้ำหนักของวัสดุที่ใช้พิมพ์โมเดลนั้นๆ
6. เพิ่มภาษา อาหรับ และเยอรมัน
7. เพิ่มคำสั่งหมุนไฟล์ประเภท .slc ในแนวแกน Z และ พลิก 180 องศาในแนวแกน X และ Y
8. สนับสนุนการพิมพ์แบบ Ditto ในเครื่อง Creator Pro
9. คำนวณเวลาในการพิมพ์งานของเครื่อง DLP ให้แม่นยำยิ่งขึ้น
10. การปรับปรุง และแก้ไขข้อบกพร่องอื่นๆ

เราจะมาดูคำสั่งเด่นๆ สักสามข้อที่เพิ่มขึ้นมาว่าช่วยอะไรเราได้บ้าง

Variable Layer Height:

จากเดิมที่เราสามารถตั้งค่าความสูงระหว่างชั้นได้เพียงค่าเดียวทั้งโมเดล ทำให้บางครั้งเมื่อต้องการความละเอียดสูงๆ ก็ต้องใช้เวลานานเกินไป หรือถ้าต้องการพิมพ์ให้งานเสร็จเร็ว ก็ต้องแลกด้วยความละเอียดที่น้อยลง แต่คำสั่ง Variable Layer Height จะช่วยให้เรากำหนดให้เครื่องพิมพ์ลดความละเอียดลง หรือเพิ่มความละเอียดให้มากขึ้นในส่วนที่เราต้องการในโมเดลเดียวกันนั้นได้อย่างง่ายดาย

วิธีกำหนดก็ไม่ยาก ก่อนอื่นต้องแน่ใจก่อนว่าเราเปิดใช้งานในโหมด Expert Mode แล้ว โดยคลิกที่เมนู File > Preferences จากนั้นเลือกที่แถบ Print ตรงบรรทัดที่เขียนว่า Printing Window Type ให้เปลี่ยนจาก Basic Mode ให้เป็น Expert Mode แล้วกด OK

Image 1

Image 2

เมื่อเตรียมโมเดลให้พร้อมพิมพ์แล้ว ให้กดปุ่ม [Print] หน้าต่างคำสั่งในการสั่งพิมพ์จะแสดงขึ้นมา จากนั้นให้เปลี่ยน Fixed Layer Height เป็น Variable Layer Height ดังนี้

Image 3

ถึงตรงนี้ปุ่ม [Edit Variable Layer Height] จะสามารถกดได้แล้ว ก่อนอื่นเราต้องตั้งค่า Layer height สูงสุดที่ต้องการก่อน เพราะเมื่อกดปุ่มนี้เราจะไปกำหนด Layer Height โดยคิดเป็น % ของค่าตั้งต้นนี้ พอกดปุ่มแล้วจะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมา เราจะกดปุ่ม [Add/Delete] เพื่อเพิ่มหรือลบตำแหน่งและความสูงของ layer ได้ตามต้องการ จากรูปเรากำหนดให้เมื่อพิมพ์ถึงความสูง 20 ม.ม. ให้เหลือ 85% ของความสูงตั้งต้น

Image 6

Image 8

เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้วโปรแกรมจะแสดงผลให้เห็นบนหน้าจอทันที ถ้าตั้งค่าเรียบร้อยแล้วก็กดปุ่ม Done เพื่อปิดหน้าต่างนี้ เมื่อดู Preview จะเห็นว่า layer ในแต่ละจุดไม่เท่ากันตามที่ตั้งไว้

Image 15

Image 10

เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วจะเป็นแบบนี้

D7K_0815 small

Cooling:

นอกจากการตั้งค่าความสูงของ layer ได้หลายๆ ค่าแล้ว เรายังตั้งค่าการระบายความร้อน (Cooling) ที่ความสูงของโมเดลในตำแหน่งต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนมากเกินไป (overheat) ได้ตามที่ต้องการได้ด้วย วิธีการก็คล้ายๆ กัน โดยเปิดเมนู Print แล้วเลือกแถบ Cooling

ในส่วนแรก Decelerate/Delay for Filament Cooling คือการกำหนดพื้นที่เป็นตารางมิลลิเมตร เมื่อพื้นที่ในการพิมพ์น้อยกว่านี้เครื่องจะลดความเร็วลงเพื่อให้มีเวลาระบายความร้อน หากยังไม่พอเราสามารถกำหนดค่าอีกอันหนึ่งในบรรทัดที่สอง เมื่อพื้นที่พิมพ์น้อยกว่าที่กำหนดนั้น เครื่องจะย้ายหัวพิมพ์ออกจากโมเดล และเรายังกำหนดเวลาที่ให้เครื่องรอนานเท่าไหร่ก่อนจะกลับมาพิมพ์ต่อ

นอกจากนี้เรายังกำหนดให้เครื่องพิมพ์เปลี่ยนค่าอุณหภูมิตามตำแหน่งที่ต้องการ เช่นเมื่อพิมพ์ถึงจุดที่มีพื้นที่เล็กๆ ก็ลดความร้อนลงเพื่อให้งานไม่ย้วย

เมื่อไม่ร้อนเกินไป ก็จะไม่มีการย้วย โมเดลออกมาสวยงามอย่างที่ต้องการ

D7K_0805 small

Bridge:

เป็นคำสั่งสุดท้ายที่เราจะมาดูกัน บางครั้งเมื่อโมเดลมีส่วนที่ลอยกลางอากาศ และมีลักษณะเหมือนสะพาน การสร้าง support มารับก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี แต่หากเราไม่ต้องการสร้าง support ก็จะมีทางเลือกอีกทางหนึ่งคือการใช้คำสั่ง Bridge

โดยเลือกแถบ Others ในเมนูสั่งพิมพ์ จะมีตัวเลือกสามบรรทัดคืิอ เลือกเปิดใช้คำสั่ง Bridge หรือไม่ กำหนดพื้นที่ๆ คำสั่งนี้จะเริ่มทำงาน (ถ้าพื้นที่มากกว่าที่กำหนด) และความเร็วในการพิมพ์ช่วงที่ทำ Bridge

Image 17

การทำ Bridge ช่วยให้ลดการใช้ support ลงได้ แต่ก็อาจจะแลกมาด้วยพื้นผิวข้างใต้อาจจะไม่เรียบบ้าง

20171004_161958

20171004_173807

*************************************