ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์
ที่อุดหนุนเครื่องพิมพ์สามมิติ Flashforge Hunter , Flashforge Creator Pro ไปใช้ในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
เครื่องพิมพ์สามมิติ: Flashforge Hunter , Flashforge Creator Pro
เครื่องพิมพ์3มิติ, ปริ้น3มิติ ระบบ FDM, DLP, SLA สแกนเนอร์ 3มิติ
ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์
ที่อุดหนุนเครื่องพิมพ์สามมิติ Flashforge Hunter , Flashforge Creator Pro ไปใช้ในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
เครื่องพิมพ์สามมิติ: Flashforge Hunter , Flashforge Creator Pro
ขอขอบคุณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ที่อุดหนุนเครื่องพิมพ์สามมิติ และเครื่องสแกนสามมิติ จำนวนมากไปใช้ในการเรียนการสอน และให้ความรู้แก่นักศึกษา
3D Printer : FullScale Max450
3D Printer : Flashforge Hunter
3D Scanner: HP 3D Structured Light Scanner Pro S3
ขอขอบคุณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ที่อุดหนุนเครื่องพิมพ์สามมิติ Flashforge Hunter ไปใช้ในการเรียนการสอน และให้ความรู้แก่นักศึกษา
เครื่องพิมพ์สามมิติ: Flashforge Hunter
ช่วง 13-15 สค. พี่ผ่านมาได้เราได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมโรงงาน Flashforge ที่เมือง Jinhua / HangZhou ประเทศจีน โรงงานที่เราเป็นเยี่ยมชมเป็น Head Quarter เป็นที่อยู่ของส่วนการผลิต, Packing, QC, แผนก Sales และ Marketing (ส่วนฝ่าย R&D อยู่ที่สำนักงานใน Hangzhou และ Beijing) โรงงานค่อนข้างใหญ่ประกอบด้วยหลายตึก สายการผลิตรองรับการผลิตสูงสุด 12,000 units/units มีโรงงานผลิตเส้น Filament เป็นของตัวเอง พนักงานเฉพาะในส่วนของ HQ Jinhua คือ 350คน เรียกว่ามีมาตรฐานระดับโลก (หลายๆส่วนโดยเฉพาะในด้านการผลิต และ การวิจัย ไม่สามารถโชว์รูปได้) ISO9001, 14001, CE, FCC, RoHS ได้รางวัลจากทั่วโลกหลายรางวัล
หลังจาก Print3Dd ที่เราเป็น Exclusive Distributor มา 5 ปี เป็นโอกาสที่ดีที่เราได้ ไปเห็นโรงงานใหม่ การผลิตดูมีมาตฐาน มีขั้นตอนการประกอบชัดเจน / ขั้นตอนการ QC ชัดเจน ทุกเครื่องต้องผ่านการพิมพ์มาแล้ว 6-12 ชม. เพื่อมั่นใจว่าสินค้า ไม่มีปัญหา ลูกค้าจึงมั่นใจว่า Flashforge เป็นบริษัทระดับโลก สินค้ามีมาตรฐาน มีบริการหลังการขายเหมาะสม (Service Year ยาวมี Spare part ตลอดเนื่องจากยอดขายเยอะมาก — โดยเฉพาะใน USA และ Europe)
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Flashforge
1. Flashforge เครมว่าเป็นแบรนที่ขายที่สุด #1 ในประเทศจีน (ในแง่ยอดขายรวม–ระดับ consumer) และเป็นที่ 2# หรือ 3# ระดับโลก
2. Flashforge เป็นผู้ผลิตสินค้า OEM ให้ Bocsh(Dramel), GE, Polar, Monoprice และอีกหลายบริษัท
3. Flashforge เปิดบริษัทมาได้แค่ 6ปี ก่อนจะมาเป็นที่ #1 ในจีนปีที่ 5
4. Flashforge มี Team R&D อยู่ 40คน ในนี้เป็นระดับ Ph D. 10 คน โดยเป็นงานที่พัฒนาในรูปแบบ Hardware และ Software
5. Flashforge มีฐานลูกค้ามากมายในวงการศึกษาทั่วโลก เช่น โรงเรียนทั่วประเทศใน Australia, USA และใน จีนเอง
รุ่นที่ขายดีของ Flashsforge มีดังนี้ FF Finder, FF ADV3, FF Creator Pro, FF Guider2s,
ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติระบบ DLP และ SLA กันมากขึ้น เพราะเครื่องพิมพ์ระบบนี้สามารถพิมพ์ชิ้นงานได้ความละเอียดสูง ทำให้ได้ชิ้นงานออกมาเรียบเนียนจนแทบไม่ต้องมีการขัดแต่ง วันนี้ทาง print3dd จึงมาแนะนำเทคนิคตลอดจนวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ได้พบเจอจากการใช้งานเครื่องพิมพ์ระบบนี้โดยปัญหาทีพบเจอได้บ่อยๆมีประมาณนี้ครับ
-พิมพ์งานแล้วไม่ขึ้นรูปชิ้นงานหรือพิมพ์งานไม่ติด
-พิมพ์งานแล้วชิ้นงานไม่ติดที่แท่นแต่ไปติดที่ถาดน้ำยา
-พิมพ์งานแล้วชิ้นงานหลุดออกจากแท่น
-พิมพ์งานแล้วตัวชิ้นงานฉีกขาดหรือชำรุดบางส่วน
ควรตรวจสอบและแก้ไขปัญหาดังนี้
1.แผ่นฟิมล์ชำรุดหรือสกปรก
ตัวเครื่องพิมพ์ระบบนี้ส่วนใหญ่จะมีทีใส่ถาดน้ำยา และด้านล่างของถาดน้ำยาจะมีการใส่แผ่นฟิลม์ไว้เพื่อให้โปรเจกเตอร์ยิงแสงใส่ตัวน้ำยาได้โดยตรง และอีกส่วนหนึ่งคือกระจกที่ติดกับแผ่นฟิลม์ ในส่วนนี้เมื่อเราพิมพ์งานไปสักระยะตัวฟิลม์จะเริ่มมีการชำรุด เช่น ฟิลม์เป็นรอยนูนขึ้นมาเนื่องจากแรงดึงของตัวชิ้นงาน,ฟิลม์ขุ่นมัวเพราะทำสะอาดไม่ดีพอ,มีเศษชิ้นงานติดอยู่ที่ฟิลม์,ฟิลม์ขาดทำให้น้ำยาเรซิ่นไหลลงไปโดนตัวกระจก
(ฟิลม์สกปรกมีลักษณะขุ่นมัว)
(ตัวกระจกมีคราบและขุ่นมัว)
น้ำยาipa (isopropyl alcohol)
วิธีการแก้ปัญหา
ก่อนการพิมพ์งานควรตรวจเช็กตัวแผ่นฟิลม์และกระจกให้ดีว่าสกปรกและชำรุดหรือไม่ ส่วนการเช็ดทำความสะอาดตัวฟิลม์และกระจกควรใช้น้ำยา ipa (isopropyl alcohol) ชุปกระดาษทิชชู่หรือผ้า เช็ดทำความสะอาดแบบเบามือเพื่อไม่ให้ตัวแผ่นฟิลม์เป็นรอย เมื่อเห็นแผ่นฟิลม์เป็นรอยนูนมากขึ้นแนะนำให้เปลี่ยนแผ่นฟิลม์เพราะถ้าฝืนใช้ต่ออาจทำให้ฟิลม์ขาดและตัวน้ำยาอาจจะไหลลงมาด้านล่างได้
2.แท่นพิมพ์สกปรก
เมื่อใช้งานไปได้สักระยะตัวแท่นพิมพ์จะเริ่มมีคราบฟิลม์บางๆที่เกิดจากตัวน้ำยาเรซิ่นไปเกาะที่ตัวแท่นทำให้เวลาพิมพ์งาน แล้วทำให้ตัวชิ้นงานหลุดได้ง่ายเพราะตัวงานไม่ได้เกาะกับตัวแท่นพิมพ์โดยตรงแต่ไปเกาะกับคราบเหล่านี้ หรือมีพวกเศษเรซิ่นที่แข็งตัวแล้วทำความสะอาดไม่หมดก็จะทำให้เกิดปัญหาแบบที่กล่าวไปได้เช่นกัน
(ในรูปจะเห็นว่าแท่นพิมพ์ดูสะอาดเรียบร้อยดี แต่เมื่อถูด้วยน้ำยา ipa จะเห็นว่ายังมีคราบเรซิ่นเกาะที่ตัวแท่นอยู่)
วิธีการแก้ปัญหา
ใช้ ipa (isopropyl alcohol) ทำความสะอาดโดยการใช้กระดาษหรือผ้าชุบตัวipaแล้วถูตัวแท่นพิมพ์จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีคราบเรซิ่นเกาะอยู่บนตัวแท่นพิมพ์
3.ไม่คนหรือเขย่าน้ำยาก่อนใช้งาน
ตัวเรซิ่นถ้าทิ้งไว้โดยก่อนการใช้งานไม่มีการคนหรือเขย่าน้ำยา ตัวเรซิ่นจะเริ่มมีการแยกชั้นของตัวน้ำยาทำให้พิมพ์งานออกมาได้ไม่ดีหรือพิมพ์งานไม่ติดเลย
(น้ำยาตอนยังไม่ได้คนจะเห็นว่าตัวน้ำยาด้านบนจะใสกว่าด้านล่าง)
(อันนี้หลังจากคนน้ำยาแล้ว)
วิธีการแก้ปัญหา
ถ้าน้ำยาอยู่ในขวดก่อนพิมพ์ควรเขย่าน้ำยาก่อนการใช้งาน แต่ถ้าอยู่ในถาดน้ำยาแนะนำให้ใช้พู่กันคนน้ำยาในถาดก่อนใช้งาน แนะนำว่าถ้าไม่ใช้น้ำยาเกิน1วัน วันต่อมาควรจะคนหรือเขย่าน้ำยาก่อนใช้งาน
4.ตัวโมเดลไม่สมบูรณ์
ปัญหานี้พบได้มากที่สุด เพราะเนื่องจากผู้ใช้งานอาจยังไม่มีความชำนาญในการใช้งานตัวเครื่องพิมพ์ เรื่องที่ต้องดูอันดับแรกคือตัวชิ้นงานนั้นสมบูรณ์หรือไม่ เพราะส่วนใหญ่ระบบนี้จะเป็นขึ้นงานแบบ bottom-up (สามารถดูเรื่องระบบ bottom-up ได้จากบทความนี้เลยครับ http://www.print3dd.com/top-down-vs-bottom-up-3d-printing/) และต่อมาคือการวางชิ้นงานซึ่งทั้ง2ส่วนนี้มีผลทำให้งานออกมาไม่สมบูรณ์หรือตัวชิ้นงานหลุดระหว่างพิมพ์ได้
(ในรูปนี้คือตัวชิ้นงานหลุดจากซัพพอต)
วิธีการแก้ปัญหา
เรื่องที่สำคัญคือ ก่อนพิมพ์งานควรดูความสมบูรณ์ของโมเดลและควรสไลด์ดูงาน แต่ละชั้นว่ามีส่วนไหนของงานลอยอยู่โดยไม่มีซัพพอตค้ำยันหรือไม่ เพราะตรงส่วนนี้จะทำให้เวลาพิมพ์แล้วชิ้นงานหลุดหรือขึ้นได้ไม่สมบูรณ์ (ในเรื่องของโมเดลนั้นมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะไว้โอกาสหน้าผมจะมาทำเป็นบทความให้อ่านกันครับ)
5.ตั้งค่าแสงผิดพลาด
การตั้งค่าแสงตรงนี้ต้องดูว่าเครื่องพิมพ์รุ่นนั้นๆสามารถปรับค่าตรงนี้ได้ไหม ตรงนี้ขอยกตัวเครื่องflash forge hunterมาแนะนำเพราะตัวเครื่องสามารถปรับค่าแสงได้ ถ้าเราไม่ปรับค่าแสงให้เหมาะสมกับน้ำยาเรซิ่นชนิดนั้นจะทำให้พิมพ์งานไม่ได้เลย เพราะเรซิ่นแต่ละตัวมีความไวต่อค่าแสงไม่เท่ากันครับ
ตัวโปรแกรมflash print
ในรูปนี้จะมีอยู่สามค่าให้เลือกปรับดังนี้
1.Base Time ต้วโปรแกรมให้ตั้งค่าฉายแสงระหว่างชั้นคือในแต่ละชั้นของงานให้ฉายแสงกี่วินาที
2.Attach time ชั้นแรกงานให้ยิงแสงกี่วินาที (ที่เห็นฉายแสงนาน 10s. เพื่อให้ตัวชิ้นงานติดกับแท่นพิมพ์ได้ดียิ่งขึ้น)
3.Light Intensity ต้องการปรับความเข้มข้นของแสงที่ฉายออกมาให้มากหรือน้อย
วิธีแก้ปัญหา
ส่วนใหญ่แล้วแต่ละเครื่องจะมีน้ำยาที่ใช้กับตัวเครื่องนั้นๆอยู่แล้ว แต่ถ้าเราจะต้องการลองเรซิ่นชนิดอื่นๆที่เราไม่เคยใช้งานมาก่อน ควรทดลองตั้งค่าแสงหลายแบบๆเพื่อให้ได้งานออกมาดีทีสุด ซึ่งค่าที่เหมาะสมคือตัวชิ้นงานออกมาสวยงามสมบูรณ์
6.การคาริเบทแท่นพิมพ์
ตัวเครื่องพิมพ์ระบบนี้จะมีการจุ่มตัวแท่นลงไปชิดกับถาดน้ำยา การคาริเบทคือการทำให้ตัวแท่นพิมพ์กับถาดน้ำยาอยู่ในระยะที่เหมาะสม ตรงส่วนนี้ต้องดูว่าเครื่องนั้นๆสามารถคาริเบทได้หรือไม่ ตรงนี้จึงขอยกตัวflash forge hunter มาเพื่อแนะนำการใช้งานระบบนี้ครับ
(โดยในรูปจะเป็นการตั้งค่า Z Offset หรือการคาริเบทแท่นพิมพ์)
(สามาถปรับให้ตัวแท่นพิมพ์สูงขึ้นหรือต่ำลงได้)
การแก้ปัญหา
ถ้าเกิดอาการตัวชิ้นงานติดที่ถาดน้ำไม่ติดที่แท่นพิมพ์ ให้สันนิฐานว่าตัวแท่นพิมพ์ห่างจากถาดน้ำยามากเกินไป ทำให้เวลาตัวแท่นพิมพ์เลื่อนลงมาไม่ชิดกับตัวถาดจนทำให้ชิ้นงานไปติดที่ถาดน้ำยาแทนที่จะติดตัวแท่นพิมพ์ ถ้าเครื่องไหนมีคำสั่งนี้แนะนำให้คาริเบทก่อนพิมพ์เพื่อให้ได้งานออกมาดีที่สุด
สุดท้ายนี้จากปัญหาและอาการต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะเกิดจากสาเหตุเดียวหรือเกิดจากหลายๆสาเหตุรวมกันก็ได้ แนะนำให้ตรวจเช็คทุกอย่างก่อนพิมพ์เพื่อที่จะได้ตัวงานออกมาสมบูรณ์ที่สุด แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ
ขอขอบคุณ บริษัท ฟอร์เวิร์ด ฟรีแลนด์ จำกัด
ที่อุดหนุนเครื่องพิมพ์สามมิติ ระบบเรซิ่น Flashforge Hunter DLP 3D Printer ไปใช้ในออกแบบ พัฒนา และผลิตสินค้าคุณภาพสูง
3D Printer : Flashforge Hunter
ขอขอบคุณ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ที่อุดหนุนเครื่องพิมพ์สามมิติ และเครื่องสแกนสามมิติ จำนวนมากไปใช้ในการเรียนการสอน และให้ความรู้แก่นักศึกษา
เครื่องพิมพ์สามมิติ:
เครื่องสแกนสามมิติ:
สุดยอดเทคโนโลยีแบบใหม่ของเครื่องพิมพ์ 3D Printer แบบ DLP จากประเทศ Ukraine ที่เป็นการพัฒนาขึ้นมาเองของทาง SpryBuild ที่เรียกเทคโนโลยีใหม่นี้ว่า CPWC (Continuous Production with Wavefront Converting) และได้ทำการจดสิทธิบัตรเป็นเทคโนโลยีใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะเป็นเครื่องพิมพ์ 3D Printer แบบ DLP ที่มีเทคโนโลยีในการขึ้นรูปชิ้นงานได้เร็วที่สุดในโลกเลยทีเดียว
ซึ่งเทคโนโลยีใหม่ของทาง SpryBuild เป็นการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานกับเครื่องพิมพ์แบบ DLP 3D Printer โดยที่การทำงานเป็นการฉายแสงจากจอโปรเจคเตอร์ ที่มีการควบคุมความเข้มของแสงในแต่ละจุด รูปแบบที่ฉากออกมาคล้ายกับรูปคลื่นที่มีความสูงต่ำแบบคลื่นไซน์นั้นเอง ซึ่งจะทำให้เรซิ่นแข็งตัวในระดับที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจะทำให้เรซิ่นที่แข็งตัวแล้ว สามารถอยู่ติดกับถาดที่แสงผ่านได้ดี และทำให้แรงดึงระหว่างชิ้นงานกับฐานลดน้อยลง เจ้าเครื่อง SpryBuild 3D Printer สามารถพิมพ์งานได้ควมเร็วสูงสุดถึง 10 มิลลิเมตรต่อวินาทีเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีการพิมพ์ 3D แบบ CPWC สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เป็นแบบแม่พิมพ์ เฟืองเกียร์ ชิ้นงานประกอบด้านฮาร์ดแวร์ ชิ้นงานตกแต่ง และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้เทคโนโลยีต้นแบบอันนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานทางการแพทย์ได้อีกด้วย เช่น เส้นใย และอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งในอนาคตทาง SpryBuild อาจจะนำเทคโนโลยนี้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านการแพทย์เกี่ยวกับอวัยวะต่างๆ ที่ต้องการความะเอียด ความสับซ้อน หรือต้องการจะพิมพ์ชิ้นงานที่มีขนาดเล็กมากกว่าปกติทั่วไป
ที่มา : http://www.3ders.org/
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า เรซิ่นนั้นราคาค่อนข้างสูงตั้งแต่ 4บาท/กรัม ตัวแพงๆอาจจะราคาถึง 17บาท/กรัม ดังนั้นวิธีการลดต้นทุนเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับพิมพ์เรซิ่น
บทความนี้จะว่าด้วยวิธีการ ประหยัดเรซิ่นกว่า 50% จากการพิมพ์ปกติ นอกจากนี้ยังยืดอายุการใช้งานถาดพิมพ์อีกด้วยนะเออ ที่สำคัญที่สุดวิธีการนี้สามารถใช้ได้กับเครื่อง DLP, SLA ทุกเครื่องในท้องตลาดไม่ล็อคยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง
สิ่งที่ต้องเตรียม
– เครื่อง DLP หรือ SLA Printer ของท่านรุ่นใดๆก็ได้ (ในบทความนี้ ผมใช้ Flashforge Hunter)
– Software MeshMixer (Free Software จาก AutoDesk) Download จาก http://www.meshmixer.com/
เอาไว้ทำวัตถุกลวง Hollow เจาะรู และ จัดการไฟล์อื่นๆ
– Software FlashPrint (Free Software จาก Flashforge) Download จาก http://www.flashforge.com/
เอาไว้ตัดชิ้นงาน สร้าง Support แล้วออก Save ออกมาเป็นไฟล์ STL (อย่างลืมเลือก Machine เป็น FF Hunter)
วิธีที่ 1 (ใช้ได้กับทุกเครื่อง DLP, SLA) ทำให้กลวง เจาะรูให้น้ำไหล สร้าง Support ช่วงค้ำยัน ทั้งนอกและและในชิ้นงาน
1.1 เตรียมไฟล์ STL ของเราไว้ ในบทความนี้เราใช้ไฟล์จาก thingiverse รูปพระพุทธรูป https://www.thingiverse.com/thing:2156108 Credit : Strong Hero
หากนำไฟล์นี้มาพิมพ์เลยโดยตรงจะเป็นการพิมพ์ตัน
1.2 เอาไฟล์ที่เราได้มาเปิดใน MeshMixer ปรับขนาดชิ้นงานที่ต้องการพิมพ์ตามที่เราต้องการ ในที่นี้ให้ชิ้นงานสูง 70mm ใช้ฟังก์ชั่น Hollow ให้ทำให้ชิ้นงานกลวง โดยปกตินั้นผมจะใช้ค่า offset ให้ชิ้นงานมีความหนา 3mm ขึ้นไปเพื่อความแข็งแรง
1.3 หากชิ้นงานใหญ่อย่าลืมเจาะรูให้น้ำพลาสติกไหลออกด้วย (ในฟังก์ชั่น Hollow นั้นมีเครื่องมือเจาะรูชิ้นงานให้น้ำเรซิ่นไหลด้วยชื่อ Generate Hole สามารถเลื่อนตำแหน่งต่างๆบนพื้นผิวได้) จำเป็นต้องมีทางออกของน้ำเรซิ่นด้วย หรือ หากฐานไม่ใช่ส่วนสำคัญก็ตัดฐานออกใน Software FlashPrint ก็ได้
1.4 Export ไฟล์ออกมาเป็น STL เพื่อเราจะไปเปิดใน Flashprint ต่อ (เวลาใช้ FlashPrint อย่าลืมเลือกเครื่องพิมพ์เป็น Hunter ก่อนครับ)
1.5 เปิดไฟล์ใน Flashprint เพื่อสร้าง Support (บางคนคิดว่าไม่จำเป็น ส่วนตัวผมคิดว่าจำเป็นมากๆ เนื่องจากส่วนที่ทำให้กลวงนั้น โมเดลมีส่วนที่เป็น overhang ห้อยอยู่หลายส่วน)
1.5.1 หากฐานไม่เรียบหรือฐานไม่จำเป็นแนะนำให้ตัดฐานออกด้วย (ในบทความนี้จะตัดฐานออกให้เห็นการสร้าง Support ภายในครับ)
1.6 กรณีใช้เครื่องพิมพ์ Flashforge Hunter สามารถสั่งพิมพืต่อได้เลย กรณีใช้เครื่องพิมพ์ยี่ห้ออื่นๆ สามารถ Export ไฟล์ออกมาเป็น STL ไปใช้ครับเครื่องพิมพ์ของท่านๆได้เลย
วิธีที่ 2 (ใช้ได้กับเครื่อง Flashforge Hunter)
2.1 โยนไฟล์ 3มิติเปิดใน FlashPrint เวลาสั่งพิมพ์ให้เลือก infill เป็น 0% กรณีที่พิมพ์กลวง
2.2 สามารถเลือก infill เป็น 5-15% ก็ได้เช่นกันเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
ทั้งนี้ทั้งนั้นกรณีวิธีที่ 1 ดีที่สุดเพียงแต่มีหลายขั้นตอน วิธี 2.1 มีโอกาสที่ทำให้ชิ้นงานเสีย เนื่องจากกลวงแต่ไม่มีโครงสร้างภายในไม่มีโครงสร้างภายใน
Credit : Mamipoko Print3Dd
ขอขอบคุณ บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
ที่อุดหนุนเครื่องพิมพ์สามมิติ ระบบเรซิ่น Flashforge Hunter DLP 3D Printer ไปใช้ในออกแบบ พัฒนา และผลิตสินค้าคุณภาพสูง
3D Printer : Flashforge Hunter