เด็กไทยทันโลก #STEMLAB ห้องแล็ปนวัตกรรมขั้นสูง 200 โรงเรียนทั่วไทย ดาวเทียมก็ทำ หุ่นยนต์ก็มี | Interview

เด็กไทยทันโลก #STEMLAB ห้องแล็ปนวัตกรรมขั้นสูง 200 โรงเรียนทั่วไทย ดาวเทียมก็ทำ หุ่นยนต์ก็มี | Interview

พวกเรา 3DD ได้มีโอกาสพิเศษเข้าสัมภาษณ์ ดร. พิรดา เตชะวิจิตร์ (อ.มิ้ง) อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการบิน วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สจล. ผู้ก่อตั้ง Stemlab ห้องปฏิบัติการเพื่อสร้างนวัตกรรมขันสูงในโรงเรียน กว่า 200โรงเรียน ทั่วประเทศไทย ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ในรูปแบบการเรียนผสมผสาน ที่จะทำให้เด็กไทยได้เรียนรู้และสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง

STEM LAB คือ อะไร?
STEM หรือ สเต็มย่อมาจาก 4ตัวอักษรในภาษาอังกฤกษ เป็นการบรูณาการการสอนรูปแบบใหม่ การเรียนจะไม่ใช่หมวดได้หมวดหนึ่งอีกต่อไป แต่เป็นการประสาน ศาสตร์หลายอย่างเข้าด้วยกัน (ปัจจุบันการอยู่รอดในอนาคต เด็กต้องเรียนรู้ในการประยุกต์ศาสต์แต่ละอย่างเข้าด้วยกัน ความรู้จะไม่ถูกแยก แต่มีแนวโน้มจะรวมกันมากขึ้น)

ที่มาของคำว่า Stemlab
  • Science วิทยาศาสตร์ ที่สังเกตุทดลอง ค้นหาความจริง ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบสมุติฐานที่ถูกต้อง, การสังเกตุธรรมชาติ
  • Technology เทคโนโลยี นวัตกรรมต่าง ๆ ที่มาประยุกต์โดยมากจะอยู่ในรูปแบบ Digital Technology พวกหุ่นยนต์, Coding, การสร้าง CAD-CAM เทคโนโลยีการผลิต 3มิติ 3D Printer, การใช้เครื่องมือ Tooling เช่น Laser เครื่องมือวัดต่าง ๆ
  • Engineering วิศวกรรม การเคลื่อนไหวเชิงกล, Physics การทำงานทางกล Robotics, การสร้าง ผลิต ออกแบบ เครื่องมือ เครื่องจักร ด้วยวิธีการทาง Digital
  • Maths หรือ Mathematics เลข ใช้ในการคำนวน สร้างสมการทางคณิตศาสตร์ การเขียน Code ค้นหาความน่าจะเป็น

เข้าใจอีกอย่างคือ Stem คือการศึกษาแบบผสมผสาน ซึ่งแต่ก่อนเวลาเราเข้าเรียน เราจะเรียนในรูปแบบแยกกันแต่ละวิชา เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ รวมถึงอิเล็กทรอนิกส์ แต่การศึกษา Stem จะนำรวมศาสตร์วิชามาเข้าด้วยกัน หรือบูรณาการและเชื่อมโยง โดยสามารถลงมือปฏิบัติจริง ตรวจสอบเทียบจริง ใช้งานจริง โดยการเน้นในด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรม แบบที่สมัยก่อนเข้าใจเป็นการศึกษาความรู้นอกห้องเรียน โดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือต่างๆ 3D Printer เครื่องตัดเลเซอร์ รวมถึงเครื่องมือช่าง เพราะเราเชื่อว่าถ้าเด็ก ๆ ได้ลองใช้งาน ลงมือทำ สัมผัส ตั้งแต่แรก ๆ จะเข้าในการประยุกต์ การใช้งาน การทำเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิศวกรรมมากขึ้น

จุดเริ่มต้นของ Stemlab
Stemlab มาจากไอเดีย และเริ่มก่อตั้งในปี 2015 (2558)  Stemlab ได้มีการแข่งขันผลิตชิ้นงานขึ้นไป อวกาศที่มีชื่อว่า ASEAN STI YOUTH FORUM 2016 โดยมีทางโรงเรียน คุณครู รวมถึงเด็กๆที่ให้ความสนใจ มีความสามารถอย่างมากในการเข้าร่วม แต่สิ่งที่ขาดคือเครื่องไม้เครื่องมือในการจัดทำและผลิตออกมา เราจึงได้นำเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ จากห้องแลปส์ใหญ่ออกไปเพื่อทำ Stemlab นอกสถานที่ให้กับน้อง ๆ นักเรียน ดูโครงการสร้างดาวเทียม ภูมิใจ เด็กไทยสร้าง ดาวเทียว สู่อวกาศ

ปัจจุบัน Stemlab มีมากถึง 200 โรงเรียน และจะมีเพิ่มอีกในอนาคต
ผู้ก่อตั้ง Stemlab (อ.มิ้ง และ อ.เต้ย)

จากนั้น Stemlab ก็เริ่มต้นขึ้นโดยเริ่มจาก 2 โรงเรียน ในปี 2017 (2560)  โดยมีทีมผู้ก่อตั้งหลัก 2คนคือ  ดร.พิรดา เตชะวิจิตร์ (อ.มิ้งค์) และนายพลกฤษณ์ สุขเฉลิม (ครูเต้ย) ซึ่งทั้งคู่เป็นวิศวกรดาวเทียมมาก่อน ฝั่งของทางอาจาร์ยมิ้งจะอยู่หลักในการสอนของทางภาครัฐบาล ส่วนครูเต้ยจะเป็นในส่วนทางเทคนิคเฉพาะ Stemlab ในปัจจุบันมีทั้งหมด 200 โรงเรียน และจะมีเปิดเพิ่มอีกในอนาคต

Stemlab เข้ามาช่วยพัฒนาอะไรบ้าง ?
ก่อนอื่นต้องบอกว่า เด็กไทยจริง ๆ เก่งมาก และเรียนรู้ได้ไวพอสมควร แต่สิ่งที่ขาดไปคือ อุปกรณ์เครื่องไม้ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการศึกษา และส่วนใหญ่เครื่องไม้เครื่องมือที่ Stemlab ใช้จะมีในเฉพาะทางที่มหาลัยโดยหากไปเริ่มต้นในตอนมหาลัยแล้วอาจจะทำให้เรียนรู้หรืออยู่กับสิ่งนั้นได้ไม่นาน เพราะฉนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Stem ควรมีตั้งแต่ชั้นประถมขึ้นไป โดย Stemlab ก็เริ่มต้นจากมัธยมปลาย และต่อมาก็มัธยมต้น ซึ่งปัจจุบัน ก็มีในช่วงของปฐมวัยด้วยเช่นกัน ซึ่งอย่างน้อย เค้าก็ได้เห็น ได้เข้ามาทำ เข้ามาสัมผัส ถ้าไม่ใช่สิ่งที่เค้าชอบ เค้าจะได้มีเวลาตามหาตัวเอง หรือสิ่งอื่นได้ ถือว่าเป็นการตามหาความฝันของตัวเอง

ถ้าไม่ได้เรียนสายวิทย์ สามารถเข้าร่วมโครงการได้ไหม ?
Stemlab ไม่ว่าจะเรียนสายไหน สามารถขอเข้าใช้ห้องแลปส์ได้เช่นกัน เพราะ Stemlab เปิดกว้างมาก ๆ อย่างเด็กสายศิลป์ ก็มีเข้ามาใช้งานอยู่บ่อยครั้งเพราะว่า การสร้างชิ้นงานศิลปะ ที่ออกแบบมา จะช่วยทุ่นแรงของเขาได้อย่างมาก เพราะเพียงแค่วาดไฟล์ในคอมพิวเตอร์มา ก็สามารถผลิตตัวชิ้นงานออกมาเป็น 2มิติ หรือ 3มิติ ได้แล้ว รวมถึงสามารถสร้างงานตัวอย่างต้นแบบเพื่อทดสอบและใช้งานได้อีกด้วย อย่างเช่นหลายโรงเรียนใช้ Stemlab ในการจัดงานกีฬาสี เช่นการสร้างหัวไม้ ดัมเมเยอร์ การออกแบบดีไซน์ Standing กีฬาสี รวมถึงทำสัญลักษณ์ต่างๆ



เครื่องมือหลัก ๆ Stemlab
โดยภายใน Stemlab จะมี 6ส่วนหลักๆในการเรียนรู้
3D Printer เครื่องพิมพ์ 3มิติ ที่จะสร้างแบบจำลองโดยใช้เส้นพลาสติก ขึ้นเป็นโมเดลทีละชั้นๆหรือ Layer
CNC Laser จะเป็นเครื่อง Laser Cutter,Engraver ที่ช่วยตัดวัสดุตามที่ออกแบบ
Electronic เป็นส่วนสนุบสนุนชิ้นงานด้านอิเล็กทรอนิกส์
Hand tools อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้และใช้งานในประเภทต่างๆ
SCIENTIFIC Instruments เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์
Maker Space หรือจุดสร้างผลงาน

รูปภาพตัวอย่างการใช้ห้อง Stemlab ที่มีหลายรูปแบบ

เกณฑ์ในการเลือกเครื่องมือของ Stemlab
โดยเครื่องมือทั้งหมดผ่านการคัดเลือกและมีเกณฑ์ในการตัดสินที่มีมาตราฐานสูงมากๆ เพราะการเลือกไม่ใช่เพียงต้องการของที่ดีเพียงอย่างเดียว แต่มีปัจจัยในส่วนของงบประมาณด้วยทำให้การเลือกเครื่องมือของเราจำเป็นต้องมีการวิจัย และการทดสอบหลายๆด้าน เนื่องจากสิ่งที่เราต้องการคือของที่ดี ใช้งานได้จริง ปลอดภัย และเหมาะสม รวมถึงการกระจายของไปทั่วทุกโรงเรียนในโครงการ ทำให้วางแผนของงบประมาณเป็นอะไรที่ยากมากๆ จึงได้จัดให้มีการทดสอบกับพาร์ทเนอร์ซึ่ง 3DD มีโอกาสได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง

อุปสรรคของ Stemlab
ในด้านของอุปสรรค อย่างทราบกันว่า เครื่องมือเป็นสิ่งสำคัญ จึงทำให้อุปสรรคทั้งหมดของ Stemlab จะอยู่ที่เครื่องมือ ซึ่งเราจะต้องเลือกสรรคให้มีความแข็งแรงสูง ปลอดภัย เพราะเด็ก ๆ ใช้งานค่อนข้างเยอะมากๆ เช่นบางโรงเรียนมีการทำโครงการข้ามวัน ซึ่งทำให้อย่างเครื่อง 3D Printer ก็ต้องเปิดทิ้งเอาไว้ ทำให้การเลือกเครื่อง 3D Printer ที่มีความทนทานสูง จำเป็นอย่างมากในการเลือก รวมถึงสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย และอย่างต่อมาคือ การทำความเข้าใจกับคุณครู และผู้ดูแล เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า Stemlab ไม่ได้เข้ามาเพื่อเป็นภาระเพิ่มเติม เพราะโครงการ Stemlab มีการออกแบบให้มีวิศวกรประจำห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยเหลือคุณครู เช่นในการสอน ทฤษฎี คุณครูจะเป็นคนสอนในการเรียนการสอนที่ปกติ และในส่วนปฏิบัติซึ่งอยู่ในห้องเรียน Stemlab ทางวิศวกรก็จะช่วยทางคุณครูในการดูแลและสอนเด็ก ๆ นั่นเอง

ถ้าวันนึง Stemlab เป็นหลักสูตรทุกโรงเรียน
สำหรับ Stemlab ที่จริงมีความต้องการให้เป็นหลักสูตรหลักในทุกโรงเรียน เพราะทาง Stemlab ก็พยายามพัฒนาและพลักดันให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะได้เป็นหลักสูตรหลัก ซึ่งในปัจจุบันตอนนี้ก็มีโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรของ Stemlab มาเป็นส่วนเสริมสำหรับสอนนักเรียนถึง 200โรงเรียน ดูโครงการสำหรับปี 2565 26 โรงเรียนในโครงการ STEM LAB สจล. 3D Printer/Laser Machine

Stemlab มีเป้าที่อยากพัฒนา และขยายไปให้ทุกโรงเรียนในประเทศไทย ให้มีโครงการ Stemlab ซึ่งโรงเรียนไหนหากมีความสนใจ สามารถติดต่อทางทีมงาน Stemlab มาได้ที่ https://fablabthailand.com/
หรือหากมีงบประมาณของตัวเองก็สามารถปรึกษาได้เช่นกัน หรืออาจจะเข้าไปเพื่อดาวน์โหลดหนังสือเกี่ยวกับการทำห้อง Stemlab ก่อนได้เลย


เครื่องพิมพ์ 3 มิติระบบเส้น สำหรับผู้เริ่มต้น ฟังชั่นเพียบ สำหรับผู้เริ่มต้น