Fuse 1+ 30W Nylon 11 CF Powder Made with Carbon Fiber Formlabs มีความภูมิใจที่จะประกาศเปิดตัววัสดุเสริมใยคาร์บอนชนิดแรกในห้องสมุดของเรา นั่นคือNylon 11 CF Powderสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติFuse 1+ 30W elective laser sintering (SLS)
Tag: [SLS Printer]
ลดต้นทุนและของเสียด้วยฟิวส์ 1+ 30W Circular Ecosystem
ลดต้นทุนและของเสียด้วยฟิวส์ 1+ 30W Circular Ecosystem Reduce Costs And Waste With the Fuse 1+ 30W Circular Ecosystem เนื่องจากธุรกิจจำนวนมากต้องการทำให้โครงสร้างและกระบวนการของตนมีความยั่งยืนมากขึ้น การพิมพ์ 3 มิติจึงได้รับการประเมินว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดของเสียในแอปพลิเคชันการสร้างต้นแบบ และการผลิตด้วยการเร่งการทำซ้ำ จัดหาวิธีการผลิตทางเลือก และผลิตเฉพาะสิ่งที่จำเป็น การมีเครื่องพิมพ์การเผาด้วยเลเซอร์ (SLS)
ความก้าวหน้าของ Fuse1+ 30w SLS Printer & Sift
Next Generation in SLS 3D Printing: Fuse 1+ 30W ขอแนะนำรุ่นถัดไปในการพิมพ์ SLS 3D: ฟิวส์ 1+ 30W เป็นรุ่นที่มีความเร็วที่เหนือกว่าและวัสดุประสิทธิภาพสูง เมื่อ Formlabs เริ่มจัดส่งเครื่องพิมพ์ Fuse 1 selective laser sintering (SLS)
อลูมิเนียมผสมนาโนคาร์บอนจากกากน้ำมันเพื่อSLS Printer
นักวิทยาศาสตร์จากมหาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนานาชาติรัสเซียได้ทำการพัฒนาการผลิตนาโนคาร์บอนสำหรับผงอลูมิเนียมเพื่อใช้กับ3D printing สำหรับ การบินและอวกาศ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้เพิ่มความแข็งให้ผงอลูมิเนียมสำหรับ3D Printing ได้1.5เท่าและลดความพรุนลงอย่างมากเพื่อนำไปสู่ความปลอดภัยที่มากขึ้นของการใช้ผงอลูมิเนียมในการผลิตในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ อย่างไรก็ตามการพิมพ์สามมิติชิ้นส่วนไทเทเนี่ยมก็เป็นที่นิยมทั้งในด้านการบิน การแพทย์ และยานยนต์ ซึ่งมีอัตราส่วนความแข็งต่อน้ำหนักสูง โดยที่การพัฒนาการพิมพ์อลูมิเนียมจะเป็นหัวใจหลักให้กับเทคโนโลยีการบินและอวกาศ ความท้าทายอย่างหนึ่งของการพัฒนาการผงอลูมิเนียมเพื่อใช้ในการเทคโนโลยีขั้นสูงคือความพรุนที่มากของตัววัสดุเอง จึงอาจทำให้ตัวงานที่พิมพ์ออกมามีข้อบกพร่องด้านโครงสร้างได้ จึงได้มีการนำเส้นใยนาโนคาร์บอนเข้ามาผสมกับผงอลูมิเนียมเพื่อให้ความหนาแน่นของชิ้นงานที่ถูกพิมพ์ออกมามีความสม่ำเสมอแข็งแรงเท่ากันตลอดชิ้นงาน นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคนิคการใช้ใช้เคมีบำบัด อัลตราโซนิคและความร้อนจากอินฟราเรดในการสังเคราะห์สารนาโนคาร์บอนที่ได้จากกากน้ำมันหลังการเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการย่อยสลายของอนุภาคโลหะในกากน้ำมัน ถึงแม้ว่าไทเทเนียมจะมีความแข็งมากกว่าอลูมิเนียมถึง6เท่าแต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงพยายามที่จะสร้างวัสดุผสมกับอลูมิเนียมต่อไป เพราะว่าผงอลูมิเนียมนั้นมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการใช้พิมพ์ด้วยระบบSelective Laser Melting(SLM) และในอนาคตจะมีการใช้วัสดุสังเคราะห์ในอุตสาหกรรมให้มากขึ้น
SLS 3D Printing Gallery โมเดลที่พิมพ์จาก SLS
โชว์งานพิมพ์จาก ระบบ SLS (Selective Laser Sintering) ใช้เลเซอร์หลอม ผงโพลิเมอร์ให้ละลายเชื่อมกัน โดยปกตินิยมใช้ไนลอนพวก PA12 ข้อดีของ SLS ✅ไม่ต้องมี Support เนื้อผงวัสดุเป็น Support ไปในตัวอยู่แล้ว ✅งานที่พิมพ์ออกมา แข็งแรง สามารถนำมาใช้ได้เลย มีความยืดหยุ่นสูง ✅เหมาะกับการผลิตชิ้นส่วน Small Batch แข็งแรงมาก
3D printing กับความปลอดภัยต่อการสัมผัสอาหาร
แนวทางสำคัญในการพิมพ์สามมิติภาชนะใส่อาหาร: ข้อกำหนด เทคโนโลยี วัสดุ และอื่น ๆ เครื่องพิมพ์สามมิติให้อิสระในการออกแบบสินค้าที่ผลิตตามความต้องการของลูกค้าแต่ละคน งานที่มีความสลับซับซ้อน หรืองานที่มีรูปทรงแบบออแกนนิค ซึ่งอาจจะมีต้นทุนสูง หรืออาจจะไม่สามารถผลิตด้วยกรรมวิธีทั่วไปได้เลย แต่ความอิสระนี้อาจจะถูกข้อบังคับด้านการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับอาหาร หากคุณต้องการพิมพ์งาน 3D ที่ต้องสัมผัสกับอาหาร คุณจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการสัมผัสกับสารพิษ หรือการสะสมแบคทีเรียที่เป็นอันตราย การพิมพ์ 3D ที่ปลอดภัยกับอาหารเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และวัสดุที่ได้รับอนุญาตให้ใช้กับอาหารก็มีมากขึ้นเรื่อย
PreForm 3.5.0
PreForm 3.5.0— 13 พฤษภาคม 2563 โปรแกรม PreForm 3.5.0 รุ่นล่าสุดที่ทาง Formlabs แนะนำให้อัพเดท สำหรับเครื่องพิมพ์ Fuse 1, Form 3L, Form 3B, Form 3, และ Form 2 ซึ่งมีการเพิ่มตัวเลือกเครื่อง Fuse
Additive Manufacturing AM คืออะไร?
Additive Manufacturing (AM) แปลตรงตัวเลย การผลิตแบบเติมเข้าไป บางครั้งอาจจะใช้คำว่า 3D Printing, Rapid Prototype ล้วนมีความหมายเดียวกัน เป็น CAM(Computer Aided Manufacturing)เครื่องมือ เครื่องจักรในการสร้างชิ้นงานโดยการเพิ่มเนื้อวัสดุเข้าไปที่ละชั้น ชิ้นประกอบด้วยชั้นวันวัสดุหลายๆชั้น โดยไฟล์ที่ใช้ในการพิมพ์นั้นเกิดจากการออกแบบ, สแกน หรือ สร้างจาก CAD(Computer Aided Design) ซอฟแวร์จำพวก
เปรียบเทียบ 3D printing ระบบ FFF vs. SLA vs. SLS
Additive manufacturing (AM) หรือที่เรียกว่าการพิมพ์สามมิติ ช่วยประหยัดเวลา ประหยัดต้นทุน และตัดปัญหาเรื่องขอจำกัดในการผลิตในกระบวนการพัฒนาสินค้าได้ เริ่มตั้งแต่แนวคิดการออกแบบ การทำต้นแบบที่ใช้งานได้ ไปจนถึงการทำอุปกรณ์นำเจาะและจับงาน หรือแม้แต่สินค้าที่จำหน่ายแก่ผู้บริโภค การพิมพ์สามมิติสามารถนำไปใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์ ช่วงหลายปีหลังมานี้ เครื่องพิมพ์สามมิติชนิดความละเอียดสูงเริ่มมีราคาถูกลง ใช้งานง่ายขึ้น และมีความเชื่อถือได้สูงขึ้น เครื่องพิมพ์สามมิติจึงเป็นที่แพร่หลายในกลุ่มธุรกิจมากขึ้น แต่การเลือกใช้เครื่องพิมพ์สามมิติแบบต่างๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องปวดหัวว่าจะใช้การพิมพ์สามมิติระบบไหนดีที่เหมาะกับงานของคุณ วัสดุที่ใช้ต้องเป็นอย่างไร เครื่องที่จะใช้รวมถึงการอบรมการใช้งาน รวมถึงราคาและความคุ้มทุน บทความนี้จะเราจะนำคุณไปดูเครื่องพิมพ์สามมิติที่เป็นที่นิยมกันทั่วโลก คือแบบ Fused
ทำความรู้จักเครื่องพิมพ์สามมิติระบบ SLS
การพิมพ์สามมิติแบบ Selective Laser Sintering (SLS) เป็นการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ หรือ additive manufacturing (AM) ซึ่งจะใช้แสงเลเซอร์ในการเผาผนึกผงพลาสติกให้เป็นก้อนแข็งตามรูปแบบไฟล์สามมิติที่เขียนขึ้นมา SLS เป็นระบบที่วิศวกรนิยมใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มานานนับสิบปีแล้ว ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ผลิตได้มาก และใช้วัสดุที่ช่วยให้ระบบนี้สามารถผลิตได้ตั้งแต่ต้นแบบที่ใช้งานได้ จนถึงการผลิตจำนวนน้อยๆ หรือผลิตสินค้าในช่วงรอยต่อก่อนการผลิตจำนวนมาก ด้วยปัจจัยที่ทันสมัยของตัวเครื่อง ซอฟแวร์ และวัสดุพิมพ์ในปัจจุบัน ทำให้เครื่องพิมพ์ระบบ SLS สามารถเข้าถึงการผลิตในทุกกลุ่มธุรกิจ ทำให้หลายๆ
โครงสร้าง Support ในการพิมพ์สามมิติ
มารู้จักโครงสร้าง support ในการพิมพ์สามมิติคืออะไร เมื่อไหร่ถึงจะต้องมี และมันมีผลกับคุณภาพของงาน และต้นทุนการพิมพ์อย่างไร 1. ทำความรู้จักกับโครงสร้าง Support กันก่อน การพิมพ์สามมิติเป็นการเรียงเส้นวัสดุซ้อนกันเป็นชั้นๆ ดังนั้นจึงต้องมีการเส้นวัสดุชั้นแรกก่อนเพื่อซ้อนวัสดุชั้นต่อไปจนได้เป็นวัตถุสามมิติ (เหมือนการซ้อนก้อนอิฐในการก่อสร้างกำแพงบ้าน) อย่างไรก็ตามอย่าลืมเรื่องกฎแรงโน้มถ่วง เนื่องจากลักษณะของโมเดลที่คุณพิมพ์ อาจจะมีความซับซ้อน มีส่วนยื่น ส่วนที่ลอยอยู่กลางอากาศก็ได้ ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ คุณต้องการโครงสร้าง support เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ความต้องการโครงสร้าง support ในการพิมพ์แต่ละระบบ
การพิมพ์สามมิติคืออะไร – เตรียมพิมพ์ / What is 3D Printing? – Getting Start
เริ่มต้นการพิมพ์สามมิติ พร้อมที่จะเริ่มเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมกันอีกครั้งแล้วใช่ไหมครับ มาดูกันว่าเราจะดึงไอเดียที่เรามีในสมอง ให้กลายมาเป็นวัตถุที่จับต้องได้อย่างไร ก่อนอื่นเราก็ต้องมีแบบที่พร้อมจะพิมพ์ จากนั้นเราก็ต้องมีเครื่องพิมพ์สามมิติ หรือจะไปใช้บริการจากผู้ให้บริการพิมพ์งานสามมิติก็ได้ เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจ เราจะอธิบายเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้ เราจะได้ไฟล์งานสามมิติมาจากไหน? เริ่มกันจากพื้นฐานกันเลย ในการพิมพ์สามมิติ ก่อนอื่นจะต้องมีโมเดลเป็นไฟล์สามมิติเสียก่อน ซึ่งหมายถึงไฟล์ที่ประกอบด้วยข้อมูลตัวเลขที่ระบุขนาดของวัตถุทั้งสามมิติ คือกว้าง ยาว ลึก(หรือสูง) โมเดลสามมิติถูกสร้างขึ้นมาจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท computer-aided design หรือ CAD มีโปรแกรมประเภทนี้อยู่มากมาย ที่ช่วยให้การออกแบบง่ายขึ้นในคอมพิวเตอร์ แทปเล็ต
การพิมพ์สามมิติคืออะไร – วัสดุพิมพ์ / What is 3D Printing? – Materials
Materials พลาสติกอเนกประสงค์ ABS และ PLA เป็นวัสดุที่เหมาะกับการเริ่มต้น ราคาไม่แพง ทนทาน หาได้ง่าย มีให้เลือกหลายสี เหมาะกับการสร้างต้นแบบของชิ้นส่วนเครื่องกล และงานออกแบบที่ไม่มีส่วนยื่นจำนวนมาก การพิมพ์ด้วยพลาสติกชนิดนี้จะมีข้อจำกัดบางประการ โมเดลที่มีส่วนยื่นเอียงลาดมากกว่า 45 องศาต้องมีการสร้าง support เพิ่มเติม มิฉะนั้นจะพิมพ์ไม่ได้ และบางส่วนของโมเดลที่มีความหนาน้อยกว่า 1 ม.ม. อาจจะพิมพ์ไม่ได้
การพิมพ์สามมิติคืออะไร – เทคโนโลยีการพิมพ์ / What is 3D Printing? – Technologies
เทคโนโลยีของเครื่องพิมพ์สามมิติ เครื่องพิมพ์สามมิติแต่ละระบบทำงานอย่างไร เครื่องพิมพ์สามมิติไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตามจะสร้างวัตถุขึ้นมาจากไฟล์สามมิติทีละชั้น ๆ เพียงแต่ระบบหนึ่ง ๆ จะมีวิธีการเฉพาะตัว เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน เราทำ Infographic ของเครื่องพิมพ์ทุกระบบมาเปรียบเทียบให้เข้าใจได้ง่าย โดยจัดเป็นกลุ่ม ระบบ ชื่อระบบ วัสดุที่ใช้ และยี่ห้อที่มีจำหน่ายในท้องตลาด คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย กับคำถามที่ว่าเทคโนโลยีแต่ละแบบทำงานอย่างไร และผลงานที่ได้ออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร ระบบการพิมพ์แต่ละแบบมีข้อดี-ข้อด้อยอย่างไร? ในบทต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นว่าระบบต่างๆ ทำงานอย่างไรโดยละเอียด Fused Filament
การพิมพ์สามมิติคืออะไร – เริ่มต้น / What is 3D Printing? – intro
ที่มา: 3dhubs.com *** บทความนี้มีเนื้อหาที่ยาวมาก จะขอตัดมานำเสนอเป็นตอนๆ นะครับ *** การพิมพ์สามมิติเป็นกระบวนการสร้างชิ้นงานจากการพอกเนื้อวัสดุเข้าไปให้เป็นรูปร่างตามที่ออกแบบไว้ ระบบการพิมพ์สามมิติมีอยู่หลายระบบ รวมถึงวัสดุที่พิมพ์ได้มีหลากหลายชนิด แต่ทั้งหมดมีหลักการพื้นฐานเดียวกัน คือการเปลี่ยนไฟล์ดิจิตอลสามมิติให้เป็นวัตถุรูปทรงสามมิติโดยการเพิ่มเนื้อวัสดุเข้าไปทีละชั้นๆ ในบทความนี้มีเรื่องราวทุกย่างเกี่ยวกับการพิมพ์สามมิติ ที่คุณอยากจะได้รู้ เริ่มจากความรู้พื้นฐานก่อนที่จะลงลึกถึงรายละเอียดต่างๆ ที่คุณจำเป็นต้องรู้หากจะเริ่มใช้งานอย่างจริงจัง ความรู้เบื้องต้น – เครื่องพิมพ์สามมิติทำงานอย่างไร การพิมพ์สามมิติจะเริ่มจากการมีไฟล์ดิจิตอล 3D ก่อนที่จะนำไปสร้างเป็นชิ้นงาน โดยไฟล์งานจะถูกซอยเป็นชั้นบางๆ แล้วส่งไปยังเครื่องพิมพ์สามมิติ จากจุดนี้ไปเราจะแสดงขบวนการพิมพ์สามมิติตามรูปแบบของเทคโนโลยีการพิมพ์ โดยเริ่มตั้งแต่เครื่องพิมพ์แบบตั้งโต๊ะที่ใช้ความร้อนหลอมละลายพลาสติกแล้วเขียนลงบนแท่นพิมพ์
งานพิมพ์ 3D กลายเป็นงานรับจ้างที่ฮอตที่สุดในเวลานี้
การจ้างงานผู้รับจ้างอิสระ (ฟรีแลนซ์) เป็นวิธีการที่ดีที่จะทำให้คุณประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น ในไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นจำนวนผู้รับจ้างอิสระบนโลกออนไลน์ได้ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด งั้นตอนนี้ งานไหนเป็นงานฮอตฮิตติดลมบนกันหนอ เว็บไซต์ Freelancer.com ได้ตีพิมพ์บทวิเคราะห์ประจำไตรมาส 1 ของปีนี้เกี่ยวกับงานฟรีแลนซ์ ข้อมูลล่าสุดได้เปิดเผยว่า ความต้องการแรงงานด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิมพ์สามมิติกำลังเพิ่มอย่างมาก ในไตรมาสแรกของปีนี้ งานมากกว่า 270000 งานได้ถูกจัดให้อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ซึ่งกำลังนิยมไปทั่วโลก ตามข้อมูลในเว็บไซต์นี้ การพิมพ์ การออกแบบ และ งานสถาปัตย์สามมิติ ทำให้ตำแหน่งงานด้านสามมิติเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสามมิติได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในไตรมาสนี้ งานที่เกี่ยวกับการแสดงผล
Nikon โชว์การออกแบบ Df จากเครื่องพิมพ์สามมิติ(video)
กล้อง Nikon Df กล้องสุดคลาสติกจากนิคอน ตัวกล่อง Df ทำจากโลหะอัลลอยขนาดเบา เล็ก เพื่อให้ผู้ใช้สามารถพกกล้องไปได้ในทุกๆที่ โดยยังคงประสิทธิภาพของรูปถ่ายไว้ และไม่ได้ทิ้งสไตล์ความสวยงามแบบคลาสสิกเรโทร กล้อง Df นี้ถูกออกแบบโดยใช้เทคโนโลยี 3D Printer มาช่วย โดยทางนิคอนเปิดเผยขั้นตอนการออกแบบ บริษัทนิคอนนั้นใช้เครื่องพิมพ์สามมิติมาช่วยในการออกแบบ พิมพ์ชิ้นงานออกมา แล้วจึงค่อยๆปรับรูปแบบให้เหมาะสมขึ้นเรื่อยๆ จากวิดีโอนี้จะเห็นว่ากว่าจะได้มาเป็น Body ของ Nikon