ออกแบบหน้าตู้ลำโพงบลูทูธด้วย “แผ่นอคริลิคใส”หนา 10mm และทดสอบ Fitting กับดอกลำโพง 7นิ้ว

ออกแบบหน้าตู้ลำโพงบลูทูธด้วย “แผ่นอคริลิคใส”หนา 10mm และทดสอบ Fitting กับดอกลำโพง 7นิ้ว

สายฟังเพลง จะต้องมีหูฟัง หรือลำโพงที่เป็นส่วนตัว ที่รักและชอบมาก ๆ ซึ่งลำโพงตัวเก่งก็อาจจะซื้อมาแบบสำเร็จก็ไม่แปลก แต่สำหรับนัก DIY สาย Custom จะชื่นชอบการสร้างหรือทำเองมาก ๆ เนื่องจากรูปแบบสำเร็จรูปมักจะมีการออกแบบมาที่เหมือน ๆ กัน แต่ในวันนี้เราจะมาออกแบบ Design หน้าลำโพงของเราเอง เนื่องจากมีสิ่งที่ต้องการคือ มองเห็นด้านในคล้ายเคสคอมพิวเตอร์ที่มีไฟ RGB กระพริบๆ ด้วยแผ่นอคริลิค 10mm

เราเริ่มต้นโดยการนำดอกลำโพงทั้งหมดของเรามาวัดทั้งหมด และจากนั้นจะนำสร้างไฟล์โดยการสร้างผ่าน Solid edge และจากนั้น ก็เปิดเป็น หัวข้อการทำ Draft หากใครไม่เปิดแบบ Draft เวลา Save File ออกมาก็จะไม่ได้เป็น .DFX ที่จะนำเข้าโปรแกรม RD Work จากนั้นนำขนาดที่เราวัดได้มาใส่เนื่องจากลำโพงเป็นแบบวงกลม ทำให้การออกแบบนั้นง่าย แต่ขนาดควรจะพอดี หรือใกล้เคียงที่สุด เพื่อความสวยงาม เพราะลำโพงเราจะต้องยึดน็อตเข้ากับแผ่นอคริลิคจึงไม่ต้องให้พอดีถึงขั้นคับเปะๆ

หลังจากดราฟไฟล์เสร็จแล้วเราจะ Export ไฟล์ออกมาเป็น .Dfx เพื่อที่จะนำเข้า RD Work เป็นโปรแกรมใช้ Ray9 Smart CO2 Laser – Cutter, Engraver

หลังจากทำการใช้ Ray9 Smart CO2 Laser – Cutter, Engraver ตัดอคริลิคเสร็จแล้ว เราก็จะทำการนำไป Fitting ฟิตติ้ง คือการนำไปทดลองกับของจริง เช่นลำโพงของเรานำไปทดลองสวมหรือใส่จริง เพื่อดูความคลาดเคลื่อน หากไม่คลาดเคลื่อนสามารถสั่งผลิตจริงได้เลยสำหรับ Production แต่ DIY ส่วนใหญ่จะทำการตัดผ่านชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงเช่นกระดาษหรือไม้ แล้วค่อยทำการตัดใส่แผ่นอคริลิคที่เราเตรียมเอาไว้

เรียกได้ว่า พอดีแบบเป๊ะๆ อันนี้เราเผื่อเอาไว้สำหรับสายหรือปลั๊กที่ใช้เชื่อมต่อลำโพงกับบอร์ดที่ใช้ขับเสียง

หลังจากนั้นทำการเจาะรูปน็อต ซึ่งเราสามารถสร้างรูน็อตได้ตั้งแต่ เริ่มทำไฟล์ได้เช่นกัน แต่ในกรณีของเรา ยังไม่แน่นอนว่าจะวางลำโพงขึ้นหรือลง ทำให้ต้องมาเจาะรูน็อตตามหลังนั่นเอง

กรอบนอกของลำโพงเราใช้ไม้อัด เพื่อให้ด้านหน้าของลำโพงโดดเด่น จะเห็นได้ว่า อคริลิคทั้งแผ่นของเราเข้าบล็อคของเราได้พอดิบพอดีแปปฟิตเลย

ในตอนนี้การทำลำโพงยังไม่เสร็จโดยสมบูรณ์เหลือเพียงการเดินสายไฟ และทำกล่องสำหรับเก็บแบตเตอร์และตัวขยาย เลยทำได้เพียงออกมาให้เห็นคร่าวๆไว้ก่อน
คำถามที่หลายๆคนคิดที่ถามทำไมถึงไม่ใช่เลื่อยหรืออะไรเจาะแทนการใช้ Laser ต้องบอกเลยว่าขนาดของดอกลงโพงมีขนาดที่ตายตัว ถ้าตัดด้วยมืออาจจะมีการผิดพลาดได้ และสิ่งที่ต้องการคือ คม สวย เท่ากันทั้งวง