ทำพรมรถยนต์ กับ 3D Scanner + ExactFlat for RhinoCeros V.7

ทำพรมรถยนต์ กับ 3D Scanner + ExactFlat for RhinoCeros V.7

สวัสดีครับทุกๆท่าน วันนี้ 3DD เรามี Work Shop เป็นการใช้ 3D SCanner รุ่น EinScan Pro HD นำมาสแกนพื้นรถกันครับ ในเคสนี้เรามีการศึกษาข้อมูลและทดลองการทำ พรมรถยนต์ กับ Process ที่เราจะใช้กันทั้งหมดดังนี้ครับ อยากบอกกับทุกๆท่านว่า เทคโนโลยีและโปรแกรมต่างๆ สามารถทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นมากๆ เรามาดูขั้นตอนการทำ พรมรถยนต์ กับ 3D Scanner Process กันครับ

  1. เตรียมรถยนต์นำพรมเก่าออกและใช้ 3D Scanner : EinScan Pro HD สแกนพื้นรถยนต์ตามที่ต้องการทั้งหมด
  2. Save Files ออกจากโปรแกรม ExScan ที่มาพร้อมกับเครื่อง EinScan Pro HD สำหรับนามสกุลไฟล์ที่ต้องใช้คือ .STL
  3. นำไฟล์ที่ได้มาทำการเคลียร์สิ่งที่ไม่ต้องการออกด้วยโปรแกรม Geomagic Essentials ให้สวยงามง่ายต่อการทำงาน
  4. นำไฟล์ที่ได้จากโปรแกรมมาทำการเข้าโปรแกรม RhinoCeros V.7 ที่มี Plug in : ExactFlat อยู่ครับ

เรามาดูขั้นตอนตั้งแต่ ต้น – จบ กันดีกว่าครับ

  • ทำการสแกนรถยนต์จริงด้วยเครื่อง 3D Scanner : EinScan Pro HD สแกนเก็บให้หมดจด ตามที่ต้องการได้เลยครับเทคนิคนี้ขึ้นอยู่กับคนทำพรม จะรู้ว่าต้องการส่วนไหนที่เป็นส่วนสำคัญครับ

  • ไฟล์งานที่สแกนจริง จะค่อนข้างเกิด Deflect จากสภาพแวดล้อมระหว่างสแกนค่อนข้างเยอะ แต่ไม่ต้องเป็นกังวลถ้ามีโปรแกรมที่ช่วยจัดการได้ดีๆ อย่าง Geomagic Essentials

  • เคลียร์ไฟล์ให้ดูดี ใส่ความหนาจากเดิมที่มีแค่ผิวงาน ทำไฟล์งานให้เป็น Solid โปรแกรมจะได้ไม่แจ้งเตือนความผิดพลาดของผิวงานครับ ขั้นตอนนี้เราใช้โปรแกรม Geomagic Essentials ในการเคลียร์เศษไฟล์ที่ไม่ต้องการ และปรับผิวให้ดูดี ทำการ Low Polygon เพื่อให้ขนาดไฟล์เล็กลงและง่ายต่อการกระทำกับไฟล์ต่อจากนี้ครับ

  • ชิ้นงานดังภาพซึ่งมีความสมบรูณ์ของไฟล์ค่อนข้างดี สามารถทำงานต่อได้ง่ายขึ้นมากๆ โดยโปรแกรม Geomagic Essentails สามารถปรับแต่งเฉพาะจุดที่ต้องการได้ทันที และตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก

  • หลังจากที่ทำไฟล์สมบรูณ์แล้ว ก็มาทำการแบ่ง Section ในการทำกันต่อครับ อย่างที่รู้ๆกัน คงไม่มีใครทำ พรหมรถยนต์ปูแผ่นเดียวทั้งคันใช่ไหมครับ เราจะต้องทำการแบ่งเป็น หน้าคนขับ , ผู้โดยสารตอนหน้า , และผู้โดยสารตอนหลัง มาเริ่มทำการแบ่งกันเลยครับ ในขั้นตอนนี้เราจะยกตัวอย่างการแบ่งในส่วนของด้านหน้าคนขับจะได้ดังรูปครับ
  • หลังจากนั้นนำมาเข้าโปรแกรมสุดท้ายที่เราได้เอ่ยข้างต้นเอาไว้คือ RhinoCeros V.7 เพื่อดูชิ้นงานและทำการ คลี่ไฟล์ 3D ไปสู่ภาพ 2 มิติ 2D กันครับ

 

  • หลังจากที่นำไฟล์งานเข้าโปรแกรม RhinoCeros V.7 แล้วก็ทำการ Remesh ชิ้นงานทันทีเนื่องจากว่า Polygon ของชิ้นงานนี้สูงเกินไปทำให้การทำการคลี่ไฟล์นั้นจะเกิดความล่าช้ามาก โดยฟังก์ชั่นนี้ของโปรแกรมคือ Plug in เสริมที่ชื่อว่า ExactFlat For RhinoCeros V.7 โดยคำสั่งที่ใช้คือคำสั่ง Remesh ครับ

  • หลังจากที่ทำการ Remesh เสร็จแล้วเราจะมาใช้คำสั่งที่อยู่ในโปรแกรมต่อคือคำสั่งที่ชื่อว่า Flattening คำสั่งนี้จะทำการแบชิ้นงาน 3 มิติออก แต่ยังไม่มีการยืดของตัวชิ้นงานครับ มาดูคำสั่งต่อไปที่จะใช้ต่อจากนี้คือคำสั่ง Spring Status เพื่อทำการยืดชิ้นงานออกให้เมื่อเรานำไปใช้จะเข้ารูปพอดีกับตัวงานจริง

  • ใช้คำสั่ง Spring Status เพื่อขยายเส้นให้กับชิ้นงานได้มากที่สุด เพื่อตอนที่นำไฟล์ออกมาใช้จะได้เส้นที่สมบรูณ์แบบครับ

  • จากนั้นทำการ Save As ไฟล์นามสกุล .DXF ซึ่งเป็นไฟล์ เส้น Vector ไปใช้ต่อกับเครื่องตัดได้ทันที หากต้องการแก้ไขไฟล์ .DXF สามารถใช้โปรแกรมได้หลากหลายรูปแบบ และโปรแกรมนั้นคือ Adobe Illustrator ที่หลายๆคนรู้จักนั้นเอง

เป็นอย่างไรบ้างครับกับ Section นี้ ทางเรา 3DD ได้รวบรวมขั้นตอนและเครื่องมือที่ง่ายกับทุกๆ คนมาให้ได้รับชมกันแล้ว หากมีคำถามสงสัยหรือต้องการปรึกษาเครื่องมือและโปรแกรม สามารถทักมาสอบถามได้ที่ทาง Line@ : Print3DD ของเราได้เลยครับ หลังจากนี้จะพัฒนาการแบ่ง Section ให้ดีขึ้นทางเราจะนำมาให้รับชมกันเรื่อยๆนะครับ