รีวิว David SLS3 HD 3D Scanner

รีวิว David SLS3 HD 3D Scanner

คราวนี้เรามารีวิว สแกนเนอร์เกรดอุตสาหกรรมจากเยอรมัน ความละเอียดในการสแกนสูงสุดถึง 0.05mm หรือ 5Micron ซึ่งจัดเป็นตัวที่ละเอียดสูงในท้องตลาด หลักการสแกนนั้นเป็นระบบ Light Processing เช่นเดียวกับเครื่อง EinScan-S ที่เรารีวิวไปเมื่อคราวที่แล้ว เมื่อเทียบ David SLS3 HD 3D Scanner กับ EinScan-S แล้ว David จะละเอียดกว่าประมาณ 5 เท่า โดยการสแกนแต่ละช๊อตนั้นสามารถมี Polygon ได้ถึง 2.3 ล้านโพลิกอนกันเลยที่เดียว (ปกติโมเดลหนึ่งๆจะสแกนตั้งแต่ 10 ช๊อตขี้นไป)

s906715801739130113_p40_i11_w940

มีอะไรบ้างในกล่อง

ในกล่องประกอบด้วยด้วยส่วนหลักๆอยู่ 6 ส่วนคือ ตัวโปรเจคเตอร์ที่ปรับระยะโฟกัสได้, เลนส์เกรดอุตสาหกรรมที่ปรับระยะโฟกัสและรูรับแสงได้, ขาตั้งกล้องและรางสไลด์อลูมิเนียมสีแดง, Dongle โปรแกรม โดยขณะใช้งานโปรแกรมต้องเสียบ Dongle นี้ที่พอร์ท USB ไว้ตลอดเวลา, Calibration Board และสุดท้าย คือสายไฟและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ

– โปรเจคเตอร์ เป็นโปรเจคเตอร์ที่โรงงาน Acer ทำมาเพื่อ David มีกำลังไฟค่อนข้างสูงและปรับระยะโฟกัสได้จากใหญ่ถึงเล็ก ใช้เป็นแหล่งกำเนิดแถบแสงส่องไปยังชิ้นงานให้กล้องจับภาพอีกครั้ง
– กล้อง เป็นส่วนสำคัญของตัวเครื่องเลยก็ว่าได้ กล้องดี ปรับโฟกัสและรูรับแสงดี ก็จะได้งานที่ดี
– ขาตั้งกล้อง ขาตั้งกล้องที่แถมมาถือว่าคุณภาพดีผลิตในยุโรป แต่ไม่ได้พิเศษอะไร ที่พิเศษคือรางสไลด์ที่แถมมา เป็นอลูมิเนียมสีแดง งานสวยและดูดี เป็นส่วนยึดกล้อง และโปรเจคเตอร์ไว้

Projector, กล้อง HD, รางสไลด์, ขาตั้งกล้อง
Projector, กล้อง HD, รางสไลด์, ขาตั้งกล้อง

– Software ในรูปแบบของ Dongle USB (อันนี้สำคัญห้ามทำหาย Copy ไม่ได้ หายแล้วใช้ Software ไม่ได้ต้องซื้อใหม่อย่างเดียว ซึ่ง Dongle ตัวนี้ถ้าขายแยกราคาแพงที่สุดในชุด)

1-david4
Software ในรูปแบบ Dongle

– Calibration Board สำหรับปรับค่ามาตรวัดของโปรแกรมส่วนนี้จำเป็นต้องทำทุกครั้งที่มีการปรับโฟกัส (ถ้าไม่ปรับไม่เลื่อนระยะกล้องไม่ต้องปรับใหม่ ใช้ได้ตลอด) ตัวแผ่นทำจากกระจก ต้องระมัดระวังให้ดีในการขนส่ง ทางเรามีประสบการณ์รับสินค้า แล้วพบว่าแผ่นแตก ต้องส่งเคลมให้ลูกค้า

Calibration Board ทำมาจากกระจก
Calibration Board ทำมาจากกระจก

– สายต่อพ่วงอื่นๆ มีเช่น HDMI USB3.0 สายไฟฟ้า Adaptor ปลั๊กไฟทั่วโลก และสิ่งพิมพ์ต่างๆ หนังสือคู่มือหลายภาษาเป็นต้น

หลักการทำงาน

หลักการทำงานของเครื่องง่ายๆคือ “Projector ฉายแสงไปที่วัตถุ กล้องจับภาพที่แสงที่สะท้อนกลับออกมาจากวัตถุ ส่งไปประมวลผลในคอมออกมาเป็นโมเดล 3มิติ” โดย Software จะประมวลผลและต่อชิ้นงานที่เราสแกนแต่ละ shot จนครบ Software สามารถต่อให้เองโดยอัตโนมัติ หรือ เราจะต่อเองก็ได้ ซึ่งไม่ได้ยาก (โดยปกติโมเดลหนึ่งๆนั้นต้องสแกนมากว่า 10 shot ขึ้นไป) ในรุ่นนี้สามารถ Scan โดยเก็บ Texture สีได้เลยเหมาะกับผู้ทำงาน Animation หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการทำงาน

1. Focus adjusting ก่อนการสแกนชิ้นงานจะเริ่มต้นด้วยการปรับระยะโฟกัสของการสแกนก่อน เช่นหากวัตถุมีขนาดเล็กก็ปรับโฟกัสของ Project ฉายภาพเล็กตามรวมถึงปรับโฟกัสกล้องให้เห็นวัตถุชัดที่สุด หากเราปรับ Projector ให้ฉายภาพใหญ่กล้องมองเห็นมุมกว้างไปสแกนงานชิ้นเล็กๆ รายละเอียดที่ได้จากการสแกนก็จะไม่ละเอียดเป็นต้น

อันนี้ข้อดีของเครื่อง Scanner David SLS-3 HD 3D Scanner เลยเพราะสามารถปรับโฟกัสของ Projector และ กล้องให้สัมพันธ์กับขนาดชิ้นงานได้ เลยสามารถสแกนได้ทั้งชิ้นเล็กๆ จนถึงรถยนต์เป็นคันๆได้เลย


2. Calibration เมื่อทำขั้นตอนที่หนึ่งเสร็จ เราต้องมาทำการ Calibrate ระยะในการสแกนเพื่อให้การสแกนออกมาเป็น Scale ที่ถูกต้อง/ให้ได้ค่าที่แม่นยำที่สุด การ Calibrate ทำได้ไม่ยากโดยใช้แผ่นกระจก Calibrate ที่แถมมาอยู่ในชุดอยู่แล้ว กรณีไม่มีการปรับระยะโฟกัส ไม่จำเป็นต้องทำการ Calibrate อีกรอบ เราสามารถใช้เครื่อง Scanner ไปได้ตลอดจนกว่าจะมีการปรับ Focus อีกครั้ง

3. Scan หากทำขั้นที่หนึ่งและสองเสร็จแล้วมาถึงการ สแกน โดยเราสแกนด้านไหนก่อนก็ได้ เราสามารถเลือกคุณภาพการสแกน สแกนแบบมีสี/ไม่มีสี เมื่อกดสแกนโปรเจคเตอร์จะฉายแถบแสงลักษณะต่างๆไปยังวัตถุ ซึ่งกล้องจะจับภาพ และประมวณผลออกมาเป็นชิ้นงาน 3มิติ หน้าที่ของเราคือสแกน shot อื่นต่อไปเรื่อยจนเราพอใจ (เหมือนการถ่ายรูป Panorama ในกล้องมือถือ) เราแนะนำให้ภาพที่สแกนต่อไปมีส่วนของชิ้นงานเดิมอยู่ 40% software จะต่อภาพให้ หรือ Align ได้ดี

4. Align การ Align คือการต่อพื้นผิวสามมิติที่เราสแกนในแต่ละ Shot นั่นเอง เราสามารถเซ็ทให้โปรแกรมทำการต่อพื้นผิวให้เองหรือกำหนดค่าเองก็ได้ ในบางครั้งบางมุมเราต้องทำการ Manual Align ซึ่งไม่ได้ยากอะไรทำเพียงให้กำหนดจุด
5. Fuse Model หลักจากที่เราสแกนได้พื้นผิวหลาย Shot แล้วเราสามารถรวมพื้นผิวทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นชิ้นเดียวกันได้ สามารถเลือกแค่รวมผิว หรือ รวมผิวและทำให้เป็นชิ้นงานตัน(Solid) ได้

ผลงานที่ได้ออกมา

-งานที่ออกมามีคุณภาพสูง ข้อดีของเครื่องสแกนตัวนี้ สามารถทำงานครอบคลุมต้องแต่ขนาดหัวแม่โป้ง ถึง รถทั้งคัน โดยคุณภาพไม่ได้ลดทอนไป
-สามารถเลือกความละเอียดสูงได้ หรือสามารถ Export มาเป็นแต่ละ Shot ได้เลยซึ่งงานที่ออกมาได้ทั้ง Surface และ point

สแกนล้อแม็ก สามารถไปใช้งานต่อ Reverse Engineer ได้
สแกนล้อแม็ก สามารถไปใช้งานต่อ Reverse Engineer ได้
สแกนรถมอเตอร์ไซด์ทั้งคัน (รูปนี้ลดทอนโพลิกอนลงมาแล้ว)
สแกนรถมอเตอร์ไซด์ทั้งคัน (รูปนี้ลดทอนโพลิกอนลงมาแล้ว)

งานที่สามารถประยุกต์ใช้ได้

1. สแกนเชิงวิศวกรรม หรือ 3D Scan for reverse engineer เนื่องจากสามารถสแกนได้ตั้งแต่ชิ้นงานเล็ก จนถึงใหญ่ ไฟล์ที่ได้แม่นยำ จึงนิยมไปใช้ทั่วโลก เช่น งานเกี่ยวอุตสาหกรรมยานยนต์ Console กันชนรถ หรือ ชิ้นส่วนเครื่องจักรอุตสาหกรรม
2. สแกนงานประติมากรรม งานเกี่ยวกับรูปปั้น, รูปแกะสลัก ทั้งนูนสูง นูนต่ำ หรือ ลอยตัว
3. สแกนเชิงการแพทย์ นำไปสแกนรูปมือ รูปเท้า ลักษณะทางกายวิภาคเป็นต้น

เงื่อนไข และข้อจำกัดในการสแกน

ส่วนนี้คิดง่ายๆจากหลักการ “Projector ฉายแสงไปที่วัตถุ กล้องจับภาพที่แสงที่สะท้อนกลับออกมาจากวัตถุ ส่งไปประมวลผลในคอมออกมาเป็นโมเดล 3มิติ” อะไรที่ทำให้กล้องจับไม่ได้หรือจับแล้วเพี้ยน ก็จะสแกนไม่ดี ซึ่งสิ่งเขียนต่อไปนี้เป็นมีผลกับ 3D scanner ทุกประเภทที่มีการใช้กล้อง
1. วัสดุที่เงา/วาว/สะท้อนแสง เนื่องจากกล้องไม่สามารถจับได้ว่าวัสดุอยู่ห่างเท่าใดขนาดเท่าไร เนื่องจากภาพที่จับได้เป็นภาพที่พื้นผิวนั้นๆสะท้อน
2. วัสดุที่โปร่งแสง/โปร่งใส กล้องไม่สามารถจับได้ว่ามีวัสดุอยู่ หรือ จับได้ผิดพลาดเนื่องจากมีการหักเหของแสง
3. วัสดุสีดำ กล้องไม่สามารถจับได้ว่ามีวัสดุอยู่ เนื่องจากไม่มีการสะท้อนของแสงออก พื้นผิวดูกลืนแสงทั้งหมดไป
**อย่างไรก็ตามเรื่องนี้แก้ได้ง่ายๆ คือฉีดสเปรย์แป้ง** ฉีดแล้วเช็ดหรือล้างออกได้

ข้อดี

1. งานสแกนคุณภาพ จัดสูงสุดตัวหนึ่งในท้องตลาด
2. ราคาไม่แพงมาก หากเทียบกับคู่แข่งอื่นๆ คู่แข่งราคาอยู่ 5แสน-หลายล้านบาท
3. ใช้เวลาในการสแกนไม่นาน งานคลอบคลุมตั้งแต่งานชิ้นเล็กไปจนชิ้นใหญ่
4. สแกนได้ Texture สีเลย สีดูสมจริง

ข้อเสีย

1. ในเซตไม่มีแถม Turn Table มาให้ ต้องซื้อแยกซึ่งราคา 4-5 หมื่นบาท
2. เนื่องจากสแกนละเอียด ต้องใช้เครื่อง PC ค่อนข้างแรงตามไปด้วย

 

Compare1

Compare2

Compare3

เรามาชมผลงานจากเครื่อง David SLS-3 กันเพิ่มเติมนะครับ คราวนี้มาเพิ่มกันในส่วนของงานสแกนรูปปั้น องค์พระ และงานแกะสลักไม้ งานออกมาคุณภาพสูง-สูงมาก ขึ้นอยู่ว่าต้องการให้ละเอียดขนาดไหน (ความละเอียดกลางๆไฟล์ใหญ่ประมาณ 400Mb หากเลือกสูงมากๆไฟล์จะอยู่หลาย Gb)
งานสแกนที่ได้สามารถนำไปใช้กับเครื่องมืออื่นๆต่อไป เช่น เครื่อง 3D Printer, CNC Router กัดโฟม, เครื่อง RP หรือ DLP Printer เพื่อนำไปทำเป็นพระเครื่ององค์เล็กๆ

สแกน 3มิติ
ของจริง vs ไฟล์เมือสแกน

สมมติเรามีช่างปั้นหุ่นขี้ผึ้ง หรือ มีต้นแบบอยู่แล้ว มีความสูงซัก 50cm แล้วอยากทำองค์พระให้มีหลายขนาด เช่น พระเครื่องสูง 2.5cm (ใช้เครื่อง DLP Printer พิมพ์), องค์พระสูง 10-30cm(ใช้เครื่อง FDM Printer) , องค์พระสูง 2เมตร (ใช้ CNC Router กัดโฟม) เราไม่จำเป็นต้องจ้างให้ช่างทำหรือปั้นหลายขนาดเราทำขนาดเดียวแล้ว Scan เมื่อได้ไฟล์ก็นำไปย่อหรือขยาย เพื่อให้ได้ขนาดที่ต้องการต่อไป

ต้นแบบใน โพสนี้จะมีตัวอย่างชิ้นงานอยู่ทั้งหมด 3 ชิ้น เป็นขี้ผึ้ง2 และ แกะสลักด้วยไม้1
ต้นแบบที่หนึ่ง ใช้เวลาในการสแกน 14 นาที ทั้งหมด 16 shot ใช้โหมดต่อพื้นผิวอัตโนมัติ
Untitled-1
Untitled3
David SLS Mong1


ต้นแบบที่สองใช้เวลาในการสแกน 17 นาที ทั้งหมด 18 shot ใช้โหมดต่อพื้นผิวอัตโนมัติ
Untitled-3

Untitled-4

Untitled-2


ต้นแบบที่สาม เป็นรูปแกะสลักไม้สแกนทั้งหมด 18 shot ใช้เวลาในการสแกน 25 นาที ใช้โหมดต่อผิวเองอัตโนมัติ

Untitled-1

Untitled-5