โฟล์คสวาเกนฝึกปัญญาประดิษฐ์ให้ออกแบบชิ้นส่วนรถยนต์ที่ดีกว่า

โฟล์คสวาเกนฝึกปัญญาประดิษฐ์ให้ออกแบบชิ้นส่วนรถยนต์ที่ดีกว่า

โรงงานรถยนต์โฟล์คสวาเกนในเยอรมันนีฝึกสอนให้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์เปลี่ยนวิธีการออกแบบ
และผลิตชิ้นส่วนรถยนต์โดยใช้ 3D printers

โรงงานในกลุ่มโฟล์คสวาเกน ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความซับซ้อน และมีน้ำหนักเบา ขณะนี้มีการจัดแสดงขบวนการผลิต ณ ศูนย์นวัตกรรม และวิศวกรรมแคลิฟอร์เนีย (IECC) ในการแสดงผลงานนี้มีรถยนต์รุ่นแรกที่ใช้ชิ้นส่วนที่ออกแบบโดยปัญญาประดิษฐ์ และผลิตขึ้นมาโดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ เป็นรถยนต์ไฟฟ้าในรูปทรงของรถรุ่น 1962 Microbus ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่

ที่ตัวรถจะมีส่วนประกอบสีส้มเจิดจ้า ที่ทำให้ง่ายต่อการมองเห็นว่าเป็นการออกแบบใหม่โดยใช้ Generative Design ชิ้นส่วนเหล่านั้นประกอบด้วย พวงมาลัย ก้านกระจกมองข้าง และกระทะล้อ

วิศวกรของโฟล์คสวาเกนสามารถใช้ Generati

 

ve Design ในการเน้นเกี่ยวกับลำดับความสำคัญ และเทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ในการผลิตชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักน้อยแต่ยังคงความแข็งแรง ทั้งหมดนี้ทำได้โดยผ่านการฝึกสอน AI 

จากเส้นตรงสู่รูปร่างโค้งมน

น่าทึ่งที่ว่าดูเหมือนระบบ AI ของโฟล์คสวาเกนจะออกแบบให้ชิ้นส่วนมีลักษณะเหมือนรากไม้ มากกว่าจะเป็นเส้นตรง และทรงเหลี่ยม ในการผลิตชิ้นส่วนรูปร่างตามนั้น แน่นอนว่าเครื่องพิมพ์สามมิติคือคำตอบ แต่เนื่องจากรถยนต์หนึ่งคันมีส่วนประกอบมากกว่าพันชิ้น ทางทีมงานจะต้องคัดเลือกเอาชิ้นส่วนที่มีประสิทธิผลมากที่สุดที่จะถูกทดแทนด้วยชิ้นส่วนจากเครื่องพิมพ์สามมิติ และพวกเขาก็ใช้ AI ในการคัดเลือกชิ้นส่วนเหล่านั้นด้วย

ในอนาคตโฟล์คสวาเกนมีแผนที่จะใช้การรีไซเคิลแบบครบวงจร โดยนำเอาพลาสติกจากชิ้นส่วนเก่ามาผลิตชิ้นส่วนใหม่ ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ก็ยังลดขยะเป็นข่าวดีกับสภาพแวดล้อมของโลกอีกด้วย

แม้ปัจจุบันการผลิตรถทั้งคันด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติยังอาจจะไม่เป็นไปได้ แต่โฟล์คสวาเกนก็แสดงให้เห็นว่าการใช้ AI กับเครื่องพิมพ์สามมิติในการออกแบบรถยนต์ให้ผลลัพท์ในด้านความยืดหยุ่นในการออกแบบ น้ำหนักเบา และผลกำไร

ที่มา: Slash Gear