เมื่องเราพิมพ์ชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ระบบ FDM การขยับของหัวฉีดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดบางครั้งอาจจะยังมีเศษพลาสติกที่ยังติดอยู่ที่ปลายหัวฉีดที่จะทำให้เกิดเส้นไยระหว่างการพิมพ์ทำให้ชิ้นงานไม่สวยและอาจจะทำให้งานที่ปริ้นเสียไปเลยได้ วันนี้ทางเรา 3DD จึงจะมาแชร์วิธีลดการเกิดเส้นไยขณะพิมพ์ดังนี้ ปรับเซ็ทค่า Retraction ด้วยการพิมพ์ Retraction tower Retraction tower เป็นโมเดลที่สร้างมาสำหรับการปรับเซ็ทค่าการดึงกลับของเส้นเพื่อลดการเกิดเส้นไยขณะพิมพ์ การตั้งค่าหลักๆเพื่อทดสอบมีดังนี้ Retraction Distance ระยะการดึงเส้นกลับตอนเคลื่อนย้ายหัวพิมพ์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง Retraction speed เป็นการกำหนดค่าความเร็วในการดึงเส้นเพื่อป้องกันไม่ให้เศษพลาสติกที่ละลายไหลออกเกินมาระหว่างการพิมพ์ ตั้งค่าช่วงอุณหภูมิเพื่อดูผลของชิ้นงานที่เทสการพิมพ์ว่าอุณหภูมิเท่าไหร่ที่จะเหมาะสม หากมากเกินไปเส้นที่ละลายอยู่ในหัวจะมีความอ่อนตัวมากเกินไปและจะทำให้เกิดการไหลเกินที่ปลายหัวฉีด ความเร็วในการพิมพ์ หากพิมพ์เร็วเกินไปอาจจะทำให้การดึงเส้นกลับไม่ทันทำให้เกิดไยได้
Category: 101
ความรู้เบื้องต้น สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาเรื่องเครื่องพิมพ์ 3มิติ ปูความรู้ต่อ Digital Fabrication, 3D Printer, Laser
Slam100 VS Eagle LiDAR เปรียบเทียบแบบหมัดต่อหมัด!
ระบบ LiDAR (Light Detection and Ranging) คือเทคโนโลยีที่ใช้เลเซอร์ในการวัดระยะทางเพื่อสร้างแบบจำลอง 3 มิติของพื้นที่หรือวัตถุ โดยเริ่มพัฒนาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ในด้านการทหารและการบิน ต่อมาพัฒนาร่วมกับระบบ GPS และ IMU ทำให้มีความแม่นยำสูงขึ้น ปัจจุบัน LiDAR ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในหลายสาขา เช่น การสำรวจภูมิประเทศ การวางผังเมือง การเกษตร และระบบรถยนต์ไร้คนขับ
รวม 10 ไฟล์เทสเครื่องปริ้นเรซิ่น
การปริ้นโมเดลที่สมบูรณ์ต้องมีการปรับค่าต่างๆให้เหมาะสมกับชิ้นงานที่เราจะปริ้นและเพื่อเป็นการทดสอบค่าที่เราปรับว่าเหมาะสมหรือไม่ จำเป็นต้องมีการเทสปริ้น วันนี้ทางเรามี 10 ไฟล์เทสปริ้นสำหรับเครื่องปริ้นระบบเรซิ่นมาแบ่งปันกันดังนี้ AmeraLabs Town ออกแบบโดย AmeraLabs ซึ่งเป็นผู้ผลิตเรซินในลิทัวเนีย เป็นส่วนสอบเทียบอเนกประสงค์ที่ทดสอบการตั้งค่าเครื่องพิมพ์และคุณภาพเรซิน โดยรวมแล้ว มีการทดสอบที่แตกต่างกัน 10 แบบที่รวมอยู่ในโมเดลที่เป็นรูปแบบอาคารที่ยื่นออกมาตามมุมต่างๆ Link : AmeraLabs Town | Awesome calibration part for SLA
6 วิธีง่าย ๆ จัดการกับ PLA ไม่ยอมติดกับแท่นพิมพ์
ในการพิมพ์ด้วยพลาสติกยอดนิยมอย่าง PLA มักเจอปัญหาการพิมพ์แล้วชิ้นงานไม่ติดฐานพิมพ์ จนเป็นเรื่องปกติ แต่เรามีข้อแนะนำ 6 วิธีง่าย ๆ ที่จะกำจัดปัญหานี้ออกไป ในแวดวงการพิมพ์สามมิติ ทุกคนน่าจะรู้จัก และเคยใช้พลาสติก PLA กันอย่างแน่นอน เพราะมันพิมพ์ง่าย แต่บางครั้งก็สร้างปัญหาให้ปวดหัวเหมือนกัน ความท้าทายอยู่ที่การพิมพ์ชั้นแรก ๆ ที่ต้องมีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เพราะชั้นแรกเป็นรากฐานของความสำเร็จในการพิมพ์งานชิ้นนั้น ดังนั้นมันจึงต้องติดกับฐานพิมพ์อย่างดี ปัญหานี้รบกวนการทำงานอย่างมาก แต่ก็สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ ต่อไปนี้เราจะเสนอทางออกในการแก้ไขปัญหาที่การพิมพ์ชั้นแรกของ
พิมพ์สามมิติจากโฟม
หากเราพูดถึงโฟม แน่นอนเราต้องนึกถึงเศษโฟมที่มีเยอะเกินไปจนต้องทิ้งและการย่อยสลายที่ใช้ระยะเวลาเป็นพันๆปี Desktop Metal จึงได้คิดค้นเทคโนโลยีการผลิตโฟมด้วยระบบพิมพ์ 3 มิติแบบโฟโตโพลิเมอร์ที่สามารถขยายตัวได้ด้วยการให้ความร้อน ทดแทนการหล่อโฟมและต้องตัดชิ้นส่วนโฟมตามรูปทรงทำให้มีเศษโฟมที่ไม่สามารถนำมาใช้ต่อและไม่สามารถให้รายละเอียดเท่ากับการพิมพ์สามมิติได้ และการพิมพ์สามมิติในปัจจุบันสามารถสร้างรูปทรงเป็นโครงตาข่ายได้ยิ่งทำให้ตัวชิ้นงานที่ผลิตใช้วัสดุน้อยลงและยังทำให้เบาลงอีกด้วย และยังสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในการผลิตชิ้นงานได้หลายอย่าง ตั้งแต่เบาะรองนั่งรถยนต์ แผ่นรองสำหรับอุปกรณ์กีฬา ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ โดยไม่ต้องใช้แม่พิมพ์และขจัดของเสียที่เกิดจากการตัด ปาดโฟมส่วนเกิน ตัวเรซิ่นโฟมสามารถสามารถขายาตัวได้อย่งสม่ำเสมอ 2 ถึง 7 เท่าของขนาดที่พิมพ์ขึ้นมาในอุณหภูมิ 160-170 องศาเซลเซียสขึ้นอยู่กับเกรดของเรซิ่นทำให้การขยายตัวสามารถคุมให้อยู่ภายในค่าความคลาดเคลื่อนที่ต้องการได้ ช่วยประหยัดค่าขนส่งสินค้าเนื่องจากพิมพ์ในขนาดเล็กเพื่อการขนส่งแล้วค่อยนำไปขยาย ทุกปี มีการผลิตโฟมมากกว่า
Full Review : Creality Raptor series ทั้ง 3 รุ่น แตกต่างกันอย่างไร? เลือกอันไหนดี? บทความนี้มีคำตอบ
สวัสดีครับ วันนี้เราจะมา review กันอีกครั้งกับเครื่องสแกนเนอร์ 3 มิติ ของแบรนด์ Creality คือรุ่น CR-Scan Raptor , Raptor Pro และ Raptor X เป็นสแกนเนอร์ 3 มิติ ที่กำลังมาแรงเลยในช่วงนี้ที่ราคาไม่แแพงมาก แถมมยังได้ระบบการสแกนแบบเลเซอร์ด้วยทั้ง แบบขนานและแบบตาข่าย ซึ่งเราก็ได้มีทำบทความเกี่ยวกับการใช้งานตัวเครื่องมาหลายบทความแล้วอย่างเช่น …
สแกนสาทรยูนีค อาคารยักษ์ใหญ่ สัญญะแห่งวิกฤตต้มยำกุ้ง SOW Ep.2
สวัสดีครับ จากกรณีเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร มีศูนย์กลางอยู่ในประเทศเมียนมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 326 กม. แรงสะเทือนถึงประเทศไทยหลายพื้นที่รวม 63 จังหวัด ละมีพื้นที่ได้รับความเสียหายจำนวน 18 จังหวัด รวมถึงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายครั้ง จนสร้างความวิตกกังวลให้หลายๆ คน (https://www.thaipbs.or.th/news) โดยความเสียหายส่วนหนึ่งที่ได้มีการพุดถึงและสร้างความน่าตกใจให้กับสังคมคือ เหตุการณ์ตึกของสำนักงาน
รวมโมเดลทดสอบเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ฟรี
การ Calibrate เครื่องพิมพ์สม่ำเสมอเป็นเรื่องที่ดี ทำให้เครื่องพิมพ์ 3 มิติของเรามีความแม่นยำ ผิวชิ้นงานเรียบสวย และลดอัตตราการเสียของชิ้นงานขณะปริ้น หลังจากการ Calibrate แทบทุกครั้งก็จะต้องมีการพิมพ์ชิ้นงานเพื่อทดสอบเครื่อง ทางเราจึงได้แนะนำโมเดลที่ใช้สำหรับการเทสเครื่องให้ดังนี้ 3D Benchy 3D Benchy เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในการทดสอบพิมพ์ชิ้นงาน ทั้งในด้านความเร็ว overhang Link : #3DBenchy XYZ cube
โหลดฟรี!! 50 โมเดลที่ช่วยให้สนุกในวันหยุด
ใกล้วันหยุดยาวสงกรานต์แล้ว เป็นบ้างไหมที่เบื่อกับการพิมพ์สะเปะสะปะ ไม่มีเป้าหมาย หรือไม่รู้ว่าจะพิมพ์อะไรดีในช่วงว่าง ๆ วันหยุด ลองมาดูรายการของคูล ๆ 50 อย่างที่มีประโยชน์อย่างแน่นอน เรารวบรวมโมเดลที่มีคนชื่นชอบเป็นจำนวนมาก จากหลาย ๆ แหล่ง อัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2025 นี่เอง เป้าหมายก็คือให้เพื่อน ๆ ได้ใช้เวลาในวันหยุดสงกรานต์พิมพ์งานสามมิติที่มีประโยชน์ แล้วยังเท่ด้วย 1 หมวดเครื่องบอกเวลา
แอป 3D modeling บน iPad & Android
Tablet เป็นสิ่งที่เริมมีการใช้งานแทน laptop notebook ในด้านเอกสาร ตัดต่อวีดิโอ แต่งรูป วาดรูป โดยเฉพาะปัจจุบันการการเข้าถึง Tablet ง่ายขึ้นทั้งในเรื่องราคาและสเปคที่แรงขึ้นจากเมื่อก่อนมากจนสามารถประมวลผล 3D ที่ซับซ้อนและสามารถสร้างโมเดล 3 มิติได้ ทางเราขอแนะนำแอปพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับการสร้างชิ้นงาน 3 มิติด้วย Tablet ดังนี้ Onshape เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่เน้นการสร้างแบบ 3 มิติในเชิงผลิตภัณฑ์อย่างจริงจัง และเป็นแอป
เพิ่มความแข็งแรงให้งานพิมพ์ด้วย Brick Layer
มันเป็นสัจธรรมในชีวิตว่างานพิมพ์สามมิติจากเครื่องพิมพ์แบบ FFF (Fused Filament Fabrication) มักจะเกิดจุดอ่อนในตำแหน่งที่เลเยอร์เชื่อมติดกัน บางส่วนเกิดจากการที่มีช่องว่างระหว่างเส้นที่ฉีดออกมา และมีการเชื่อมกันที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งการเพิ่มความหนาผนังก็ไม่ใช่คำตอบเสมอไป แต่คุณสามารถปรับปรุงในส่วนนี้ได้ด้วยฟีเจอร์ที่เรียกว่า Brick layer โดยมันจะจัดการเรียงเส้นพลาสติกสับหว่างกัน ลดช่องว่าง และเพิ่มผิวสัมผัสที่เชื่อมติดกัน เทคนิคการพิมพ์แบบ Brick layer ในงานพิมพ์ 3D ที่จะช่วยให้ชิ้นงานมีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการพิมพ์ปรับเลเยอร์แรก ให้มีความหนาไม่เท่ากัน ดังนั้นชั้นต่อ ๆ
20 ซอฟต์แวร์ 3D สำหรับมือใหม่ 2025
ซอฟแวร์ 3D ที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นไปจนถึงการออกแบบระดับมืออาชีพ ก่อนที่เราจะสามารถพิมพ์ออกมาเป็นวัตถุที่จับต้องได้ จำเป็นต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูป ปรับเปลี่ยน และเตรียมไฟล์สามมิติในรูปแบบดิจิตอลเสียก่อน ซอฟต์แวร์การพิมพ์สามมิติไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้สร้างสามารถออกแบบวัตถุจากด้านในสู่ด้านนอกเท่านั้น แต่ยังให้ภาพตัวอย่างว่าโมเดลจะมีลักษณะอย่างไร และทำงานอย่างไรด้วย ก่อนจะสร้างคำสั่งที่จำเป็นให้กับเครื่องพิมพ์ไปทำการพิมพ์ หรือที่เรียกว่า G-code ต่อไปนี้คือโปรแกรมซอฟต์แวร์ชั้นนำบางส่วนที่เป็นที่นิยมในวงการพิมพ์สามมิติ ซึ่งตอบสนองความต้องการในทุกระดับ ตั้งแต่มือสมัครเล่นไปจนถึงมืออาชีพ ซอฟต์แวร์3 มิติที่แนะนำ Blender Blenderคือซอฟต์แวร์สร้างแบบจำลอง 3 มิติแบบโอเพ่นซอร์สที่รองรับการปั้น การสร้างโมเดลแบบพารามิเตอร์ รวมถึงการบูลีน สามารถบันทึกเป็นรูปแบบไฟล์
7 ความสามารถเด่นของ SLAM 100
สวัสดีครับหากมาถึงวันนี้หลายๆ ท่านคงจะรู้จักับ Slam100 Lidar Scanner กันมาพอสมควรแล้วนะ ใน Content ที่ทางเราได้ทำเพื่อแนะนำอุปกรณ์ไปแล้วครับ แต่สำหรับบางท่านที่พึ่งเราเรียนรู้ และทำความรู้จักกับเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้นั้น ก็อยากที่จะได้รับข้อมูลที่ครบจบภายใน Content เดียวไปเลยใช่มั้ยครับ เพราะเฉพาะนั้นวันนี้เราจะมาสรุป 7 ความสามารถเด่นของ Slam 100 ให้ครบจบใน Content เดียวกันไปเลยครับ ก่อนอื่นของย้อนไปเล่านิดนึงนะครับว่า Slam100 คืออะไ
เล่นสนุกกับคำสั่ง Pause
ใน Slicer ทุกตัวจะมีคำสั่งนึงที่เราอาจจะไม่เคยใช้ และอาจจะไม่รู้ว่ามีประโยชน์อะไร วันนี้เราจะมาแนะนำว่าจะเอาคำสั่ง pause หรือการหยุดชั่วคราว ไปใช้ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง คำสั่ง pause จะเป็นการสั่งให้เครื่องพิมพ์ 3D หยุดพิมพ์ในตำแหน่งเลเยอร์ใด ๆ ตามที่เรากำหนด โดยเราจะเลื่อนตำแหน่งจากสไลเดอร์ขวามือ แล้วกดเม้าส์ปุ่มขวาเพื่อเลือกคำสั่ง pause (ตามรูป) แล้วก็ส่งไปพิมพ์ได้ ทีนี้เรามาดูว่าจะหยุดไปทำไมกันบ้าง ใส่ของเพื่อเซอร์ไพรซ์เพื่อน คนรัก หรือเล่นเกมส์กัน ตัวอย่าง:
วัสดุทางเลือกแทนพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้กากกาแฟพิมพ์ 3 มิติและเห็ด
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันได้พัฒนาเทคนิคการพิมพ์ 3 มิติใหม่ที่เปลี่ยนกากกาแฟใช้แล้วให้กลายเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ กระบวนการนี้ซึ่งมีรายละเอียดในงานวิจัยที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 23 มกราคมในวารสาร 3D Printing and Additive Manufacturing ผสานกากกาแฟกับการเจริญเติบโตของเห็ดเพื่อสร้างทางเลือกที่ยั่งยืนแทนโฟมบรรจุภัณฑ์แบบดั้งเดิม ทีมนักวิจัยได้สร้างวัสดุที่เรียกว่า “Mycofluid” โดยผสมกากกาแฟใช้แล้วกับแป้งข้าวกล้อง สปอร์เห็ดหลินจือ กัมแซนแทน และน้ำ หลังจากพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติแล้ว วัตถุเหล่านี้จะถูกคลุมและปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลา 10 วัน เพื่อให้ไมซีเลียมโครงสร้างรากของเห็ดเติบโตเป็นผิวหุ้มรอบวัสดุ
สนุกกับ Fuzzy Skin
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าคำสั่ง Fuzzy Skin ในโปรแกรม slicer ของตัวเองมีไว้ทำอะไร คำสั่งนี้จะมีอยู่ในแทบทุก slicer เราจะมาบอกว่ามันเอาไว้ทำอะไร และจะเอามาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ตามชื่อ Fuzzy Skin แล้วมันก็หมายถึงพื้นผิวที่ไม่เรียบ ดูหยาบๆ คล้ายผ้าขนหนู มันไม่เพียงแต่สร้างพื้นผิวที่แปลกตาเท่านั้น มันยังใช้ปกปิดรอยต่อ (seam) รอยเลเยอร์ (layer lines) และลดความลื่นบนผิวโมเดลด้วย การทำงานของมันก็คือการขยับหัวพิมพ์แบบสุ่มในขณะที่กำลังพิมพ์ผนังของโมเดล แทนที่จะพิมพ์เป็นเส้นเรียบ
นำไฟล์ SVG มาพิมพ์ 3D
วันนี้ขอแนะนำทริคเล็กๆ ในการนำเอาไฟล์กราฟฟิกประเภท SVG ซึ่งเป็ไฟล์สองมิติมาพิมพ์เป็นสามมิติให้ดูกันนะครับ ในกรณีที่คุณมีรูปภาพที่ต้องการนำมาพิมพ์เป็น 3D เช่น โลโก้ การ์ตูน หรือลวดลายต่าง ๆ แต่ไม่มีโปรแกรม 3D หรือใช้งานโปรแกรม 3D ไม่เป็น เราขอแนะนำวิธีการง่าย ๆ โดยใช้โปรแกรมแปลงรูปภาพ เป็นไฟล์ประเภท vector ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น 3D ในโปรแกรม Slicer
มาลองพิมพ์ 3D ลงบนผ้ากัน
บางครั้งการพิมพ์ 3D แบบธรรมดาก็อาจจะน่าเบื่อ เราจะมาลองทำอะไรแปลก ๆ กันดู นั่นคือการพิมพ์ลงบนผ้า เอาไว้ใช้ตกแต่ง หรือทำ cosplay ก็ได้ หรือเอาไว้ใช้งานหลากหลาย บางคนคิดว่ามันทำยาก แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้ยากอย่างที่คิด เราก็เลยทำให้เพื่อน ๆ ดูเป็นตัวอย่าง ว่าแล้วก็มาดูเลยนะครับ ก่อนอื่นต้องเตรียมผ้าที่จะใช้สำหรับพิมพ์ก่อน ผ้าควรมีลักษณะโปร่งพอสมควร ถ้าเป็นผ้าใยสังเคราะห์จะดีมาก ต้องไม่หนามาก ความหนาไม่เกินความหนาของเลเยอร์ที่จะพิมพ์ (จะได้ไม่ไปเกี่ยวหัวพิมพ์) ผ้าควรจะเรียบพอสมควร
แจกฟรี! ไฟล์แท่นกรองเรซิ่น พร้อมถาดรอง
สำหรับลูกค้าที่ใช้เรซิน 3DD เรามีของมาแจกให้ครับ เป็นแท่นกรองเรซิน ที่ใส่ได้พอดีเป๊ะกับขวด 3DD เลย ไม่โยกเยกแน่นอน ใช้เป็นกรวย หรือใส่ตะแกรงกรองเรซิ่นด้วยก็ได้ มาพร้อมถาดรองกันเรซิ่นหยดเลอะเทอะ ใช้สะดวกสบายขึ้น สองชิ้นนี้ใช้เวลาพิมพ์ประมาณสองชั่วโมงครึ่ง วัสดุ 3DD Speed PLA Pro และพิมพ์ด้วยเครื่อง Flashforge 5M ที่ความละเอียด 0.2 มม. ไม่ต้องใช้
3D Marker คืออะไร? ใช้กับ 3D Scanner อย่างไร? EP2
ใน ep2 นี้เราจะมาทดสอบว่า Markers จะช่วยให้การสแกนดีขึ้น ง่ายขึ้นจริงมั้ย จะเห็นว่าสแกนเนอร์ไม่สามารถเก็นข้อมูลต่อเนื่องได้ เนื่องจากชิ้นงานมีพื้นที่ที่จะให้สแกนน้อย และชิ้นงานเองก็มีรูปร่างที่เรียบ ไม่มีส่วนเว้าส่วนโค้งให้อ้างอิง ทำให้เก็บข้อมูลได้เพียงส่วนที่เริ่มสแกนเท่านั้น เมื่อมี markers เครื่องสแกนสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เก็บข้อมูลได้เพิ่มขึ้น ไม่หลุด งานสแกนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จาก ep ที่แล้วถ้าเราทำ markers tower ไว้แล้ว เราก็ไม่ต้องห่วงเรื่องความสิ้นเปลือง สามารถใส่