การเริ่มต้นใช้งานเครื่อง Ray x

การเริ่มต้นใช้งานเครื่อง Ray x

มาทำความรู้จักกับเครื่อง Ray x กันครับ Ray x เป็นเลเซอร์ ชนิด ไดโอด (Diode laser) ไดโอดเลเซอร์ คือ นึกภาพไดโอดเลเซอร์เหมือนไฟ LED ที่ปล่อยแสงสีน้ำเงิน อมม่วงออกมา คิดค้นโดยคุณ Shuji Nakamura จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย จากการค้นพบนี้ทำให้เค้าได้รับรางวัลโนเบลในปี 2014 ที่ผ่านมาก Diode Laser  ความยาวคลื่นของ ไดโอดเลเซอร์อยู่ในช่วง UV 405 – 1080 nm (เป็นแสงที่ตาเรามองเห็นนะคับ จะเห็นเป็นสีน้ำเงิน-ม่วง ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันเมื่อใช้งาน เช่น แว่นตา)  โดยเครื่อง Ray x จะมีการทำงานที่ค่อนข้างง่าย และสะดวกเพราะเครื่องจะค่อนข้างมีน้ำหนักเบา และเน้นไปทางการใช้งานแบบ Manual สามารถจับขยับไปยังพื้นที่ชิ้นงานที่เราต้องการทำงานได้เลย เพราะเครื่องจะมาพร้อมโครงและ หัวเลเซอร์ แต่เครื่อง Ray x หัวเลเซอร์ตัวเริ่มต้นนั้น จะมีกำลัง วัตต์ไม่มาก เหมาะกับการเริ่มต้นสำหรับผู้ใช้มือใหม่ เพราะจะเริ่มจาก เน้น ใช้เพื่อ แกะสลัก แต่ถ้าต้องการตัดเราสามารถอัพเกรดซื้อหัว ที่กำลังวัตต์มากขึ้นมาใส่ได้ครับ แต่ราคาหัวเลเซอร์ราคาจะค่อนข้างแพง ครับ ถ้าเทียบกับราคาเครื่อง ผมเลยคิดว่าถ้ามือใหม่ ลองเริ่มจากฝึกทักษะ สกิลในการใช้งานเครื่องเลเซอร์ หรือ มืออาชีพที่ต้องการ แกะสลักก็ถือว่าเหมาะเลย ครับ ด้วยราคาที่เครื่องไม่แพง ที่มาพร้อมตัวเครื่องกับหัวเลเซอร์พร้อมใช้งานได้เลยครับ ไปดูขั้นตอนวิธีใช้งานเบื้องต้นกันครับ

เครื่อง Laser Ray x

ขั้นตอนที่ 1

  • เริ่มจากนำเครื่องวางยังพื้นที่ ที่เราจัดเตรียมไว้
  • นำสายปลั๊กไฟ เสียบเข้ากับเครื่อง และนำอีกด้านเสียบเข้ากับเต้ารับปลั๊กไฟ
  • นำสาย USB เสียบเข้ากับเครื่องเลเซอร์ โดยอีกปลายสายเสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์หรือโน็ตบุค ครับ
  • หลังจากนั้นกด ปุ่มสวิตช์ เปิดเครื่อง หลังจากเปิดแล้วสวิตช์ไฟ จะมีไฟสีแดงขึ้นที่ปุ่ม
  • เราสามารถที่จะจับเคลื่อนที่หัวเลเซอร์ได้เลยครับ ว่าต้องการที่จะทำงานบนพื้นผิวชิ้นงานตรงไหนครับ ก็ค่อนข้างที่จะ Manual แต่มองในมุมการใช้งานก็ค่อนข้างจะสะดวกเร็วในการทำงาน

ขั้นตอนที่ 2

  • ให้เรานำวัสดุที่ต้องการแกะสลัก วางลงบนพื้นที่เรียบ เราอาจจะต้องมีตัวรองด้านล่างชิ้นงานเพื่อป้องกันเลเซอร์ที่อาจจะผ่านทะลุชิ้นงาน ลงไปยังพื้นใต้ชิ้นงาน เราอาจจะใช้ลังผึ้ง หรือวัสดุที่ทนความร้อนวางรองชิ้นงานก็ได้ครับ แต่หากมีการใช้งานจนชำนาญแล้ว หรือเราใช้ค่าที่เหมาะสมกับชิ้นงาน นั้นๆแล้ว ก็อาจจะไม่ต้องรองใต้ชิ้นงานก็ได้ครับ เพราะเราใช้เพื่อแกะสลักบนพื้นผิวเพียงเท่านั้นครับ
  • ใช้ แท่งเหล็กที่มากับเครื่อง ในการปรับโฟกัส ให้ได้ระยะห่างที่เหมาะสมระหว่าง หัวเลเซอร์กับชิ้นงานครับ 

ขั้นตอนที่ 3

  • ขั้นตอนนี้เราจะมาทำการเปิดโปรแกรม ละทำการเชื่อมต่อเครื่อง โดยในวีดีโอนี้จะมีการเขียนคำบรรยายในแต่ละขั้นตอนไว้แล้ว สามารถดูและทำตามได้เลยครับ

ขั้นตอนที่ 4

  • ทดลองใช้งานเครื่อง นำไฟล์ภาพ(Bitmap) หรือ ไฟล์เวคเตอร์(Vector) ในครั้งนี้ผมจะใช้ไฟล์ภาพ ในการ แกะสลักครั้งนี้ ให้ดูเป็ตัวอย่าง ซึ้งความแตกต่างของไฟล์ สองแบบที่กล่าวถึง ไฟล์เวคเตอร์(Vector) จะให้ความคมชัดมากกว่า สวยกว่าไฟล์ภาพ
  • ทำการ import ไฟล์เข้ามาในโปรแกรม โดยโปรแกรมเลเซอร์ที่เราใช้มีชื่อว่า LightBurn ครับ
  • พอนำไฟล์เข้ามาแล้ว ให้เราทำการตั้งค่า speed และ power ค่าที่ใช้นั้นขึ้นอยู่แล้วแต่ วัสดุ
ตารางแสดงวัสดุที่ใช้ได้กับเครื่อง Ray x และ ค่า speed กับ power เบื้องต้น

 

  • ทำการตั้งค่า speed และ power เสร็จแล้ว ให้เราทำการกำหนดพื้นที่ที่เราต้องการ แกะสลักจากนั้นทำการเช็ค โดยการกดคำสั่งจากโปแกรมเลื่อนหัวเลเซอร์ หรือ ใช้มือจับ เลื่อนได้เลยครับ จากนั้นกดคำสั่ง set origin และกดคำสั่ง Frame เพื่อเช็คพื้นที่การทำงาน
  • หากได้พื้นที่การทำงานตามที่ต้องการแล้ว ก็กดคำสั่ง Start ได้เลยครับ
  • ขณะเครื่องทำการแกะสลักชิ้นงาน จะมีแสงออกมาจากกรอบจึงแนะนำให้ใส่แว่นเพื่อป้องกันแสงเลเซอร์ เพราะอาจสร้างผลเสียต่อดวงตาได้ครับ (แว่นจะมีแถมไปในกล่อง 1 อันครับสำหรับผู้ใช้งานครับ)
รูปภาพ(ไฟล์ JPG) ลูฟี่ (Luffy) แกะสลักจากเครื่อง Ray x ก็ค่อนข้างจะมีความคมชัด สวยงามครับ ถ้ามองจากราคาของเครื่องแล้ว ก็ถือว่าคุณภาพที่ได้สมกับราคาก็ว่าได้เลยครับ เพราะราคาค่อนข้างไม่แพง จับต้องได้นั้นเองครับ

เพิ่มเติม วิธีการประกอบเครื่อง การใช้งานเครื่องได้ที่ : https://www.print3dd.com/support-rayx/

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามารับชมนะครับ