เมื่อพูดถึงการพิมพ์งาน 3 มิติ สิ่งที่ทุกคนนึกถึงเป็นหลักอาจจะเป็นอาร์ตทอย ฮอตทอย ฟิกเกอร์ โมเดลของเล่นต่างๆ เป็นหลัก แต่ที่จริงแล้วที่หลายคนอาจจะยังนึกไม่ถึงก็คือชิ้นงานพิมพ์ 3 มิติ
นั้นยังมีอีกหลายงานที่สามารถนำไปใช้ได้ มีอีกหลายวงการอุตสาหกรรมที่ใช้งานชิ้นงานพิมพ์ 3 มิติเป็นตัวช่วยในการออกแบบและพัฒนาเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ หรือวงการพุทธศิลป์
ที่นิยมใช้การพิมพ์ 3 มิติในการทำงานมานานแล้ว แต่ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ 3 ถูกพัตนามากขึ้น พิมพ์งานได้เร็วมากขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น ต้นทุนวัสดุต่ำลง และราคาเครื่องสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น
ทำให้การประยุกต์ใช้ชิ้นงานพิมพ์ 3 มิติมาช่วยในการทำงานเป็นที่นิยมมากขึ้นและถูกนำไปใช้กับหลายวงการ เช่น การพิมพ์ 3 มิติ เพื่องานตรวจรักษาทางการแพทย์ หรือการพิมพ์ 3 มิติ ทางสถาปัตย์
พิมพ์ตัวอย่างบ้าน คอนโด หรือการออกแบบวางผังเมือง ก็ดูจะเป็นสิ่งที่ดูน่าสนใจไม่น้อย
- การใช้การพิมพ์ 3 มิติในงานสถาปัตย์ดีกว่าการทำโมเดลด้วยมืออย่างไร ?
- การเตรียมไฟล์สำหรับพิมพ์
- การทำงานของเครื่องพิมพ์ระบบเลเซอร์
- การจัดการโมเดลหลังพิมพ์เสร็จ
การใช้การพิมพ์ 3 มิติในงานสถาปัตย์ดีกว่าการทำโมเดลด้วยมืออย่างไร ?
ต้องขอบอกเลยว่าข้อดีของการพิมพ์ชิ้นงาน 3 มิตินั้นมีข้อได้เปรียบจากการสร้างโมเดลตัวอย่างด้วยมืออยู่หลายอย่างเลยทีเดียว เช่น งานพิมพ์สามารถกำหนดสเกลของโมเดลได้แม่นยำกว่า
โมเดลทำมือ งานพิมพ์ พิมพ์จากโมเดลที่สถาปนิกออกแบบในโปรแกรม 3 มิติได้เลยซึ่งงานพิมพ์จะให้รูปทรงตรงตามแบบ แม้กระทั่งลายละเอียดเล็กๆเช่นกระจก บานเกล็ดต่างๆ ก็คมชัดถูกต้องกว่า
การสร้างโมเดลด้วยมือ นอกจากนนั้นงานพิมพ์ยังแข็งแรงกว่าและหากจะเคลื่อนย้ายเราสามารถออกแบบเป็นบล็อกต่อกันเพื่อให้เคลื่อนย้ายง่ายอีกด้วย และสุดท้ายต้นทุนทางด้านตัวเงินและเวลา
ของการพิมพ์งาน 3 มิติอาจต่ำกว่าการสร้างโมเดลด้วยมืออีกด้วย
วันนี้เราจึงจะมาโชว์การพิมพ์งาน 3 มิติเพื่อให้เป็นไอเดียสำหรับใช้ในวงการออกแบบทางสถาปัตยกรรมให้ดูกัน และเครื่องพิมพ์ ที่เราจะใช้กันในวันนี้นั่นก็คือ เครื่องพิมพ์ 3 มิติไซส์บิ้กที่สร้างงานได้
ระดับอุตสกรรมอย่าง Ray SLA 600 เครื่องพิมพ์ 3มิติระบบ SLA (Stereolithography) สามารถพิมพ์ได้ใหญ่ถึง 600*600*400 mm. วัตถุตั้งต้นเป็นเรซิ่นไวแสงขึ้นรูปด้วยแสงเลเซอร์
ที่จุดเลเซอร์นั้นเล็กมากๆ ทำให้สามารถสร้างชิ้นงานที่ซับซ้อนและรายละเอียดสูงๆได้ ซึ่งระบบการขึ้นรูปเรซิ่นด้วยแสงเลเซอร์นี้เองก็ถือว่าเป็นระบบการพิมพ์ 3 มิติที่สร้างชิ้นงานได้สวยที่สุด
กว่าระบบการพิมพ์แบบอื่นอีกด้วย
โดยการที่เครื่องสามารถพิมพ์งานที่ใหญได้นั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คิด เพราะสามารถต่อยอดทางธุรกิจได้มาก เราไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสำหรับพิมพ์งานขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว
แต่ยังสามารถพิมพ์ขนาดเล็กถึงกลางได้หลายชิ้นในรอบเดียวอีกด้วย ซึ่งสะดวกกว่าการพิมพ์งานบนเครื่องพิมพ์เล็กทีละชิ้นๆ ซึ่งการพิมพ์รอบเดียวดูจะตอบโจทย์ในแง่ของการผลิตมากกว่า
สามารถนำไปปรระยุกต์ใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรมเช่นพิมพ์ตัวอย่างลายพื้นรองเท้า พิมพ์ชิ้นงานตัวอย่างเหรียญ การผลิตโมเดลของเล่นต่างๆ หรือแม้กระทั่งนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบ
เครื่องจักรอุตสาหกรรมได้ เพราะสามารถพิมพ์ทีละเยอะๆได้ เรียกได้ว่าพิมพ์ทุกชิ้นส่วนในทีเดียวเลยก็ยังไหว
และเมื่อพูดถึงการใช้โมเดล 3 มิติสำหรับงานสถาปัตยกรรมกันแล้ว ฉะนั้นโมเดลที่เรานำมาพิมพ์ให้ดูกันในวันนี้จะขอนำโมเดลจากเกมสร้างบ้านสุดฮิตที่หลายคนรู้จักอย่าง Sim City มาพิมพ์ให้ดูกัน
( เป็นการพิมพ์ชิ้นงานตัวอย่างเพื่อโชว์ ไม่ได้มีไว้จัดจำหน่ายแต่อย่างใด ) ซึ่งจะวางใส่ถาดพิมพ์ในทีเดียวแบบจุกๆถึง 13 โมเดลด้วยกัน โดยแตละโมเดลก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป
โดยจะมีรายละเอียดเล็กๆ เช่น หน้าต่าง ประตู ปล่องควัน รถยนต์ ซึ่งเราจะมาดูกันว่า Ray SLA 600 นั้นจะพิมพ์ออกมาได้ดีมีประสิทธิภาพแค่ไหน
การเตรียมไฟล์สำหรับพิมพ์
ก่อนอื่นก็มาเตรียมไฟล์กันก่อนโดยโมเดลที่จะนำไปพิมพ์กับเครื่องเลย์ sla 600 ได้นั้นสามารถใช้ไฟล์ 3 มิติได้หลากหลายสกุล แต่สกุลที่แนะนำและเป็นที่นิยมที่สุดนั่นก็คือไฟล์สกุล .stl
ที่ทำงานได้อย่างเสถียรและใช้ได้ครอบคลุมกับแทบทุกโปรแกรม 3 มิติ โดยโมเดลที่เรานำมาใช้สามารถดาวน์โหลดมาจากแหล่งดาวน์โหลดโมเดลฟรีทั่วไป อย่างเช่น Sketchfab, CG trader,
My Mini Factory, Thingiverse เป็นต้น โมเดลที่ได้ในวันนี้จะเป็นสไตล์การ์ตูนน่ารักๆ จะไม่ได้ อิงตามตึกจริง ไม่ได้เน้นความสมจริงของตึกมากนัก เหมาะกับการนำไปเป็นพร๊อพประกอบฉาก
ถ่ายรูปกับโมเดลตัวอื่นๆ
การพิมพ์งานโมเดล 3 มิติไม่ใช่เพียงแค่นำไฟล์ใส่เข้าไปในโปรแกรมแล้วสั่งปริ้นได้เลย แต่สิ่งที่ควรทำทุกครั้งสำหรับทุกโมเดลขั้นแรกก็คือ การเช็คไฟล์โมเดลก่อนสักนิดว่ามีส่วนที่ผิดปกติหรือไม่ ?
มีจุดที่เสียหายในโมเดลหรือไม่ อย่างเช่น Face ที่เป็นรู, เส้นจุดที่เชื่อมติดกันแปลกๆ เราแก้ไขจุดเหล่านี้ก่อนที่จะนำไปพิมพ์ หรือโมเดลที่มีรูปร่างที่ซับซ้อนมาก หรือมีดีเทลรายละเอียดที่ยิบย่อย
ควรจะต้องประเมินและตัดแบ่งชิ้นงานตามความเหมาะสม เพื่อให้สามารถพิมพ์ชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและซัพพอร์ตไม่ขึ้นบนจุดสำคัญของโมเดล สามารถแกะซัพพอร์ตออกจากชิ้นงานได้ไม่ยาก
แต่ในตัวอย่างที่เรานำมาพิมพ์ในวันนี้เป็นโมเดลที่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมทำให้ไม่มีการจัดการมาก เพียงแค่เช็คจุดความเสียหายถ้าเรียบร้อยดีก็สามารถนำไปพิมพ์ได้เลย
หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่ผู้ผลิตชิ้นงาน 3 มิติทุกคนจะคำนึงถึงคงหนีไม่พ้นในเรื่องของต้นทุนการผลิตอย่างแน่นอน และในทุกๆกรัมของเรซิ่นที่ใช้นั่นคือจำนวนต้นทุนที่ต้องจ่ายไป ซึ่งเราสามารถลดปริมาณ
เรซิ่นที่ใช้ได้จากหลายปัจจัย เช่น การวางชิ้นงานเพื่อให้ไม่ใช้ support มากเกินไป การตัดแบ่งชิ้นงานเพื่อให้ support ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่วิธีหลักๆที่ใช้ในการลดปริมาณการพิมพ์
ที่แทบทุกที่ใช้กันนั่นก็คือ การทำชิ้นงานให้กลวง ยกตัวอย่างตึกนี้ หากพิมพ์โมเดลแบบตันจะใช้ปริมาณเรซิ่นค่อนข้างมาก แต่ถ้าปรับเป็นโมเดลแบบกลวงจะลดการใช้เรซิ่นลงถึง 80% ในขนาดงานเท่ากัน
เมื่อเราทำชิ้นงานให้กลวงเรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญที่จะลืมไม่ได้นั่นก็คือการเจาะรูชิ้นงานเพื่อเดรน หรือเป็นทางระบายของน้ำยาเรซิ่นที่จะขังอยู่ภายในในขณะพิมพ์เพราะหากเราลืมขั้นตอนนี้ไปแล้ว
โมเดล ทั้งชิ้นก็จะไม่ต่างกับการพิมพ์แบบตันนั่นเอง
การทำงานของเครื่องพิมพ์ระบบเลเซอร์
เมื่อเตรียมชิ้นงานวางซัพพอร์ตทำกลวง และเจาะรูเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถส่งไปยังเครื่องพิมพ์ได้เลย เครื่องพิมพ์ Ray SLA 600 จะทำงานโดยใช้ระบบเลเซอร์ขนาดเล็ก ทำให้สามารถ
สร้างรายละเอียด Detail ที่มีความซับซ้อนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ คมชัดสวยงาม ซึ่งถึงแม้การทำงานโดยการยิงเลเซอร์ไปบนน้ำยาเรซิ่นทีละเลเยอร์ ก็ ไม่ได้ใช้เวลานานมาก เพราะเลเซอร์เคลื่อนที่
ด้วยความเร็วสูง โดยงานชิ้นนี้ใช้เวลาไปเพียง 19 ชั่วโมงเท่านั้นเอง นับว่าไม่นานเลยสำหรับการผลิตชิ้นงานปริมาณขนาดนี้ เพราะถ้าหากเรานำไปพิมพ์กับเครื่องพิมพ์โมเดล 3 มิติขนาดเล็ก
อาจต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะพิมพ์ได้ครบทุกชิ้น
การจัดการโมเดลหลังพิมพ์เสร็จ
หลังจากผ่านไป 19 ชั่วโมงไวเหมือนโกหก เราก็ได้ได้ชิ้นงานเมืองทั้งเมืองโมเดลเมือง Sim City ทั้งเมืองที่พิมพ์เสร็จพร้อมกันแล้ว ตัว support ที่ถึงแม้จะมีความแข็งแรงสูง แต่ก็สามารถแกะออกได้ไม่ยาก
เพียงแค่ ใช้เกียงแซะชิ้นงาน 2-3 ทีก็หลุดออกจากถาดพิมพ์แล้ว ซึ่งเราสามารถใช้มือบิดซัพพอร์ตออกจากชิ้นงานได้เลย
หากชิ้นส่วนไหนยังแกะไม่ได้ก็ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน หลังจากที่นำไปความทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดเรซิ่นในเครื่องอัลตร้าโซนิคแล้ว ก็จะทำให้สามารถแกะซัพพอร์ตได้ง่ายมากขึ้น
หลังจากที่ล้างคราบเรซิ่นออกหมดแล้ว เป่าลมเพื่อไล่คราบเรซิ่นที่เกาะอยู่ จากนั้นจะนำไปเข้าตู้อบ UV เพื่อให้โมเดลคงรูปและคงความแข็งแรงไว้ได้อีกนาน
เพียงแค่นี้ก็ได้โมเดลเมือง Simcity ทั้งเมืองแบบสมบูรณ์แล้ว และด้วยความน่ารักของตัวชิ้นงานทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง เช่นจะถ่ายกับตัว Godzilla ที่พิมพ์มาก่อนหน้านี้
ก็ดูเป็นฉากที่อลังการหน้าตื่นเต้นตื่นตาไม่น้อย หรือจะจับคู่กับโมเดลสัตว์ประหลาด ก็สามารถสร้างเป็นเรื่องราว Story ได้ จะนำไปประกอบกับตัวโมเดลอื่นๆเพื่อเพิ่มความน่าสนใจขึ้นก็แล้วแต่ไอเดียเลย
และหากใครกำลังมองหา Printing Service ที่พิมพ์งานขนาดใหญ่ หรือพิมพ์จำนวนมากต่อครั้งเพื่อความเร็วในการผลิตแล้วล่ะก็ ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล ขอแนะนำให้รู้จักกับ MeD บริการรับพิมพ์ชิ้นงาน 3 มิติ โดยเครื่อง 3D Printing ระดับอุตสาหกรรม งานสวย รวดเร็ว คุณภาพสูง มีโชว์รูมบริการพร้อมผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ
-
Large SizeSLA Production
RAY SLA 600 3D Printer Industial Grade (600*600*400)
เริ่มต้น 1.49ลบ. Add to cart -
HotLarge SizeSLA Production
RAY SLA 800 3D Printer Industial Grade (800*800*500)
โปรดสอบถามราคา Add to cart -
HotLarge SizeSLA Production
RAY SLA 1700 Pro 3D Printer Industial Grade (1700*800*600)
โปรดสอบถามราคา Add to cart -
Large SizeSLA Production
RAY SLA 2700 Pro 3D Printer Industial Grade (2700*900*800)
โปรดสอบถามราคา Add to cart