Reverse Model Vs Real Model การเปรียบเทียบชิ้นงานจริงกับชิ้นงานที่พิมพ์มาใหม่

Reverse Model Vs Real Model การเปรียบเทียบชิ้นงานจริงกับชิ้นงานที่พิมพ์มาใหม่

สวัสดีครับ วันนี้พวกเรา Print3DD ขอนำมาเสนอ การนำไฟล์ที่ได้จากการ Reverse Engieering มาพิมพ์งานใหม่ โดยเริ่มต้นจากการนำชิ้นงานหรือโมเดลงาน ที่ได้จากการสแกนด้วย เครื่องสแกน 3 มิติ โดยครั้งนี้เราได้ใช้เครื่องสแกนรุ่น Einscan Pro 2×2020 หลังจากนั้นเรานำไฟล์ มาผ่านกระบวณการ Reverse Engineering ด้วยโปรแกรม Solid Edge 2021 หลังจากนั้นนำไฟล์ที่ได้นำไปพิมพ์ด้วยเครื่อง Formlabs รุ่น Form3 แล้วนำ โมเดลที่ได้มาเปรียบเทียบขนาดว่าแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด

สแกน3มิติ ด้วยเครื่อง Einscan Pro 2X2020
สแกน3มิติ ด้วยเครื่อง Einscan Pro 2X2020

หลังจากนั้นนำไฟล์ทีได้ มา Reverse Engineering บนโปรแกรม Solid Edge 2021 ไปชมคลิปวิดิโอกันเลยครับ

Reverse File Vs Scan File : เปรียบเทียบชิ้นงานบนโปรแกรม Solid Edge 2021 ครับ
Reverse File Vs Scan File : เปรียบเทียบชิ้นงานบนโปรแกรม Solid Edge 2021 ครับ
Reverse File Vs Scan File : เปรียบเทียบชิ้นงานบนโปรแกรม Solid Edge 2021 ครับ

หลังจากนั้นนำไฟล์ ที่ได้ไป ทดสอบพิมพ์กับเครื่องพิมพ์ Formlabs Form3 กันครับ

นำไฟล์ไปพิมพ์กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ : Formlabs Form3
นำไฟล์ไปพิมพ์กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ : Formlabs Form3

 

ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง พิมพ์เสร้จแล้วครับ
ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง พิมพ์เสร้จแล้วครับ

** ครั้งนี้เราได้ใช้ Wax Resin ในการพิมพ์งาน เป็น Resin ชนิดพิเศษ เมื่อพิมพ์เสร้จแล้ว สามารถนำไปผ่านกระบวณการ Casting หรือกระบวณการหล่อ ได้เลยครับ **

เปรียบเทียบงานจริงกับงานที่พิมพ์มาใหม่ครับ
เปรียบเทียบงานจริงกับงานที่พิมพ์มาใหม่ครับ

สรุปขั้นตอนทั้งหมด
1. สแกนโมเดล ด้วย เครื่องสแกน 3 มิติ – Einscan Pro 2×2020
2. นำไฟล์ที่ได้จากการสแกน มา Reverse Engineering บน SolidEdge 2021
3. นำไฟล์ที่ได้จากการ Reverse Engineering ไปพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ Formlabs Form3
4. นำชิ้นงานที่พิมพ์ใหม่ (Wax Resin) มาเปรียบกับชิ้นงานจริง

** หลังจากที่นำชิ้นงานทั้ง 2 มาเปรียบความแตกต่างกันแล้ว ขนาดมีความคลาดเคลื่อนกันน้อยมากๆ ซึ่งถ้ามองด้วยตาเปล่า อาจจะไม่เห็นถึงความแตกต่างกันเลย แล้วถ้าลองเอาเครื่องมือมาวัดขนาดของทั้งสองแล้ว ก็แทบจะไม่คลาดเคลื่อนเลยครับ โดยทั้งหมดนี้ เรื่องของขนาดและความคลาดเคลื่อน มีผลตั้งแต่การเริ่มสแกน3มิติ , Reverse Engineering , การพิมพ์พ์งาน เลยครับ
สรุปกระบวณการทั้งหมด สามารถทำให้ขนาดของชิ้นงานความเคลื่อนได้ ต้องละเอียดและระมัดระวังกันมากๆ เลยหล่ะครับ