สร้างเครื่องติดตามนกด้วย3D Printer

สร้างเครื่องติดตามนกด้วย3D Printer

บริษัท Anitra System จากรปะเทศสารธารณรัฐเช็าก มีภารกิจในการติดตามการเดินทางของเหล่านกหลกหลายสายพันธ์ุจากทั่วโลกที่ได้เดินทางข้ามถิ่นในแต่ละฤดูกาลหรือการเดินทางในชีวิตประจำวันของนกเหล่านั้นโดยการใช้เครื่องติดตามนก

ทางบริษัทได้เริ่มที่จะทำ Bird tracking หรือเครื่องติดตามนกโดยการใช้ 3D Printer ในระบบFDMในการผลิต

ทำไมต้องใช้3D Printer?
ด้วยความหลากหลายของสายพันธ์ุของนกจึงทำให้แต่ละตัวไม่สามารถใช้เครื่องแบบเดียวกันได้ ทำให้นกแต่ละสายพันธ์ุจะใช้เครื่องขนาดที่แตกต่างกัน ให้นกสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติโดยไม่ถูกเครื่องติดตามทำให้เกะกะจนเกินไป
จากที่ว่ามาเบื้องต้นนั้นทำให้การผลิตนี้จำเป็นต้องใช้เครื่อง3D Printer เพื่อให้สามารถรองรับการพัฒนาชิ้นงานได้อย่างต่อเนื่อง และยังรองรับการพิมพ์งานในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายขนาดอีกทั้งยังทำให้ชิ้นงานที่พิมพ์ออกมามีน้ำหนักเบาด้วย

ในการออกแบบเครื่องติดตามนกนั้นต้องคำนึงถึงรูปทรงที่เมื่อนำไปติดแล้วต้องไม่ขัดขวางการขยับของนกและยังต้องมีรูปทรงที่สามารถกันฝนตกใส่ได้แล้วยังต้องติดแผงโซลาร์เซลล์อีกด้วย จึงทำให้3D printerตอบโจทย์มากเพื่อให้การพัฒนางานต้นแบบเป็ไปได้อย่างราบรื่น และเลือกเป็นระบบFDMนั้นก้เพื่อไม่ให้ต้นทุนการผลิตนั้นสูงมากและยังมีวัสดุที่หลากหลายอีกด้วย

โดยวัสดุที่เลือกใช้นั้นจะเป็น ASA เหตุผลก็คือเครื่องติดตามตัวนี้จะทำการติดบนหลังนกตลอดเวลานั่นหมายความว่าเครื่องติดตามนั้นจะโดนแดดโดนฝนอยุ่ตลอดเวลาจึงต้องใช้วัสดุที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมสูงและน้ำหนักยังเบาอีกด้วย
(ASA คือ ABS ในเวอร์ชั่นปรับปรุงสองตัวนี้เหมือนกันทุกอย่างแต่ASAจะดีขึ้นและราคาสูงกว่า)

เครื่องติดตามนกของAnitraนั้นจะใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ในการชาร์จแบตเตอรี่เพื่อให้การทำงานของเครื่องไม่ติดขัดและใช้งานได้อย่างยาวนาน ตัวเครื่องจะให้ความรู้สึกเหมือนสพายBackpackไปตลอดทางแต่จะมีขนาดเล็กมากนั่นเอง

นี่เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวดีๆจากการใช้งาน3D Printerเพื่อการวิจัยและศึกษาธรรมชาติของนกอย่างจริงจัง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อรวบรวมข้อมูลความเป็นอยู่ของนกแต่ละสายพันธ์ุเอาไว้เพื่อที่จะศึกษาพฤติกรรมของนกทุกๆสายพันธุ์และยังเป็นการป้องกันการรุกล้ำเข้าไปในส่วนของธรรมชาติที่เป็นถิ่นอาศัยและแหล่งอาหารของบรรดานกให้ยังคงอยู่ต่อไป