สถานีพยากรณ์อากาศจาก3D Printing

สถานีพยากรณ์อากาศจาก3D Printing

สถาบันปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งชาติอากอนเน่ ของสหรัฐอเมริกาได้มีการทดลองสร้างสถานีพยากรณ์อากาศภาคสนามขึ้นด้วยการพิมพ์สามมิติ โดยการสร้างสถานีด้วยงบประมาณที่ต่ำเพื่อให้สามารถสร้างหลายๆแห่งได้ สืบเนื่องมาจากการสร้างสถานีชั่วคราวนั้นต้องใช้งบประมาณหลายพันดอลลาร์ต่อหนึ่งสถานีเพราะว่าวัสดุที่ใช้นั้นต้องทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอยู่ตลอด ทั้งการตากแดด โดนฝน หรือพายุบ้าง จึงทำให้การที่จะให้มีสถานีพยากรณ์อากาศอยู่ทุกพื้นที่จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยเพราะค่าใช้จ่ายคือปัจจัยหลัก

ทางนักวิจัยจึงได้ทำการทดลองโดยใช้การพิมพ์สามมิติระบFDMเข้ามาช่วยในงานวิจัยครั้งนี้ โดยทำการทดลองวัสดุที่ใช้กับเครื่องพิมพ์สามมิติที่หาได้ทุกชนิด สุดท้ายแล้วทางทีมได้เลือกวัสดุASA (acrylonitrile styrene acrylate) เนื่องจากราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆและคุณสมบัติเหมาะสมต่องาน(ASA คือ วัสดุที่พัฒนามาจากABS พิมพ์ง่ายขึ้น ทนทานมากขึ้น)

ตำแหน่งของสถานี ใกล้กับสถานีถาวรเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์

สถานีนี้เกิดจากการพิมพ์ชิ้นส่วนมากกว่า100ชิ้นมาประกอบกัน จากนั้นได้ทำการติดตั้งเซนเซอร์ต่างๆ เพื่อทำการวัดสิ่งที่สถานีนี้ทำการเก็บผลประกอบไปด้วยคือ อุณหภูมิและความชื้น ความดันอากาศ ความเร็วและทิศทางลม ค่าความเข้มรังสีอาทิตย์ และปริมาณน้ำฝน ซึ่งการทดลองครั้งนี้ได้กินเวลาถึง8เดือนและผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจมากโดยนำค่าที่ได้นั้นมาเทียบกับสถานีแบบถาวร

สถานี นอร์แมน เมโวเนต

ซึ่งผลการทดลองจะแสดงดังรูปต่อไปนี้ (แนวนอนเป็นค่าจากสถานีจาก3D printing , แนวตั้งเป็นค่าจากสถานีนอร์แมน เมโนเวต)

ผลการทดลองวัดอุณหภูมิอากาศ
ค่ารังสีอาทิตย์
ทิศทางลม
ความเร็วลม
ค่าความกดอากาศ
ค่าความชื้นสัมพัทธ์

สามารถผลการทดลองเต็มรูปแบบได้ที่นี่เลย Argonne National Laboratory weather station

หากสนใจเครื่องพิมพ์ระบบFDM สามารถเลือกชมได้เลย