สร้างหุ่นรองเท้า ด้วยวิธี 3D Digital Process

สร้างหุ่นรองเท้า ด้วยวิธี 3D Digital Process

วันนี้ทางเรา 3DD Digital Fabrication ได้มาทำการ Show Case สำหรับกระบวนการสร้าง “หุ่นรองเท้า” ในรูปแบบ 3D Digital Process กันครับโดยทางเราได้รับบีฟงานกับลูกค้ามาว่าช่วยเปลี่ยน Process แบบเดิมๆ ก็คือการปั้นมือแกะแบบมือเป็นในรูปแบบที่มีความรวดเร็วและแม่นยำกว่าเดิมและวันนนี้เราได้มาทำการแบ่งปันข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ หรือ ผู้ที่สนใจในรูปแบบงานนี้มาให้ได้รับชมกันครับ

 

Shoe Last (ชู ล้าสต์)  (หุ่นรองเท้า)

คือแม่แบบในการทำรองเท้า ผลิตจากวัสดุเนื้อแข็งเพื่อใช้ในการขึ้นโครงของตัวรองเท้าให้มีรูปทรงตามรูปแบบที่ผู้ออกแบบ Shoe Last ต้องการ ดังนั้นรองเท้าแต่ละคู่จะมีรูปทรงอย่างไร มีความกว้างแค่ไหน และมีส่วนเว้าส่วนโค้งแบบไหน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ Shoe Last หรือแม่แบบในการทำรองเท้าอันนี้นี่แหละครับ

 

กระบวนการการสร้างขึ้นมาใหม่หรือพัฒนาจากของที่มีอยู่ให้ดีขึ้นใหม่ทำได้อย่างไร?

  1. ใช้ 3D Scanner สแกนชิ้นงานจากของจริงที่มีอยู่เพื่อเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ 3 มิติในรูปแบบ Digital
  2. แก้ไขปรับแต่งไฟล์ 3 มิติที่ได้จากการสแกนตามความพอใจ
  3. ขึ้นรูปด้วย 3D Printer เพื่อขึ้นรูปต้นแบบชิ้นงานจริงก่อนนำไปหล่อเรซิ่นหรือกัด CNC

เรามาเริ่มดูกระบวนการการทำกันได้เลยครับ

  • สแกนชิ้นงานจริงจากหุ่นรองเท้าที่มีอยู่ด้วย 3D Scanner : ในที่นี้ทางเราได้ใช้เครื่องสแกนรุ่น TranScan C สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูงเพื่อให้เห็น Detail รอยและลายลึกทั้งหมดลดเวลาในการทำไฟล์ให้น้อยลง หากว่าเราสแกนงานได้ละเอียดเท่าไหร่ไฟล์งานที่ได้ออกมานั้นก็ยิ่งละเอียดลึกมากขึ้นเพราะอย่าลืมว่าถ้าเราไปใช้กับ 3D Printer ลายละเอียดทุกอย่างจะดรอปลงไปอีกประมาณ 1 0 – 30% โดยประมาณ

  • ไฟล์งานที่ได้จาก 3D Scanner รุ่น TranScan C ไฟล์ที่ได้จะมีขนาดจริงมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 0.035 mm หรือ 35 ไมครอนซึ่งถือว่ายอมรับได้เมื่อนำไปใช้งานจริงต่อ ชิ้นงานที่ได้มาเราสามารถนำไปเก็บเป็น Data ไว้ภายในคอมพิวเตอร์และเมื่อต้องการนำมาใช้ก็สามารถนำมาใช้ได้ตลอดโดยที่จะไม่มีวันหมดอายุ หรือ สึกหรอไป รวมไปถึงสามารถนำไปดัดแปลงแก้ไขไฟล์เปลี่ยนลายพื้น หรือ ปรับขนาดได้โดยใช้โปรแกรม 3D ที่สอดคล้องกัน

  • นำไฟล์ที่ได้จากการใช้ 3D Scanner ไปขึ้นรูปสามมิติโดยใช้ 3D Printer SLA ระบบเรซิ่นเพื่อความละเอียดที่สูงและรายละเอียดที่ชัดเจนในที่นี้เราได้ใช้เครื่องพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่พอที่จะวางชิ้นงานแนวตั้งนี้ได้ด้วยเครื่อง Phrozen Mega 8K

 

  • ขั้นตอนท้ายนี้เราก็จะนำตัวชิ้นงานที่ได้จาก 3D Printer ไปขึ้นแบบหุ่นรองเท้าจริงกันโดยการเปิดโมลพิมพ์และเทเรซิ่นแข็งเข้าไปแทน เพียงเท่านี้แม่พิมพ์หุ่นรองเท้าของเราที่เป็นกระบวนการ 3D Digital ก็เสร็จสมบรูณ์ ได้ทั้งความเรียบง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ