3DScanner 3DPrinter 3DSculpting – แสกน ปั้น ปริ้น ครบจบในบทความนี้เลย

3DScanner 3DPrinter 3DSculpting – แสกน ปั้น ปริ้น ครบจบในบทความนี้เลย

เมื่อทีมงานอยากปั้นโมเดลเป็นของตัวเอง ทางเราจึงจัดให้ครับ วันนี้มีบทความที่น่าสนใจมาแชร์ให้เพื่อนๆ เป็นไอเดียกันครับ สำหรับในวงการ 3 มิติ การสร้างโมเดลที่เป็นที่นิยมกันมากใน 2-3 ปีมานี้ เครื่องมือที่จะช่วยให้การทำงานนั้นง่ายขึ้นสำหรับการสร้างโมเดลนั้นเป็นอะไรไม่ได้เลยนนอกจาก 3D Scanner โดยครั้งนี้เราจะใช้กระบวณการหลายขั้นตอนเลย ตั้งแต่ แสกนชิ้นงาน(3D Scanner) ปั้นโมเดล(3D Sculpting) เครื่องพิมพ์ 3 มิติ(3D Printer) กระบวณการหลังจากพิมพ์งาน(After Printing / Polishing) ทั้งหมดนี้จะ แบ่งปันไอเดียให้ชาว 3DD ได้รับชมกันในบทความนี้เลย (สามารถรับชมคลิปวิดิโอทั้งหมดได้ด้านล่างบทความ)

3D Scanner

  • เราจะใช้แสกนเนอร์รุ่น Revopoint MINI 3D Scanner
  • ครั้งนี้จะใช้แสกนเนอร์เพื่อให้ใครโครงสร้างของโมเดลต้นแบบ ส่วนศรีษะ ขึ้นมาก่อน
  • ภายในโปรแกรม Revoscan 5 สามารถ Export เป็นไฟล์ .STL / .OBJ ได้
  • การจัดการพื้นผิวซ้อนทับ เติมรู ปรับผิวเรียบ เพื่อนสามารถใช้เครื่องมือภายในโปรแกรม Revoscan 5 ได้เลย
  • ครั้งนี้เราไม่ต้องการให้ผิวเรียบมาก ไม่ได้ปรับผิวเยอะ เรียกได้ว่าผิวแบบดิบๆ No ปรุงแต่งเพิ่มเติม เพราะจะนำไปแก้ไขในโปรแกรมอื่นครับ
โปรแกรม Revoscan 5 กับ Revopoint MINI 3D Scanner

3D Sculpting

  • เราจะใช้โปรแกรมยอดฮิต Zbrush ในการปั้นครั้งนี้ครับ
  • เราจะนำไฟล์จากการแสกนนามสกุล .STL มาใช้งานต่อ หรือ จะใช้นามสกุล .OBJ ก็ได้ครับ
  • สำหรับฟังก์ชั่นสำคัญในการปั้นเลยคือ Dynamesh เป็นการปั้นเพื่อสร้างมวลกล้ามเนื้อ หรือ ขนาดรูปร่างไปเรื่อยๆ ครับ
  • ไอเดีย รูปทรง รูปร่าง ไม่มีตายตัว สามารถปั่นได้ตามความต้องการเลยครับ
Zbrush – ปั้นโมเดล แก้ไขผิว เตรียมไฟล์ก่อนนำไปพิมพ์ 3 มิติ

3D Printing

  • เราจะใช้เครื่องพิมพ์รุ่น Phrozen Mighty8K ความละเอียดในการพิมพ์ประมาณ 0.1 mm ครับ
  • ใช้น้ำยา FF Resin Standard (HIgh Detail) ใช้น้ำยาประมาณ 400 กรัมครับ
  • โปรแกรมที่ใช้สำหรับพิมพ์คือ Chitubox เป็นโปรแกรม Free Slicer ยอดฮิตสามารถใช้กับเครื่องพิมพ์ได้หลายรุ่นครับ
  • จะแบ่งไฟล์เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนตัวโมเดล กับฐานโมเดล แบ่งการพิมพ์เป็น 2 ครั้ง โดยขนาดความสูงรวมฐานแล้วประมาณ 25 เซนติเมตรครับ
Chitubox – สร้าง Support เตรียมไฟล์ก่อนนำไปพิมพ์
Chitubox – สร้าง Support เตรียมไฟล์ก่อนนำไปพิมพ์
Phrozen MINI 8K – กับ น้ำยา Resin FF Standard Grey
Phrozen MINI 8K – กับ น้ำยา Resin FF Standard Grey

After Printing / Polishing

  • หลังจากที่พิมพ์ชิ้นงานเสร็จแล้ว ส่วนใหญ่จะนำไปล้างกับ IPA Alcohol และอบด้วย UV โดนใช้เครื่อง Phrozen Wash&Cure
  • ขัดผิวโมเดลด้วยกระดาษทรายตั้งแต่เบอร์ 120 / 160 / 320 / 600 / 1000
  • สามารถพ่นสีทับได้ แต่ครั้งนี้เราใช้แค่ แลคเกอร์ก็เพียงพอแล้วครับ
  • เคล็ดลับเพิ่มเติม เพื่อลดโมเดลเป็นรอย และเก็บผิวง่ายที่สุด ควรใช้กระดาษทรายแบบน้ำครับ
สีกระป๋องเอนกประสงค์ กับ สีเคลียร์แบบด้าน เพื่อลดริ้วรอยหลังจากขัดกระดาษทราย
โมเดลที่ปั้น และพิมพ์เสร็จ พร้อมฐานครับ 😀

รับคลิปวิดิโอ Timelaps การทำงานทั้งหมดด้านล่างเลย !