เปรียบเทียบความสวย FDM vs SLA ต่างกันขนาดไหน

เปรียบเทียบความสวย FDM vs SLA ต่างกันขนาดไหน

บทความนี้เรามาเน้นเจาะลึกเปรียบเทียบคุณภาพงาน ความคมชัดจาก 3D Printer 2ระบบ คือ ระบบเส้นพลาสติก FDM และ ระบบน้ำเรซิ่น SLA เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าระบบเรซิ่นนั้นมีความละเอียด สวยกว่า เก็บ Detail ได้ดีกว่า สวยกว่าขนาดไหนเรามาดูกันด้านล่าง แต่เราจะไม่ได้อวยอย่างเดียว จะให้เห็นจุดด้อยของระบบนี้ด้วยเช่นกัน ที่ทิ้งรอย Support เป็นตุ่มเป็นหลุม โอกาสพิมพ์ให้สำเร็จยาก ต้องตั้งชิ้นงานและ Support ให้ดีๆ

ในมิติความสวยต้องยกให้ SLA แต่ระบบนี้ก็มีความยุ่งยาก และข้อด้อยอยู่เหมือนกันด้านการดูแลรักษา , สกปรกเลอะเทอะ, สารเคมี ระบบเรซิ่น SLA จึงไม่ได้เหมาะกับทุกคน หากเป็นมือใหม่หรือใช้งานทั่วๆไปอย่างไงก็แนะนำให้ใช้ระบบ FDM หรือระบบเส้น ดูแลรักษาและใช้ง่ายกว่า เหมาะกับทุกคน ดูจะปลอดภัยกว่า หากต้องการตัดสินในเลือกซื้อระหว่าง FDM และ SLA บทความนี้น่าจะช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น FDM vs SLA 3D Printer เลือกระบบไหนดี เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย (update 2021)

ชิ้นงานที่เอาเปรียบเทียบในบทความนี้ ทั้ง FDM และ SLA หากมองไกลๆก็สวยเหมือนๆกัน

คุณภาพงานพิมพ์

หากเปรียบเทียบคุณภาพงานพิมพ์แล้ว SLA มีความคมชัดกว่ามากทั้งในมิติของแกน XY และ แกน Z เหตุผลมาจากกลไกการสร้างโมเดลที่ต้องกันชัดเจน FDM จะทำการละลายรูปของหัวฉีดไม่สามารถทำให้เล็กมากๆได้โดยมากจะอยู่ที่ประมาณ 0.4mm @XY ลักษณะการตั้งค่าของการพิมพ์ความหนาของแต่ละเลเยอร์ก็เช่นกัน FDM จะนิยมตั้งกันประมาณ 0.15-0.25mm/layer @Z ระบเรซิ่นไม่ติดปัญหาเรื่องขนาดของหัวฉีดจึงสามารถสร้างความละเอียดได้สูง โดยทั่วไปมีขนาด จุดเลเซอร์/Pixel อยู่ที่ 0.05-0.1mm @XY และนิยมพิมพ์กันที่ 0.025-0.1mm/layer @Z

  • FDM ข้อจำกัดขนาดหัวฉีด ทำให้เล็กมากไม่ได้ ไม่งั้นฉีดพลาสติกเหลวไม่ออก
  • FDM มีขนาดหัวฉีด 0.4mm @XY นิยมพิมพ์กันที่ 0.15-0.25mm/layer @Z
  • SLA มีขนาด Pixel ทั่วไปอยู่ที่ 0.05mm @XY นิยมพิมพ์กันที่ 0.05-0.1mm/layer @Z
สองโมเดลพิมพ์จากไฟล์เดียวกันที่ความละเอียดเท่ากันที่ 0.05mm ด้านซ้ายพิมพ์ด้วยเครื่องระบบเส้นพลาสติก FDM จะเห็นชั้นของเลเยอร์ค่อนข้างชัดเจน เมื่อ Zoom เข้าจะเห็นเส้นพลาสติกย้อยหลายๆจุด ส่วนของ SLA มองดีๆจะเห็นชั้นของเลเยอร์เหมือนกันแต่ดูเชื่อมกันเป็นเนื้อเดียวมากกว่า และเห็นเป็นชั้นๆน้อยกว่า
รูปนี้จะเห็นได้ชัดเจน การเก็บรายละเอียดและเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน ระบบ SLA ทำได้ดีกว่า
ซ้ายมีด้วยระบบ FDM ที่ความละเอียด 0.1mm/layer ด้านขวาพิมพ์ด้วยระบบเรซิ่น SLA 0.05mm/layer ถึงแม้ว่าพิมพ์ระบบเส้นที่ความละเอียดหยาบกว่า เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีนัก แต่จะเห็นว่าการเก็บรายละเอียดต่างกันอย่างมาก
ตัวอย่างนี้ทั้งสองพิมพ์ด้วยความละเอียดเท่ากันที่ 0.1mm/layer แต่จะสังเกตุเห็นว่าด้านซ้าย FDM จะเห็นเลเยอร์ขึ้นอย่ากชัดเจน ส่วนหากเป็นระบบ SLA งานจะดูกลืนกันมากเห็นเป็นเลเยอร์เช่นกันแต่ดูน้อยกว่า

โครงสร้าง และ Support

เนื่องจากทั้งสองระบบมีการทำงานที่แตกต่างกัน โครงสร้างของโมเดลและการตั้งค่าจึงแตกต่างกัน มีข้อจำกัดตามกัน ซึ่งส่งผลกับคุณภาพของงานต่างกัน เช่น FDM แกะ Support ออกมาจะเป็นขุ่ยๆ ส่วน SLA แกะ Support ออกมาจะเป็นตุ่มๆ

  • FDM Support จะมีลักษณะเป็นแท่งแผงพลาสติกทรงเหลี่ยม, โครงสร้างภายในสามารถเลือกได้เป็นแบบ รังผึ้ง หรือ อื่นๆได้มากมาย — แข็งแรงตกไม่แตก
  • SLA Support จะมีลักษณะเป็นเป็นเส้นถักกันคล้ายต้นไม้ หรือ รั่ว, โครงสร้างภายในมักเจาะให้กลวงและเจาะรูหลายรูให้น้ำไหลออก — สวยแต่ไม่แข็งแรง ตกแล้วแตก
FDM ระบบเส้น โครงสร้างภายในมีหลายแบบ ตย.นี้เป็นรังผึ้ง Support มีลักษณะเป็นแท่งตรง
SLA นิยมทำให้กลวง และเจาะ โครงสร้างภายในเป็น Support โมเดลที่ได้มีความเปราะบาง
โครงสร้างภายในของ FDM จะเป็นโครงสร้าง ในรูปเป็นโครงสร้าง Hexagon
SLA นิยมทำให้ชิ้นงานกลวง เพื่อประหยัดเรซิ่น และลดแรงดึงชิ้นงาน โครงสร้างภายในจึงเป็น Support แบบเดียวกับภายนอก โดยหลักการแล้ว SLA กลวงแบบนี้เปราะตกแล้วแตก ไม่เหมือน FDM
ชิ้นงานเมื่อแกะ Support ออกแล้ว FDM จะทิ้งร่องรอยเป็นขุ่ยๆ สากๆ ส่วน SLA จะทิ้งรอย Support เป็นตุ่มๆหลุมๆ และมีรูที่เราเจาะให้เรซิ่นออก

Note : สำหรับเทคนิคการตั้งค่า SLA ผ่าน ChituBox มีขั้นตอน 7 ขั้นง่ายๆดังนี้

การเสียรูป

ทั่งสองระบบหากตัวชิ้นงาน หรือ วาง Support ไม่ดีอาจทำให้ชิ้นงานเสียรูปได้ทั้งคู่ แต่ระดับความยากในการ Set และพิมพ์ให้สำเร็จระบบ SLA มีความยากและการ Setting ที่ลึกอยู่กว่า (ความคิดเห็นส่วนตัว)

SLA ยิ่งร่องรอยตุ่ม หลุม ดูไม่สวยเลย เราต้องเลี่ยงให้มากที่สุดโดยต้องเลือกด้านที่ติดกับ Support เป็นด้านที่ต้องทำใจกับรอย Support ที่ไม่สวย
SLA วาง Support ไม่ดี ชิ้นงานเมื่อพิมพ์ออกมาโก่งตัว ผิดรูปได้ ต้องวาง Support เยอะไม่ให้โก่ง แต่หากวาง Support เยอะก็จะทิ้งรอยไว้อีก เป็นสิ่งที่ต้องชั่งใจดู
FDM จะเห็นรอยสานกันขอเส้นพลาสติกชัดเจน บางส่วนของชิ้นงานผิดรูป ขึ้นมาไม่คม SLA ขึ้นงานคมก็จริงแต่อาจเจอชั้นเลเยอร์จากแรงตึงในการพิมพ์บ้าง

พิมพ์ 3 มิติระบบเส้น ขนาดเล็ก (Small)
เครื่องพิมพ์ 3มิติ สำหรับนักเรียน ใช้ในโรงเรียน STEM, งานอดิเรก, เครื่องสำเร็จใช้งานง่ายๆไม่ยุ่งยาก

พิมพ์ 3 มิติระบบเส้น ขนาดกลาง (Medium)
เครื่องพิมพ์ 3มิติ สำหรับใช้ในบริษัท มหาวิทยาลัย หวังผลได้ เครื่องมีความสเถียร แข็งแรง คุณภาพสูง แผนก R&D


พิมพ์ 3 มิติระบบเรซิ่น LCD / MSLA ราคาเอื้อมถึง
เครื่องพิมพ์ 3มิติ ความละเอียดสูง ขึ้นรูปด้วยเลเซอร์ มีวัสดุรองรับมากมาย

พิมพ์ 3 มิติระบบเรซิ่น SLA Prosumer – รองรับเรซิ่น วิศวกรรม, การแพทย์ กว่า 40ชนิด
เครื่องพิมพ์ 3มิติ ความละเอียดสูง ขึ้นรูปด้วยเลเซอร์ มีวัสดุรองรับมากมาย