Slam100 VS Eagle LiDAR เปรียบเทียบแบบหมัดต่อหมัด!

Slam100 VS Eagle LiDAR เปรียบเทียบแบบหมัดต่อหมัด!

ระบบ LiDAR (Light Detection and Ranging) คือเทคโนโลยีที่ใช้เลเซอร์ในการวัดระยะทางเพื่อสร้างแบบจำลอง 3 มิติของพื้นที่หรือวัตถุ โดยเริ่มพัฒนาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ในด้านการทหารและการบิน ต่อมาพัฒนาร่วมกับระบบ GPS และ IMU ทำให้มีความแม่นยำสูงขึ้น ปัจจุบัน LiDAR ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในหลายสาขา เช่น การสำรวจภูมิประเทศ การวางผังเมือง การเกษตร และระบบรถยนต์ไร้คนขับ เทคโนโลยีมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบติดตั้งบนอากาศ บนพื้นดิน และในรถยนต์ โดยมุ่งเน้นให้มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง และทำงานได้แบบเรียลไทม์ เพื่อรองรับการใช้งานในอนาคตที่หลากหลายยิ่งขึ้น ระบบ LiDAR ทำงานได้ ดีมากในหลายด้าน โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นที่ใช้ในการตรวจจับและวัดระยะ เช่น กล้องหรือเรดาร์ ข้อดีของ LiDAR คือความแม่นยำสูง ความละเอียดของข้อมูลมาก และสามารถทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

55555555555   

ซึ่งหากมองกันในทุกวันนี้นั้นตลาดของกลุ่มเทคโนโลยี LIdar นั้นถือว่ากระจายออกไปได้ทุกๆ อุตสาหกรรมเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นหอุตสาหกรรมรถยนต์ที่หลายคนคงจะทราบว่าสามารถช่วยในการขับขี่บนท้องถนนได้ดีพอๆ กันกับการที่ใช้คนบังคับรถยนต์เลยทีเดียว (อ่านเพิ่มเติม) และนอกจากเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น สิ่งที่ตามมาคือต้นทุนที่ถูกลงอย่างเห็นได้ชัด อาจจะเป็นเพราะว่าตัดบางส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปก็เป็นได้ ซึ่งวันนี้ทีมงาน Print3DD จะพามาเปรียบเทียบอุปกรณ์สำรวจระบบ Lidar Scanner กันอย่างเจาะลึกว่าหลักจากที่รุ่นใหญ่อย่าง Slam100 ทำตลาดมา 2-3 ปีแล้ว กับรุ่นน้องอย่าง Eagle Scanner น้องเล็กที่พึ่งเปิดตัวแต่กลับสร้างความฮือฮาไปทั่วนั้นจะมีข้อดีข้อด้อยต่างกันอย่างไร

ตารางเปรียบเทียบ Tech Specs

Models/Specs Slam 100 Lidar Scanner Eagle LiDAR Scanner
Accuracy
Relative Cccuracy : 2 cm

Absolute Cccuracy : 5 cm

2cm@10m; 3cm@20m; 5cm@40m
Scan Radius 60-120 m 40–70m (measured at >10% or >80% reflectivity)
Scan Range 120-240 m 80–140m
Scan Angle Horizontal 360°, Vertical 270° Horizontal 360°, Vertical 59°
Point Cloud Frequency 320,000 points/second 200,000 points/second
Laser Light Source 905nm
Eye Safety Class 1 Class 1 (IEC60825-1:2014)
HDR Mode Supports 3–5 EV
Color Texture 5 MP x 3 cameras Max Edition:4×48MP fisheye cameras;Standard Edition:1×48MP          fisheye camera
Image Quality Output 2592 x 1944 MP 8K Panoramic Color Output
Data Interface SD Card USB-Type C ×2
Network Support  Wifi Wi-Fi5
Screen non

( control by Smartphone )

3.5″ of screen
Output Formats 3D Color Point Cloud

(.LAS , .E57)

3D Color Point Cloud (PLY); 3D Gaussian Splatting (PLY); 3D Colored Polygonal Model (OBJ); 3D Panoramic Tour Data (OBJ)
Built-in Battery 3,350 mAh x 4 12,000mAh (supports 1 hour of work; external power supply supported)
Dimensions 372 x 163 x 106 mm 115 x 181 x 106 mm
Weight 1.7 kg (with batterry) 1.5 kg
Configuration 8 Cores @ 2.4GHz, 32GB (TF card expansion supported)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขนาด และมิติของตัวเครื่อง

มิติตัวเครื่องมือถือพร้อมใช้งาน

สำหรับมิติตัวเครื่องนั้น ทั้งสองตัวสามารถทำได้ไม่ต่างกันนัก เพราะด้วยรูปแบบการทำงานแบบ Handhel ที่ต้องใช้การถือ และให้ส่วนกล้องนั้นอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังของผู้สแกน ทำให้ต้องมีส่วนที่สามารถถือหรือจับได้อย่างกระชับมือเป็นสำคัญ ซึ่งถ้าถามถึงมิติตัวเครื่องนั้นทาง Slam 100 Lidar Scanner จะอยู่ที่ 372 x 163 x 106 mm และในส่วนของ Eagle LiDAR Scanner จะอยู่ที่ 115 x 181 x 106 mm ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกันอยู่ระดับหนึ่งแต่โดยภาพรวมนั้นทาง Eagle LiDAR Scanner จะได้เปรียบอยู่เล็กน้อยเพราะ Eagle LiDAR Scanner ได้ตัดโมดูลที่เป็นเกลียวหมุนออกไปทำให้การจับถือและการดูแลรักษานั้นง่ายกว่า Slam 100 Lidar Scanner อยู่พอสมควร ถึงขนาดขนาดจะต่างกันไม่มากนักแต่สำหรับน้ำหนักนั้นยังคงใกล้เคียงกัน ซึ่งทั้ง 2 ตัวนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 1.6-1.7 กิโลกรัม

ระยะและความละเอียดในการสแกนพื้นที่

ตัวอย่าง point cloud จาก Slam100
ตัวอย่าง point cloud จาก Eagel scan

ในส่วนของระยะและความละเอียดที่ได้จาการสแกนนั้นต้องพูดกันตามตรงว่า Slam 100 Lidar Scanner จะได้เปรียบในทุกมิติ เพราะว่าการสแกนของ Slam 100 นั้นถือว่าสามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยสามารถสแกนได้ในระยะไกลถึง 120 เมตร และ ความละเอียดของ Point Cloud นั้นอยู่ที่  320,000 จุดต่อวินาที ซึ่งถือว่าละเอียดที่สุดในระดับคุณภาพและราคาเดียวกัน แต่วำหรับ Eagle LiDAR Scanner นั้นถือว่าก็ทำได้ดีในระดับ และราคาที่เปิดตัวออกมา โดยสามารถสแกนได้ในรัศมีถึง 70 เมตร และความละเอียดอยู่ที่ 200,000 จุดต่อวินาที ซึ่งถ้ามองในมุมมองของผู้ใช้งานนั้นทั้ง 2 รุ่นอาจจะถูกแบบออกเป็นคนละวัตถุประสงค์ โดย Slam 100 อาจจะเหมาะกับงานขนาดใหญ่อย่างเช่น สนามกีฬา วัด หรือตึกสูงในเมือง แต่สำหรับ Eagle LiDAR Scanner อาจจะเหมาะกับสถานที่ที่ระบุเจาะจงลงไปเช่น ต้องการสำหรับอ๊อฟฟิตเพื่อการปรับปรุง หรือคอนโดที่ต้องการวัดขนาด และรายละเอียกอื่นๆ เป็นต้น

ระบบการใช้งาน และซอร์ฟแวร์

สำหรับด้านการใช้งานในสถานที่จริงนั้นต้องบอกว่าทั้ง 2 ตัวนั้นถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้ง่าย ไม่ยุ่งยากมากนัก แต่จะมีจุดแตกต่างกันที่การควบคุมอุปกรณ์ที่จะเห็นได้ชุด เพราะใน Slam 100 นั้นจะใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในการควบคุมการใช้งาน โดยที่เรานั้นสามารถต่อสัญญาณ Wifi จากตัวเครื่องและใช้งานผ่านแอพ Slam Go ได้ทันที แต่หากเราต้องการใช้งานในรูปแบบไม่มีโทรศัพท์ก็สามารถใช้งานได้เช่นกันเพียวแค่กดปุ่ม Power ค้างไว้ประมาณ 3-5 วินาทีตัว Slam 100 ก็จะทำการสแกนได้ทันที

แต่สำหรับ Eagle LiDAR Scanner นั้นอาจจะเป็นข้อดีที่เปิดตัวหลัง Slam100 ประมาณ 1 ปี จึงมีเวลานำข้อที่ผู้ใช้งานแนะนำไปปรับปรุงในสินค้าของตัวเอง สิ่งที่เด่นที่สุดก็คือ เราสามารถควบคุมการทำงานผ่านจอ LCD ที่อยู่ด้านหลังเครื่องได้ทันทีและสามารถเริ่มและจบงานได้ในเครื่องเดียวไม่จำเป็นต้องเชื่อมโทรศัพท์มือถือ และเราสามารถตรวจสอบงานได้อย่าง Real time ผ่านอุปกรณ์ได้นั่นเอง

ภาพรวมและความคุ้มค่า

Slam 100 Lidar Scanner ในภาพรวมนั้นถือว่าเป็นอุปกรณ์ Space Capture ที่ประสิทธิภาพสูงเพราะ เนื่องจากสามารถทำงานในสถานที่ใหญ่และกว้างเป็นพิเศษ เช่น สนามกีฬา อาคารหอประชุมขนาดใหญ่ หรือพื้นที่กว้างเช่น สวนผลไม้ ท้องนา หรือป่าไม้ โดยเครื่องนั้นสามารถเก็ยรายละเอียดในช่วงที่สำคัญได้เป็นอย่างดี และมีอัตราการล้มเหลวของงานที่น้อยมาก หรือสามารถการันตีได้เลยว่า เมื่อเรานำเครื่องออกไปสแกนแล้วไม่มีแนวโน้มที่งานจะเสียได้เลย แต่ด้วยตัวเครื่องที่มีราคาค่อนข้างสูง อาจจะทำให้ตัดสินค้ายากสักหน่อย แต่คิดว่าคุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน

Eagle LiDAR Scanner ในส่วยของภาพรวมของเครื่องนี้นั้น ถือว่าสร้างความตกใจได้พอสมควรเพราะด้วยราคาที่เปิดมาไม่ถึง 200,000 บาท ทำให้คู่แข่งในตลาดนั้นตื่นตัวอย่างรวมเร็ว แต่ในราคาที่ถูกลงนั่นก็จะมีบางอย่างที่ถูกตัดออกไปหลายส่วน ทั้งระยะในการสแกน หรือความละเอียดของ Point Cloud ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยจะอยู่ที่ 200,000 จุดต่อวินาทีเท่านั้น ทำให้สเกลการสแกนนั้นแน่นอนต้องแคบลงมา ซึ่งมองว่าประสิทธิภาพประมาณนี้อาจจะเหมาะกับการสแกนในสถานที่ไม่ใหญ่มากนัก เช่น อ๊อฟฟิตที่ต้องการการปรับปรุง การสแกนคอนโดที่ต้องการตกแต่งหรืองานที่เป็นการปรับปรุงหรืองานที่ไม่เหญ่เกิน 50-60 เมตร เท่านั้น แต่หากเทียบกับราคาแล้วถือว่าสามารถบจับต้องได้โดยไม่ยากนัก