โพเดียมทำด้วย3D Printer จากวัสดุรีไซเคิล จากงานโตเกียวโอลิมปิก2020

โพเดียมทำด้วย3D Printer จากวัสดุรีไซเคิล จากงานโตเกียวโอลิมปิก2020

โตเกียวโอลิมปิกที่ได้เริ่มไปไม่นานที่ประเทศญี่ปุ่น ได้สร้างกระแสต่างๆให้ชวนอึ้งกันทั่วโลกกับการใช้ของที่นำมาจัดงานในครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นคบเพลิงที่ทำจากเศษโลหะของบ้านที่โดนผลกระทบภัยพิบัติ อาหารที่ทำจากวัตถุดิบที่ปลูกใกล้กับพื้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะไดอิจิเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ว่าพื้นที่นี้ปลอดภัยสูงมากและอีกมากมายที่ทำให้ชวนอึ้ง แต่ที่เราจะพูดถึงก็คือโพเดียมที่ใช้ในการรับรางวัลของผู้ชนะ

โพเดียมของงานนี้พิเศษอย่างไร?

โพเดียมนี้ออกแบบโดย

Asao Tokolo ผุ้ออกแบบโพเดียมชาวญี่ปุ่น

ศิลปินชาวญี่ปุ่น โดยวัสดุที่เขาเลือกมาใช้นั้นคือพลาสติกที่นำมาจากพลาสติกใช้แล้วทิ้งจากครัวเรือนประมาณ24.5ตัน
โดยได้นำมาจากขวดน้ำยาซักผ้าจำนวน400,000ขวดที่ได้มาจากกล่องบริจาคตามโรงเรียนและห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศกว่า2,000จุด

โพเดียวที่พิมพ์ด้วย3D Printer

ขวดที่ได้นั้นจะถูกรีไซเคิลทำให้กลายเป้นเส้นFilamentและพิมพ์ด้วยเครื่อง3D Printerโดยพิมพ์ทั้งหมด98โพเดียมที่ใช้ในการแข่งขันทั้งหมด
โดยที่โพเดียมแต่ละแท่นจะสร้างจากลูกบากส์ที่ได้จากการพิมพ์หลายๆลุกมาต่อกันเพื่อให้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ อีกทั้งผู้ออกแบบยังคำนึงถึงพาราลิทปิกที่จะจัดขึ้นต่อจากโอลิมปิกในครั้งนี้โดยที่โพเดียมนั้นจะสามารถเปลี่ยนแปลงรูปทรงเป้นลักษณะแบนราบเพื่อให้เหมาะกับนักกีฬาพาราลิมปิกด้วย

ความคิดริเริ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในวงกว้างเพื่อให้ผู้คนในชีวิตประจำวันมีส่วนร่วมในแผนความยั่งยืนของงาน ซึ่งเห็นได้จากประชาชนที่บริจาคอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เก่า ๆ เพื่อที่พวกเขาจะได้เปลี่ยนเป็นเหรียญโอลิมปิกโตเกียว 2020 ความคิดริเริ่มในการสร้างโพเดียวนี้ก็เหมือนกันก็คือต้องการให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นทุกคนมีส่วนร่วมกับการจัดงานในครั้งนี้

นอกเหนือจากการนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างสิ่งต่างๆในงานโอลิมปิกครั้งนี้แล้วยังมีเป้าหมายที่ใช้นำขยะ65เปอร์เซนต์ที่ได้จากการดำเนินการแข่งขันและ99เปอร์เซนต์ของการจัดงานทั้งหมดมารีไวเคิลเพื่อใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย




การจัดงานโอลิมปิกในครั้งนี้เป็นการเปิดให้ทั้งโลกได้เห้นวิสัยทัศน์ของประเทศญี่ปุ่นที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังมาพร้อมกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วยการสร้างอุปกรร์จัดงานจากวัสดุรีไซเคิลเกือบ100เปอร์เซนต์ยังทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกครั้งนี้อีกด้วย

FDM เกรดอุสาหกรรมที่พร้อมกับการรองรับวัสดุที่หลากหลายชนิด