สองหัวฉีด ใน 3D Printer ดีอย่างไร

สองหัวฉีด ใน 3D Printer ดีอย่างไร
บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจของใครหลายๆคนว่า สองหัวฉีดดีอย่างไร? และอีกหลายความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ 2 หัวฉีด หรือ Dual Extrudersduel-extruder-3d-printer

เครื่องพิมพ์ 3มิติ ที่เราพูดถึงกันนี้หมายถึงระบบ FDM หรือ Fused Deposition Modelling เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจาก ราคาถูก และสามารถผลิตชิ้นงานในเครื่องมือเครื่องจักรได้ หัวฉีดที่พบเห็นทั่วไปนั้นจะเป็นหัวฉีดทองหัวเดียว ความเป็นจริงแล้วเครื่องพิมพ์ระดับแพงมากๆที่ใช้ในระดับอุตสาหกรรม เช่นของ Statrasys Fortus นั้นล้วนแต่มีระบบสองหัวฉีดมานานแล้ว คำถามต่อมาคือ แล้วจะมีหัวที่สองไว้ทำไม? คำตอบคือ หัวที่สองนั้นทำหน้าที่พิมพ์ชิ้นส่วนที่ไม่ได้ใช้จริง คือ Support นั้นเอง Support ในที่นี้คือ ส่วนค้ำยันหรือนั่งร้านให้พิมพ์ชิ้นงานออกมาได้โดยไม่ล้มลงเนื่องจากแรงดึดดูดของโลก ดังจากรูปข้างล่างส่วนที่เป็นเขากวางบนๆนั้นไม่สามารถสร้างพิมพ์ได้หากไม่มีส่วนสีขาวมาค้ำยัน ส่วนสีขาวนี่เองที่เรียกว่า Support สุดท้ายแล้วก็ต้องนำส่วน Support นี้ออกด้วยวิธีการต่างๆ คือ แกะเอาโดยใช้แรง หรือ ละลายออกโดยสารทำละลายเป็นต้น

MB_Makerware_2.4.1-FINAL

เรื่องที่เข้าใจผิดมากเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์สองหัวคือ เข้าใจว่าจะทำให้พิมพ์ชิ้นงานได้เร็วขึ้น จริงๆแล้ว 3D Printer แบบ Dual Extruders นั้นไม่ได้ช่วยให้พิมพ์เร็วขึ้นโดยตรง เนื่องจากการพิมพ์นั้นเรียงตามลำดับหัวข้างขวาแล้วค่อยซ้ายต่อการพิมพ์เลเยอร์หนึ่งๆ เมื่อเลเยอร์นั้นเสร็จก็พิมพ์เลเยอร์ต่อไปโดยพิมพ์ขวาก่อนแล้วค่อยซ้ายต่อไปเรื่อยๆ(ซ้ายก่อนหรือขวาก่อน แล้วแต่เครื่อง) ไม่ได้ฉีดเส้นพลาสติกเส้นออกมาพร้อมๆกันในเวลาเดียวกัน จึงไม่ได้ช่วยทำให้พิมพ์เร็วขึ้นโดยตรง แต่ช่วยให้เร็วขึ้นในกรณีพิมพ์ 2 สีเราก็ไม่ต้องหยุดเปลี่ยนเส้น หรือ เร็วกว่าในแง่ให้อีกหัวหนึ่งพิมพ์ Support โดยวัสดุที่ใช้เป็น Support บางประเภทละลายออกในน้ำเปล่า หรือ สารทำละลาย โดยไม่ละลายชิ้นงานที่ต้องการไปด้วย

ข้อดีของเครื่องพิมพ์ 2 หัวฉีด

1. พิมพ์ Support เป็นอีกวัสดุได้
2. สามารถพิมพ์ 2 สีได้
3. อายุการใช้งานยาวนานขึ้น
4. งานไม่สะดุด
DSC_0100

1. พิมพ์ Support เป็นอีกวัสดุได้

ดังที่กล่าวไว้เบื้องต้น หากมีหัวฉีด(Nozzle/Extruder) เพียงข้างเดียว เมื่อพิมพ์ออกมาแล้วจะเอาส่วนที่เป็น Support ออกค่อนข้างยากเพราะเป็นเนื้อเดียวกัน หากมีหัวฉีดสองหัวหรือ Dual Extruder นั้นจะสามารถเลือกหัวฉีดอีกข้างพิมพ์เฉพาะส่วน Support โดยวัสดุเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อให้แกะออกง่ายหรือ ทำละลายออกไปได้ ทำให้สามารถสร้างงานที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น(ในบางกรณีหากพิมพ์จากหัวฉีดเดียว หรือเป็นวัสดุเดียวกันไปเลย จะแกะออกยากหรือ แกะออกไม่ได้เลย) โดยหลักๆแล้วที่นิยมใช้จะมีอยุ่ 2 ชนิดด้วยกัน
HIPS (HIGH IMPACT POLYSTYRENE) เส้นพลาสติกที่มีคุณสมบัติเหมือน ABS แต่ละลายได้ดีใน Limonene


PVA (Polyvinyl Alcohol) เส้นพลาสติกที่ใช้ทำไหมละลายเวลาผ่าตัด เป็น Bio Plastic คล้าย PLA แต่ละลายได้ในน้ำเปล่า

2. สามารถพิมพ์ 2 สีได้

เครื่องพิมพ์แบบสองหัวสามารถ ทำงานสร้างสรรค์ได้มากขึ้น เช่นสร้างชิ้นงานที่มีสองสีในชิ้นเดียวได้เลย หรือ สร้างงานที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น หลากหลายได้มากยิ่งขึ้น
dual-materials

3. อายุการใช้งานยาวนานขึ้น

การมีสองหัวฉีด ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสลับการใช้งาน ระหว่างหัวซ้ายและขวาได้ เช่นใช้หัวซ้าย 2 อาทิตย์แล้วค่อยเปลี่ยนมาใช้หัวขวาอีก 2 อาทิตย์ ทำให้อายุการใช้งานเครื่องยาวนานขึ้นโดยเฉพาะส่วนที่เป็น Heater หากทำความร้อนบ่อยๆนานก็เสียได้ง่าย
Dual-Extruders

4. งานไม่สะดุด

หากหัวใดหัวหนึ่งตัน (ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเครื่องพิมพ์ 3มิติ) ก็สามารถเปลี่ยนมาใช้อีกหัวฉีดได้เลย แล้วค่อยหาวิธีแก้หรือสั่งอะไหล่ให้หัวที่ใช้การไม่ได้ ทำให้งานพิมพ์ไม่สะดุด
DSC_0071