จากงานสแกนสู่งานพิมพ์สามมิติสำหรับชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์

จากงานสแกนสู่งานพิมพ์สามมิติสำหรับชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์

เทคโนโลยีสามมิติเป็นเครื่องมือที่เป็นที่ชื่นชอบและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลกสำหรับนักประดิษฐ์ นักออกแบบมืออาชีพและวิศวกร การสแกนงานสามมิติในปัจจุบันสามารถเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานของนักออกแบบได้มากขึ้นโดยการสแกนแล้วตกแต่งไฟล์เล็กน้อยจากนั้นก็นำมาพิมพ์ได้ทันทีเลย ซึ่งจะประหยัดเวลามากกว่าการวาดขึ้นมาใหม่มาก

ขั้นที่1 สแกน
การสแกนงานให้มีความเรียบร้อย ครบทุกรายละเอียดจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เป็นอย่างดี และยังช่วดทดแทนกระบวนการออกแบบที่ซับซ้อนและอำนวยความสะดวกให้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆขึ้นมาให้หลากหลายมากขึ้น
ในงานนี้ได้ใช้EinscanHXในการสแกนชิ้นงานท่อเหล็กด้านซ้ายของมอเตอร์ไซด์ หลังจากที่แสกนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะได้ชิ้นงานที่เป็นไฟล์นามสกุล.Stl เพื่อนำมาใช้ในขั้นตอนต่อไป

ขั้นที่2 การออกแบบ
หลังจากที่ได้ไฟล์.STL มาแล้วก็จะทำการนำไฟล์เข้าสู่โปรแกรมVoxeldance เป็นซอร์ฟแวร์เสริมสำหรับการเตรียมชิ้นงานและช่วยลดเวลาและช่วยจัดการกระบวนการขึ้นรูปงาน เดิมทีไฟล์SLTจะเป็นไฟล์ที่ประกอบไปด้วยรูปทรงเรขาคณิตต่างๆซึ่งจะถูกซ่อมแซมและปิดพื้นผิวด้วยโปรแกรม เนื่องจากท่อเหล็กสองท่อนนี้ถูกเชื่อมกันแบบสมมาตร จึงได้ทำการสร้างงานในรูปแบบตรงข้าง(งานMirror)เพื่อหาลักษณะดั้งเดิมและซ่อมแซมส่วนที่หายไป

ขั้นตอนที่3 การขึ้นรูป
การขึ้นรูปงานโลหะด้วยการพิมพ์สามมิติจะใช้เครื่องพิมพ์ระบบSLM EP-M250pro ในการพิมพ์ หลังจากพิมพ์แล้วตัวงานสามารถเอาออกมาได้อย่างง่ายดายจากฐานรองพิมพ์ ซึ่งการจัดวางชิ้นงานและการวางซัพพอร์ตของตัวงานถูกให้ง่ายขึ้นจากโปรแกรมVoxeldance ด้วยAutomaic Support Function ที่กำหนดค่าซัพพอร์ตไว้ล่วงหน้าแล้ว ทำให้การพิมพ์ท่อเหล็กสองท่อนั้นใช้เวลาเพียง4.5ชั่วโมง

ขั้นตอนที่4 เก็บงานขั้นตอนสุดท้าย
หลังจากที่ได้งานมาจากเครื่องแล้วก็นำซัพพอร์ตออกจากนั้นขัดแต่งด้วยกระดาษทรายและทำการพ่นด้วยผงคอรันดัมสีขาวเพื่อเพิ่มความสวยงามของชิ้นงานก็เป็นอันเสร็จ

ที่มา: Shining3D

สแกนเนอร์ที่น่าสนใจ

ซอร์ฟแวร์ที่น่าสนใจและเหมาะกับงานสแกนเพื่อพิมพ์

เครื่องพิมพ์ระบบSLM