จีนพัฒนาสะพานด้วย 3D Printer ที่สามารถพับเก็บได้

จีนพัฒนาสะพานด้วย 3D Printer ที่สามารถพับเก็บได้

การพัฒนาของ 3D Printer เป็นไปไกลอย่างมาก และเป็นที่ยอมรับว่า 3D Printer ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต
ในประเทศจีน สะพานพิมพ์ 3 มิติแบบพับเก็บได้แห่งแรกถูกพบในศูนย์กลางอุตสาหกรรมของเขตเป่าซานของเซี่ยงไฮ้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสวนสาธารณะ Wisdom Bay
สะพานนี้มีความยาวมากกว่า 30 ฟุต (9.34 เมตร)โดยแบ่งออกเป็น 9 ส่วน และประกอบด้วยแผงสามเหลี่ยมที่พิมพ์ 3 มิติ 36 แผ่น โดยแต่ละแผงมีการออกแบบของตัวเอง

สพานที่ออกแบบด้านข้างด้วย 3D Printer

สะพานนี้มีชื่อว่า Transformer สะพานนี้มีความยาวอย่างแม่นยำ 30.6 ฟุต (9.34 เมตร) กว้าง 4.9 ฟุต (1.5 เมตร) และสูง 3.6 ฟุต (1.1 เมตร) และหนักประมาณ 1873.93 ปอนด์ (850 กิโลกรัม)
ประกอบด้วยส่วนที่พับเก็บได้ 9 ส่วนซึ่งสามารถควบคุมได้ด้วยปุ่มเดียว แต่เป็นแผงพิมพ์ 3 มิติ 36 แผ่นที่เราจะให้ความสนใจมากที่สุดในบทความนี้ โดยการพิมพ์ จะใช้เครื่องพิมพ์ระบบ FDM ที่เสริม Nylon โดยใช้เครื่อง creatbot 660 Pro
หรือที่พวกเราเรียกกันว่า Fullscale Max 660 Pro เป็นเครื่องที่สามารถรองรับการพิมพ์ที่ใหญ่ และเป็นระดับอุตสาหกรรมได้เลย และเครื่องนี้ยังรองรับวัสดุได้หลายอย่างมากๆเช่น PLA, ABS, Carbon Fiber, PETG, Nylon, PC, etc.

การเก็บหรือม้วนสพานขึ้น

Lu Bin เป็นหัวหน้านักออกแบบของสะพานแห่งนี้ เขาอธิบายว่าแต่ละแผงพิมพ์ 3 มิติด้วยวัสดุที่รีไซเคิลได้ ช่วยการลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของโครงการและการพิมพ์ 3 มิติก็เป็นวิธีที่ดีในการทำเช่นนั้น
นอกจากนี้ยังช่วยสร้างการออกแบบที่ซับซ้อน รูปร่างใหม่และพื้นผิวใหม่ที่คุณสามารถมองเห็นได้ในแต่ละแผง สะพานสามารถรองรับน้ำหนักได้ทั้งหมด 1 ตัน หรือน้ำหนักรวมของผู้ใหญ่ประมาณ 20 คน
ต้องบอกได้เลยว่า คลองโอ่งอ่าง ที่ท่านบอกว่าเป็นผลงานของท่าน ต้องมีแล้วแหละ(อันหลังนักออกแบบไม่ได้กล่าว)


สพานอื่นๆที่สร้างด้วย 3D Printer

สพานที่สร้างด้วย FDM เสริมใยพิเศษ
สะพานที่นำ FDM มาเป็นบล๊อคและใช้ปูนหล่อขึ้นอีกครั้ง
สพานที่พิมพ์ด้วย SLA
ส่วนบ้านเรา คลองโอ่งอ่าง ยังไม่มี