Update: การพิมพ์โมเดล ที่มีรายละเอียดเยอะ และเทคนิคการพิมพ์งานเบื้องต้น

Update: การพิมพ์โมเดล ที่มีรายละเอียดเยอะ และเทคนิคการพิมพ์งานเบื้องต้น

การพิมพ์โมเดล ขนาดทั่วไป ที่มีรายละเอียดเยอะ ทั้งโครงสร้าง กล้ามเนื้อ และเส้นขน ของโมเดล
โดย3D Printer FOTO 8.9 Mono 4K ระบบเรซิ่น LCD ที่จะใช้คู่กับ Washable Resin ที่สามารถล้างได้ด้วยน้ำเปล่า ไม่ง้อแอลกอฮอล์ IPA
รายละเอียดของโมเดล กล้ามเนื้อและเส้นขนจะหายไปกับการล้างน้ำไหมนะ และมีเทคอะไรให้การพิมพ์งานให้ง่ายขึ้น โดยแทบไม่ต้องใช้อะไรเพิ่มเลย ไปดูกัน!!

คอนเท้นท์นี้จะเริ่มตั้งแต่การตั้งค่าการจัดวางของโมเดล ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการประกอบโมเดลกับฐานที่ใช้ตั้งโชว์
ในการพิมพ์ครั้งนี้จะไม่ได้ใช้ Slicer ของ Flashforge เนื่องจากความถนัดไม่เหมือนกัน โดยแอดมินจะใช้ Slicer ของ Chitubox เริ่มตั้งแต่นำโมเดลโยนใส่โปรแกรม
และทำการจัดวางให้เป็นที่เป็นทาง ซึ่งแล้วแต่เรา จากนั้นก็ทำการตั้งเอียงโมเดล ประมาณนึง เพื่อเลี่ยงซัพพอร์ท จากนั้นให้ทำการ Hollow Model เพื่อทำให้โมเดลกรวง จะช่วยให้ประหยัดเรซิ่นมากขึ้น
จากนั้นก็ทำการกดที่ Dig Hole เพื่อทำการเจาะรูให้น้ำเรซิ่นมีทางออก ถ้าใครยังสับสนเกี่ยวกับขั้นตอนตรงนี้ สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ 7ขั้นตอนการใช้งาน Chitubox

การ Slicer ผ่าน Chitubox

หลังจากที่ทำการเตรียมไฟล์เสร็จแล้ว เราจะไม่สั่งพิมพ์ไฟล์ทันที แต่จะทำการเตรียมเครื่องก่อนทำการส่งไฟล์มาพิมพ์ที่ Foto 8.9 โดยการถอดฐานหรือแท่นพิมพ์ออกมา และนำเรซิ่น มาทาให้ทั่ว(ไม่ต้องหนามาก) จากนั้นนำมาให้โดนแดด หรือใช้ไฟฉายยูวี ส่องให้ทั่ว แต่ต้องระวังอย่าส่องจนเรซิ่นแข็งตัว ไม่อย่างนั้นต้องแซะออกและ เริ่มทำการทาเรซิ่นใหม่ วิธีนี้ช่วยให้ตัวชิ้นงานของเราติดฐานดีมากขึ้น

นำเรซิ่นที่อยู่ในเครื่องนำมาทาบางๆที่ฐานพิมพ์ ก่อนทำการสั่งพิมพ์

การพิมพ์ครั้งนี้ใช้เวลาไม่ถึง 6 ชั่วโมงเนื่องจากเครื่อง FOTO 8.9 เป็นระบบ LCD ที่สามารถพิมพ์งานได้ไวขึ้นกว่าเครื่องทั่วไปและไม่ล๊อคน้ำยาเรซิ่น สามารถใช้เรซิ่นได้หลากหลายยี่ห้อ หลายรุ่น
แต่ถ้าให้แนะนำมากที่สุดจะเป็นของตัวเขาเองที่มีชื่อว่า Flashforge Standard Resin ความคมชัดระดับ HD และ Flashforge Washable Resin ที่แอดมินนำมาใช้วันนี้ซึ่งสามารถล้างน้ำเปล่าได้ไม่ต้องใช้ IPA
เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ทำงานในห้องแอร์หรือห้องทั่วไป เพราะกลิ่น IPA แอลกอฮอล์จะไม่ฟุ้งเข้าจมูก และทำร้ายผู้คนรอบข้างแน่นอน และแอบมีทริกเล็กๆในตอนล้างน้ำเปล่านั้นให้ แกะซัพพอร์ทออกไปด้วย เพราะตอนโดนน้ำซัพพอร์ทจะแกะง่ายที่สุด

ซัพพอร์ทแกะง่ายมากกกก

หลังจากที่ทำการล้างและแกะซัพพอร์ทออกแล้ว ให้นำโมเดลไปทำการเป่าชิ้นงาน ให้แห้งหมาด และนำเข้าเครื่อง UV Curing Box FC3 เพื่อให้ตัวโมเดลของเราแข็งแรงขึ้น
และการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น เพราะโมเดลส่วนใหญ่ ที่ทำการพิมพ์ออกมาแล้ว ไม่มีการอบหรือการตากแดดในเวลานาน จะทำให้เนื้อสัมผัสของเขาเป็นเสมือนดินน้ำมัน ทำไมถึงเลือกใช้ UV Curing Box FC3 เพราะตัวเครื่องมีโหมดการใช้งานให้เลือกใช้ ทั้งแบบ เรซิ่นทั่วไป จนถึงเรซิ่นอุตสาหกรรม และสามารถตั้งเวลา พร้อมกับอุณหภูมิได้สูงมากๆ บางงานเรียกว่า ตั้งเวลาน้อยๆเร็วๆ แต่อุณหภูมิสูงได้เลย

อบชิ้นงาน ง่าย ใช้ได้ตั้งแต่ระดับทั่วไป จนถึงระดับอุตสาหกรรม

หลังอบเสร็จแล้ว จะเห็นได้ว่าโมเดลมี2ส่วน คือตัวโมเดล และฐานวางโมเดล ในขั้นตอนนี้เราอาจจะสงสัยกันว่า ถ้าโมเดลไม่ได้ติดกับฐานมาแต่แรก ควรจะทำอย่างไร โดยแอดมินได้ทำการทำคอนเท้นท์เกี่ยวกับการต่อโมเดล ให้ติดกันในส่วนต่างๆมาแล้ว ซึ่งการติดโมเดลกับฐานจะเป็นการใช้ เรซิ่น บีบที่ฐานและนำไฟฉาย UV ในการเชื่อมโมเดลและหลังจากที่ฐานติดกันแล้ว ให้นำเข้าเครื่องอบ UV อีกครั้ง เพื่อให้ เรซิ่น ติดกับฐานได้มั่นคงขึ้น เทคนิคการต่อโมเดล 13ชิ้นง่ายๆ

ถ่ายคู่กับฉากหลังสวยๆ