เทคนิคพิมพ์เบื้องต้น Treelike ซัพพอร์ทต้นไม้ ในตำนาน

เทคนิคพิมพ์เบื้องต้น Treelike ซัพพอร์ทต้นไม้ ในตำนาน

ซัพพอร์ท ถ้าในเกมส์คือฝ่ายสนับสนุน “แต่ถ้าสำหรับ 3D คือการเชื่อมต่อระหว่างรากฐานของแผ่นพิมพ์และ Raft” หากขาดไป โมเดลที่มีการยื่น หรือแยกออกมาจะ ไม่สามารถขึ้นรูปได้
เพราะฉนั้นการเลือก Support ให้ถูกต้องกับโมเดล เป็นสิ่งสำคัญ วันนี้เลยหยิบยกการพิมพ์เบื้องต้นของ Flashprint 5 ซึ่งเป็น Slicer ที่ดีที่สุดในการพิมพ์ พร้อมกับเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพสูง แต่ราคาจับต้องได้อย่าง Flashforge Guider lls เท่านั้นยังไม่พอ เพื่อให้โมเดลออกมาสวยสุดเราจะใช้เส้น PLA Matte เส้นสีด้านสนิท ที่ขายดีที่สุดของเรามาใช้งานด้วย พร้อมยกตัวอย่างการพิมพ์ Treelike Support ซัพพอร์ทต้นไม้ที่มีตำนานกล่าวว่า พิมพ์ยาก เนื่องจากหลายๆคนยังไม่คุ้นชิ้นกับมันนั่นเอง

เทคนิคการพิมพ์เครื่อง FDM นั้นมีเยอะมาก โดยแต่ละเทคนิคนั้นต้องบอกเลยว่า ทำให้งานง่ายขึ้นเยอะอย่างมาก
ทั้งการตั้งค่า การใช้ความ รวมถึงการเลือกใช้ซัพพอร์ท วันนี้พวกเรา 3DD Digital Fabrication ได้นำเทคนิคการใช้ Treelike Support
มาให้ได้รับชมและลองทำตามกัน ก่อนเริ่มต้องบอกไว้ก่อนว่า โมเดลที่เอามานี้อาจจะมีความหน้ากลัว แต่ถือว่าเป็นโมเดลที่ใช้เป็นตัวอย่างได้ดี

Flashprint 5

เริ่มต้นโดยการนำโมเดลเข้าโปรแกรม Flashprint 5 เนื่องจากเครื่องที่เราใช้มีชื่อว่า Flashforge Guider lls เป็นเครื่องพิมพ์ 3มิติที่พิมพ์ได้ใหญ่ 280*250*300mm
โครงสร้างปิด แข็งแรง พร้อมใช้งาน ดูแลรักษาง่าย รองรับการพิมพ์ CF-Carbon Fiber, PC-Polycarbonate, Nylon, PLA, ABS หน้าจอใหญ่ Touch Screen
และมี Auto Leveling ช่วยในการปรับฐานพิมพ์ ทำการพิมพ์งานครั้งนี้ออกมาสวยและดูดี และโปรแกรม Slicer ที่ใช้เป็นโปรแกรมที่มากับเครื่อง จึงมีความรู้จักเครื่องนี้ดีกว่าใคร ทำให้การใช้งานง่าย
รวมถึงมี Function และ Feature อื่นๆให้ได้ใช้อีกเพียบ

ฟังชั่น Cut ใช้สำหรับตัดโมเดล เบื้องต้น สามารถใช้ตัดเพื่อแยกพิมพ์แต่ละส่วนของโมเดลได้ด้วย

หลังจากนำโมเดลเข้าสู่โปรแกรมแล้ว ให้ทำการใช้ฟังชั่น Cut เพื่อทำการตัดฐานโมเดล เนื่องจากเราจำทำให้โมเดลของเรามีลักษณะที่ยืนตรง จึงจำเป็นอย่างมากหากรากฐานหรือเท้าของเขาสัมพัสกับ Raft น้อยมากๆ จะเรียกว่า เทคนิกการตัดส่วนเล็กๆบางๆของโมเดลก็อาจจะทำให้งานสำเร็จได้เกิน 50%ขึ้นไปแล้วด้วยเช่นกัน

การตั้งค่าซัพพอร์ท

จากนั้นให้ทำการกดเพื่อใส่ซัพพอร์ท จะอยู่ที่เดียวกับตรง Cut Model เมื่อข้างบน แต่จะอยู่ตัวที่ 8 หลังจากกดแล้วจะขึ้นหน้าต่างให้เลือก Supports Options
เพื่อทำการตั้งค่า Supports ก่อนสั่งพิมพ์ตรงนี้จะเป็นจุดสำคัญ งานทั่วไปส่วนมากจะใช้เป็น Linear เนื่องจากเป็นSupports ที่ขึ้นชิ้นงานได้ง่าย เหมาะมากกับสาย Engineer
งานที่ไม่ต้องการความสวยงาม งานที่จะนำไปขัดหรือทำต่อ ซึ่ง Treelike จะเหมาะมากกับสายงาน Model งานที่เน้นความละเอียด และดูไม่ค่อยจะแข็งแรงในตอนแกะซัพพอร์ทนั่นเอง

เพิ่มซัพพอร์ทขึ้นจากเดิม 20-30%
ตั้งค่าเพื่อ Slicer

หลังจากที่เราทำ Treelike Support เสร็จจะเป็นการตั้งค่า Slicer ของเครื่องเพื่อบอกให้เครื่องจะทำงานอย่างไร อย่างที่บอกไปเบื้องต้นว่าเป็นโปรแกรมที่ฉลาดเนื่องจากเป็นของเครื่อง Flashforg นั่นเองทำให้ไม่ต้องตั้งค่าอะไรเยอะแยะ เพียงแค่บอกเครื่องให้ถูกว่าใช้ Filament ชนิดไหน ที่เหลือจะมีการกำหนดค่ามาให้หมดแล้ว สิ่งที่ต้องทำเพิ่มมีเพียงการเพิ่ม Infill จากเดิม 15% เป็น 20% – 30% จะช่วยให้เวลาตอนที่เรา ทำการงัดเพื่อแกะซัพพอร์ทออก ตัวชิ้นงานจะยังคงแข็งแรง ไม่แตกและหักง่าย เนื่องจากเส้นที่เราใช้เป็นเส้น PLA Matte เป็นเส้นชนิดด้านสนิทของทางเรา 3DD ซึ่งยอมรับว่ามีความแข็งแรงและความเหนียวของเขาอยู่แล้ว แต่อย่าลืมว่า
เขาเป็นเพียง PLA เพิ่งออกมาจากความร้อนใหม่ๆ เจออากาศที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ยังไงก็มีความเสี่ยง จะยอมให้ผลงานที่ลงทุนพิมพ์มาทั้งหมด 50++ชั่วโมงพังหรอ นั่นคือเหตุผลที่ทำไมต้องเพิ่มเติม Infillกับชิ้นงาน และอย่างต่อไปที่ควรเพิ่มคือ Solid Layers เป็นหน่วยที่ใช้เป็นชั้นจากซัพพอร์ทก่อนถึงชิ้นงาน ช่วยให้งานแกะง่ายขึ้นเพิ่มจากเดิม0 ไม่เกิน 3และจากนั้นกดที่ Slice เพื่อดู Preview ก่อนสั่งการทำงาน

งานช้า แต่งานสำเร็จชัวร์

หลังจากผ่านไป 2วันกว่า หรือ 55.5ชั่วโมง ก็เสร็จแล้ว ในวันแรกๆมีความกลัวว่า ซัพพอร์ทจะล้มและทำให้ขึ้นชิ้นงานไม่สวย เนื่องจากมีช่วงตรงกลางของโมเดล ที่เราไม่ได้เสริม Support เนื่องจาก “ลืม” คำสั้นๆที่งานเกือบจะพังซึ่งถ้าเป็น 3D Printer เครื่องอื่นๆอาจจะได้บอกลากันตั้งแต่วันแรกแล้ว เนื่องจากซัพพอร์ทที่ล้มจะทำพบกับปัญหามากมายหลักๆ เช่น ชิ้นงานไม่สามารถขึ้นรูปได้ หรือเลเยอร์ล้มเป็นต้น จากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่า เวลาแกะซัพพอร์ท จะไม่ได้ใช้เครื่องมือใดๆเลย เนื่องจากซัพพอร์ทที่เราตั้งค่ามานั้นแกะง่ายจริงๆ และนอกจากแกะง่ายแล้วตัวชิ้นงานที่ออกมาก็แทบไม่ได้ทำอะไรเลย จะเรียกว่างานดิบเลยก็ว่าได้ ซึ่งงานดิบสำหรับ 3D Printer จะเป็นไปได้อยากมากที่จะออกมาสวยงามตั้งแต่เริ่มแรกๆ แต่เครื่องทุกเครื่องของ Flashforg นั้นเป็นไปได้ง่ายมาก เนื่องจากเป็นเครื่องแบบปิด ทำให้ควบคุมอุณหภูมิได้ง่าย รองรับการพิมพ์ได้หลากหลายวัสดุ ลำพังการพิมพ์เพียงแค่ PLA บอกเลยว่า สบายมากๆและหมดกังวลเรื่องกลิ่น ปลอดภัย สามารถติดตั้งเครื่องได้ทุกที่ โดยที่ไม่ต้องหาที่ครอบเลย

สวยงามตามท้องเรื่อง

สรุป

การใช้ Support สำคัญหรือไม่ คำตอบคือ สำคัญมากๆ หากไม่มีซัพพอร์ทตัวชื้นงานจะขึ้นรูปได้ยากมาก หรือหากใช้ซัพพอร์ทไม่ถูกต้อง ตั้งค่าไม่ดี หรือโหลดโมเดลที่มีการใส่ซัพพอร์ทมาให้อยู่แล้ว จะทำให้ตัวชิ้นงานของเรานั้นในตอนแกะชิ้นงานอาจจะมีความเสียหายอย่างมาก หรือสำหรับบางงานอาจจะได้พิมพ์ใหม่ไปเลยก็เป็นไปได้ และการแกะซัพพอร์ทก็อาจจะทำให้โมเดลมีการแตกหัก ซึ่งการใช้เส้น Filament ก็สำคัญเช่นกันเนื่องจาก เส้น PLA ทั่วๆไปจะมีการขึ้นรูปที่ไม่คงที่เนื่องจากอาจจะมีฟองอากาศอยู่ในเส้นหรือบางทีเส้นชื้นบ้างก็มี หรือคุณภาพไม่ดีก็มีผลเช่นกันแต่เส้นของเรา 3DD Digital Fabrication เป็นเส้นที่มีมาตราฐานสูง ผู้ใช้ส่วนใหญ่ให้การยอมรับ และไม่เคยทำให้ผิดหวัง โดยเฉพาะ PLA Matte ,PLA Pro เป็นเส้นที่ขายดีที่สุดของเราในตอนนี้ โดยวัดจากอัตราการซื้อซ้ำของลูกค้า เครื่องที่ใช้ในการพิมพ์ Flashforge Guider lls เป็นเครื่องพิมพ์ระดับกลางจนถึงอุตสาหกรรมได้เลยนับว่าเป็นเครื่องที่มีคุณภาพสูงมากๆ สามารถพิมพ์งานได้สวยงาม และรองรับได้หลายวัสดุมากๆ


เครื่องที่แนะนำ

วัสดุการพิมพ์ที่พูดถึงด้านบน

โปรแกรม Slicer