แกะสลักขวดแก้วกัน CO2 Laser Engrave

แกะสลักขวดแก้วกัน CO2 Laser Engrave

บทความนี้เรามาแกะสลักขวดแก้วกัน โดยใช้เครื่อง Laser CO2 Ray6 เลเซอร์แบบซีโอทู นั้นเป็นยิงคลื่นความร้อนออกมาใช้ได้ดีกับวัตถุอโลหะต่างๆ รวมถึงแก้วด้วย ช่วงนี้กระแสกัญชา-กัญชง มาแรงเริ่มมีการอนุญาติ มีลูกค้าหลายเจ้าสนใจทำสินค้าที่เกี่ยวกัญชา-กัญชง Laser Engraving เป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่เพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้ ในที่นี่เรามาแกะสลักขวดแก้วที่บรรจุสมุนไพรดังกล่าวกัน

  1. เริ่มต้นเลือกขวดแก้วครับ ถ้าขวดแก้วมีหน้าที่เป็นระนาบเรียบอยู่แล้ว ก็ทำได้เลย / ถ้าขวดเป็นรูปร่างทรงกระบอกอันนี้ใช้ Rotary เข้าช่วยครับ (ในบทความนี้ ใช้ขวดที่มีด้านเรียบด้านหนึ่งครับ)
  2. เลือกไฟล์ที่เราต้องการใช้ การแกะสลักแก้วไม่ควรเลือกลายที่ความซับซ้อนมากนัก

    เลือกโลโก้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนมากนัก
  3. แนะนำแปลงไฟล์รูป เป็น Vector สามารถทำได้ทั้งใน RD Work V8 และ Illustrator (ทำใน Illustrator ง่ายกว่าเห็นๆ ใช้คำสั่ง Image Trace จ้า)

    ทำรูปมาทำเป็น Vector ด้วย Image Trace ใน Illustrator
  4. Save ไฟล์เป็น .ai ได้เลยครับ แต่เน้นว่าต้องเป็น Version CS3 หรือต่ำกว่า เพื่อให้สามารถเปิดได้ใน RD Works.

    อย่าลืม Save Files เป็น CS3 นะครับ
  5. ใน RD Work V8 แบ่งการทำงานเป็น 2 Layer  Layer1 เป็นการ Scan แกะสลักที่ละแถว ปิดท้ายด้วย / Layer2 เป็น Cut วาดเลเซอร์เป็นขอบ Outline เพื่อให้ได้รูปที่คมชัดมากขึ้น

    ทำงานเป็น 2 Layer อันแรกเป็น Scan คือแกะสลักที่ละแถว และ Cut วาดเลเซอร์ตาม outline
  6. ทำการ Simulate ว่าทำงานตามแบบที่เราต้องการจริงๆหรือไม่

    Simulate การทำงานว่าลำดับตามที่เราต้องการหรือไม่ ถ้ามั่นใจแล้วค่อยไปยิงเลเซอร์
  7. เอาไฟล์ที่ Export ออกมา .rd ไปใช้  ในบทความนี้จะเซฟใช้ USB Drive ไปพิมพ์
  8. วางขวดแก้วดีๆ มั่นใจว่าได้ระนาบ คำสั่งหนึ่งก่อนพิมพ์ที่แนะนำให้ทำทุกครั้งคือ Frame (เครื่องจะทำการวาดพื้นที่ที่จะทำงานจริงๆ โดยยังไม่ยิงแสงเลเซอร์ออกมา ช่วยให้เรากะตำแหน่งได้แม่นยำมากขึ้น)
    เชคก่อนพิมพ์ หน้าจอ Ray6, 9, 13 มีพรีวิวให้เห็นและปรับที่หน้าจอได้เลย

    ตั้งหน้าตั้งตารออย่างตื่นเต้น

ข้อสังเกตุ : การแกะสลักกระจก ให้ระวังเรื่องความร้อนด้วยครับ ถ้าร้อนมากกระจกแตกได้ ในบทความนี้ใช้กำลัง 18% ที่ความเร็ว 100mm/s