เทคนิคประหยัดเรซิ่นกว่า 50% ในการพิมพ์ DLP/SLA 3D Printer

เทคนิคประหยัดเรซิ่นกว่า 50% ในการพิมพ์ DLP/SLA 3D Printer

เทคการประหยัดเรซิ่น

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า เรซิ่นนั้นราคาค่อนข้างสูงตั้งแต่ 4บาท/กรัม ตัวแพงๆอาจจะราคาถึง 17บาท/กรัม ดังนั้นวิธีการลดต้นทุนเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับพิมพ์เรซิ่น
บทความนี้จะว่าด้วยวิธีการ ประหยัดเรซิ่นกว่า 50% จากการพิมพ์ปกติ นอกจากนี้ยังยืดอายุการใช้งานถาดพิมพ์อีกด้วยนะเออ ที่สำคัญที่สุดวิธีการนี้สามารถใช้ได้กับเครื่อง DLP, SLA ทุกเครื่องในท้องตลาดไม่ล็อคยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง

จากรูปจะเห็นองค์พระหนักเพียง 20g จากปกติต้องใช้เรซิ่นถึง 50g ประหยัดเรซิ่นกว่า 60%
จากรูปจะเห็นองค์พระหนักเพียง 20g จากปกติต้องใช้เรซิ่นถึง 50g ประหยัดเรซิ่นกว่า 60%

สิ่งที่ต้องเตรียม
– เครื่อง DLP หรือ SLA Printer ของท่านรุ่นใดๆก็ได้ (ในบทความนี้ ผมใช้ Flashforge Hunter)
– Software MeshMixer (Free Software จาก AutoDesk) Download จาก http://www.meshmixer.com/
เอาไว้ทำวัตถุกลวง Hollow เจาะรู และ จัดการไฟล์อื่นๆ
– Software FlashPrint (Free Software จาก Flashforge) Download จาก http://www.flashforge.com/
เอาไว้ตัดชิ้นงาน สร้าง Support แล้วออก Save ออกมาเป็นไฟล์ STL (อย่างลืมเลือก Machine เป็น FF Hunter)

วิธีที่ 1 (ใช้ได้กับทุกเครื่อง DLP, SLA) ทำให้กลวง เจาะรูให้น้ำไหล สร้าง Support ช่วงค้ำยัน ทั้งนอกและและในชิ้นงาน
1.1 เตรียมไฟล์ STL ของเราไว้ ในบทความนี้เราใช้ไฟล์จาก thingiverse รูปพระพุทธรูป https://www.thingiverse.com/thing:2156108 Credit : Strong Hero
หากนำไฟล์นี้มาพิมพ์เลยโดยตรงจะเป็นการพิมพ์ตัน

โดยทั่วไปการทำไฟล์ 3มิติ นิยมทำเป็นโมเดลตัน
โดยทั่วไปการทำไฟล์ 3มิติ นิยมทำเป็นโมเดลตัน

1.2 เอาไฟล์ที่เราได้มาเปิดใน MeshMixer ปรับขนาดชิ้นงานที่ต้องการพิมพ์ตามที่เราต้องการ ในที่นี้ให้ชิ้นงานสูง 70mm ใช้ฟังก์ชั่น Hollow ให้ทำให้ชิ้นงานกลวง โดยปกตินั้นผมจะใช้ค่า offset ให้ชิ้นงานมีความหนา 3mm ขึ้นไปเพื่อความแข็งแรง

ปรับขนาดชิ้นงาน ไปที่ Edit>Transform ในตัวอย่างปรับให้สูง 70mm
ปรับขนาดชิ้นงาน ไปที่ Edit>Transform ในตัวอย่างปรับให้สูง 70mm
กดคำสั่ง Edit>Hollow โดยกำหนดค่าความหนาของผนังที่ offset เป็นหน่วยมม. ส่วนมากเราจะใช้ค่าอยู่ที่ 3มม. สั่งเกตุว่าเราสารถเจาะรูปชิ้นงานให้นำเรซิ่นไหลออกได้ที่ Generate Hole
กดคำสั่ง Edit>Hollow โดยกำหนดค่าความหนาของผนังที่ offset เป็นหน่วยมม. ส่วนมากเราจะใช้ค่าอยู่ที่ 3มม. สั่งเกตุว่าเราสารถเจาะรูปชิ้นงานให้นำเรซิ่นไหลออกได้ที่ Generate Hole หลังจากกำหนดค่าอะไรเสร็จกด Accept

1.3 หากชิ้นงานใหญ่อย่าลืมเจาะรูให้น้ำพลาสติกไหลออกด้วย (ในฟังก์ชั่น Hollow นั้นมีเครื่องมือเจาะรูชิ้นงานให้น้ำเรซิ่นไหลด้วยชื่อ Generate Hole สามารถเลื่อนตำแหน่งต่างๆบนพื้นผิวได้) จำเป็นต้องมีทางออกของน้ำเรซิ่นด้วย หรือ หากฐานไม่ใช่ส่วนสำคัญก็ตัดฐานออกใน Software FlashPrint ก็ได้
1.4 Export ไฟล์ออกมาเป็น STL เพื่อเราจะไปเปิดใน Flashprint ต่อ (เวลาใช้ FlashPrint อย่าลืมเลือกเครื่องพิมพ์เป็น Hunter ก่อนครับ)

เมื่อทำให้กลวงหรือเจาะรูแล้ว เราสามารถทำการ Export ไฟล์ออกมาเป็น STL ได้
เมื่อทำให้กลวงหรือเจาะรูแล้ว เราสามารถทำการ Export ไฟล์ออกมาเป็น STL ได้

1.5 เปิดไฟล์ใน Flashprint เพื่อสร้าง Support (บางคนคิดว่าไม่จำเป็น ส่วนตัวผมคิดว่าจำเป็นมากๆ เนื่องจากส่วนที่ทำให้กลวงนั้น โมเดลมีส่วนที่เป็น overhang ห้อยอยู่หลายส่วน)
1.5.1 หากฐานไม่เรียบหรือฐานไม่จำเป็นแนะนำให้ตัดฐานออกด้วย (ในบทความนี้จะตัดฐานออกให้เห็นการสร้าง Support ภายในครับ)

ตย.นี้จะขอตัดฐานออก เนื่องจากโมเดลฐานไม่เรียบ
ตย.นี้จะขอตัดฐานออก เนื่องจากโมเดลฐานไม่เรียบ
สร้าง Support แบบ Auto ด้วย FlashPrint
สร้าง Support แบบ Auto ด้วย FlashPrint

1.6 กรณีใช้เครื่องพิมพ์ Flashforge Hunter สามารถสั่งพิมพืต่อได้เลย กรณีใช้เครื่องพิมพ์ยี่ห้ออื่นๆ สามารถ Export ไฟล์ออกมาเป็น STL ไปใช้ครับเครื่องพิมพ์ของท่านๆได้เลย

สามารถ Export ไฟล์ออกมาเป็นโมเดล STL (กรณีใช้กับเครืองพิมพ์ยี่ห้ออื่นๆ) กรณี Hunter สามารถสั่งพิมพ์ต่อได้เลย
สามารถ Export ไฟล์ออกมาเป็นโมเดล STL (กรณีใช้กับเครืองพิมพ์ยี่ห้ออื่นๆ) กรณี Hunter สามารถสั่งพิมพ์ต่อได้เลย

วิธีที่ 2 (ใช้ได้กับเครื่อง Flashforge Hunter)
2.1 โยนไฟล์ 3มิติเปิดใน FlashPrint เวลาสั่งพิมพ์ให้เลือก infill เป็น 0% กรณีที่พิมพ์กลวง

สามารถปรับ % ความกลวงได้ 0% คือกลวง 5-15% คือมีโครงสร้างอยู่
สามารถปรับ % ความกลวงได้
0% คือกลวง 5-15% คือมีโครงสร้างอยู่
กรณีให้พิมพ์กลวงโดยมีผนังบาง 3มม.
กรณีให้พิมพ์กลวงโดยมีผนังบาง 3มม.

2.2 สามารถเลือก infill เป็น 5-15% ก็ได้เช่นกันเพื่อเพิ่มความแข็งแรง

กรณีกำหนดค่า infill เป็น 10%
กรณีกำหนดค่า infill เป็น 10%

ทั้งนี้ทั้งนั้นกรณีวิธีที่ 1 ดีที่สุดเพียงแต่มีหลายขั้นตอน วิธี 2.1 มีโอกาสที่ทำให้ชิ้นงานเสีย เนื่องจากกลวงแต่ไม่มีโครงสร้างภายในไม่มีโครงสร้างภายใน

Credit : Mamipoko Print3Dd