สวัสดีครับนัก 3D print ทุกท่าน^^ วันนี้เรามีบทความและตัวอย่างชิ้นงาน 3D Printing ที่น่าสนใจมาฝากกันครับ… คือต้องเกริ่นก่อนว่า หลายๆ งานที่ได้ทดลองการพิมพ์และนำมาลงทำบทความนั้นเกิดจากความสนใจและคิดว่าน่าจะนำมาเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้เครื่องพิมพ์ 3มิติ ได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งแต่ละอันอาจจะนำไปต่อยอดผลงานของแต่ละคนได้ หรือเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการใช้เครื่องพิมพ์ 3มิติ ได้อย่างมืออาชีพมากขึ้น โดยก็หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์อีกสักบทความหนึ่งแก่ทุกท่านครับ โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ จบท้ายคำเกริ่นมาขนาดนี้แล้ว “การแพทย์” คงไม่ต้องสงสัยแล้วละนะครับว่าบทความนี้กำลังพูดถึงอะไร (แต่เอาจริงๆแล้วก็น่าจะรู้ตั้งแต่ชื่อหัวข้อแล้วละนะครับ555) แต่ก่อนอื่นเลย ต้องขอบอกก่อนว่าหลังจากที่เราได้ทำบทความลงเว็บไซต์ของเราและช่องทางต่างๆ
Category: classroom
สอนการใช้งานเครื่องพิมพ์ 3มิติ 3D printer, 3D Scanner, Laser Machine การใช้งานเบื้องต้น ขั้นตอนการออกแบบ CAD, ใช้ Software Slicer, ใช้งานเครื่อง นำชิ้นงานมาใช้จริง
เครื่องตัดเลเซอร์ มีกี่แบบ อะไรบ้าง? CO2, Fiber, Diode
เครื่องตัดแกะสลักเลเซอร์ในท้องตลาดมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ทั้งแบบ CO2, Diode และ Fiber บางชนิดเหมาะกับงานโลหะ บางชนิดเหมาะกับงานอโลหะตัดพลาสติก ตัดหนัง ตัดสไม้ เรามาทำความรู้จักเลเซอร์แต่ละชนิดกันเลยครับ แบ่ง Laser ตามแหล่งกำเนินแสง 1. CO2 Laser แห่งกำเนิดแสงของ Laser ชนิดนี้มาจากหลอด CO2 โดยทั่วๆไปจะมีกำลัง 30-180Watt โดยมีความยาวคลื่น
สร้างเครื่องมือสุดเจ๋งง่ายๆไม่เหมือนใครด้วย 3D Printer
ยุคนี้พูดได้ว่า3D Printerได้เข้าถึงผู้ใช้งานทุกเพศทุกวัยและทุกระดับแม้ไม่มีความรู้ก็ฝึกสามารถใช้งานได้ง่ายๆเช่นกัน วันนี้มีตัวอย่างการสร้างเครื่องมือเล็กๆน้อยๆที่พิมพ์แล้วใช้งานได้จริงและง่ายมากอีกด้วย วันนี้ขอเสนอมีดคัดเตอร์ By 3D printer การทำมีดคัตเตอร์สไตล์Makersเราจะใช้อุปกรณ์ดังนี้ – ตัวมีดที่พิมพ์ไว้ ทั้งหมด3ชิ้น – ใบมีดคัตเตอร์(ใบมีดของจริงนะ) 1.ใส่มีดเข้าไปแล้วลองถูไปมาเพื่อไม่ให้ฝืดและเพื่อเคลียร์ซัพพอร์ตเล็กๆที่อยู่ปลายมีด **หากเด็กๆจะลองทำให้ระวังมากๆควรมีผู้ใหญ่แนะนำอยู่ข้างๆนะ 2.ใส่ตัวเลื่อนเข้าไปตามรูป จากนั้นให้ถูไปมาเหมือนเดิม ตอนใส่ครั้งแรกจะฝืดเล็กน้อย 3.ให้รูของตัวเลื่อนกับใบมีดตรงกันจากนั้นให้หมุนเกลียวลงไปในรู เพียงเท่านี้เราก็ได้คัดเตอร์เจ๋งๆไว้ใช้เรียบร้อย ด้วยเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กกับเส้นพลาสติกPLAที่ปลอดภัยกับทุกวัยและพิมพ์เหมาะกับผู้เริ่มต้นและเสริมการเรียนรู้ของเด็กๆอย่างมาก
Einscan SE Software Update2021 อัพเดตใหม่ ฟังก์ชั่นครบ เล็กแต่จบ
Einscan SE Software เวอร์ชั่นเก่าEinscan SE ได้มีการอัพเดทซอร์ฟแวร์เวอร์ชั่นใหม่ให้มีความสามารถที่มากขึ้นจากรุ่นก่อนมาก ที่รุ่นเก่านั้นจะทำได้เพียงแค่สแกนแล้วจบ แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มฟังก์ชั่นให้ทำได้เหมือนรุ่นพี่อย่างPro2xเลยล่ะ วันนี้เราก็จะมาโชว์สแกนชิ้นงานพร้อมการใช้ฟังก์ชั่นของโปรแกรมกันแบบจัดเต็มไปเลย การCalibrate การcalibrateจำเป็นมากสำหรับเครื่องสแกน สำหรับคอมที่เชื่อมต่อกับเครื่องสแกรเป็นครั้งแรกหรือย้ายที่เครื่องสแกนต้องทำการCalibrateใหม่ ถ้าหากไม่ได้ทำการสแกนเครื่องก็จะไม่สามารถวัดระยะวัตถุได้ทำให้ไม่สามารถสแกนงานได้นั่นเอง เริ่มต้นการสแกน หลังจากที่เสร็จขั้นตอนแล้วก้จะทำการสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมาจากนั้นเราก็จะทำการเลือกโหมดสำหรับการสแกน การใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆในเมนูScan setting มีดังนี้ HDR คือการใช้แสงมากเป็นพิเศษ With Turntable คือการสแกนด้วยแท่นหมุน(เลือกที่ไม่ใช้ก็ได้) แล้วเลือกว่าต้องการให้ทำการสแกนกี่ครั้งโดยใส่ตัวเลขลงไป –
Packaging ขวดสวยๆด้วย 3D Printing – เพราะ Pakaging เีเป็นหน้าต่างของหัวใจการขาย
เคยได้ยินกันมั้ยว่า ” สินค้าเหมือนกัน รสชาติคล้ายกัน ราคาต่างกันไม่มาก แต่บรรจุภัณฑ์ดูดีกว่าก็สามารถแย่งชิงลูกค้ามาได้ไม่ยาก “ เป็นคำพูดที่มักจะถูกนำมาใช้ในงานออกแบบ บรรจุภัณฑ์ Packaging ในทุกๆ อย่างที่เป็นสินค้า เพราะเป็นเหมือนสื่ออย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้บริโภครับสิ่งที่เราต้องการเสนอ เพื่อเปิดมุมมองและเปิดใจในการบริโภคสินค้าของเรา Packaging จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของหน้าตา และภาพลักษณ์ของบริษัท จึงไม่แปลกใจถ้าหากเราต้องลงทุนในสิ่งนี้ในราคาที่สูง แต่เมื่อเทียบกับผลที่ตามมาก็ค่อนข้างที่จะคุ้มค่าคุ้มราคาอยู่ ซึ่งในบรรดาบรรจุภัณฑ์ที่เราเห็นได้ตามห้าง ซุปเปอรืมาร์เก็ตนั้น คงหนีไม่พ้นสินค้าจำพวกน้ำดื่มที่มีอยู่เต็มไปหมด หลากหลานยชนิด และแน่นอน มีชนิดเดียวกันมากมายหลากหลายแบรนด์ให้เราเลือกซื้อ
สถานีพยากรณ์อากาศจาก3D Printing
สถาบันปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งชาติอากอนเน่ ของสหรัฐอเมริกาได้มีการทดลองสร้างสถานีพยากรณ์อากาศภาคสนามขึ้นด้วยการพิมพ์สามมิติ โดยการสร้างสถานีด้วยงบประมาณที่ต่ำเพื่อให้สามารถสร้างหลายๆแห่งได้ สืบเนื่องมาจากการสร้างสถานีชั่วคราวนั้นต้องใช้งบประมาณหลายพันดอลลาร์ต่อหนึ่งสถานีเพราะว่าวัสดุที่ใช้นั้นต้องทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอยู่ตลอด ทั้งการตากแดด โดนฝน หรือพายุบ้าง จึงทำให้การที่จะให้มีสถานีพยากรณ์อากาศอยู่ทุกพื้นที่จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยเพราะค่าใช้จ่ายคือปัจจัยหลัก ทางนักวิจัยจึงได้ทำการทดลองโดยใช้การพิมพ์สามมิติระบFDMเข้ามาช่วยในงานวิจัยครั้งนี้ โดยทำการทดลองวัสดุที่ใช้กับเครื่องพิมพ์สามมิติที่หาได้ทุกชนิด สุดท้ายแล้วทางทีมได้เลือกวัสดุASA (acrylonitrile styrene acrylate) เนื่องจากราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆและคุณสมบัติเหมาะสมต่องาน(ASA คือ วัสดุที่พัฒนามาจากABS พิมพ์ง่ายขึ้น ทนทานมากขึ้น) สถานีนี้เกิดจากการพิมพ์ชิ้นส่วนมากกว่า100ชิ้นมาประกอบกัน จากนั้นได้ทำการติดตั้งเซนเซอร์ต่างๆ เพื่อทำการวัดสิ่งที่สถานีนี้ทำการเก็บผลประกอบไปด้วยคือ อุณหภูมิและความชื้น ความดันอากาศ ความเร็วและทิศทางลม
หุ่นยนต์สำรวจอวกาศ Exomy สร้างง่ายๆที่บ้าน ด้วย 3D Printer
องค์การอวกาศยุโรป หรือ European Space Agency (esa) ได้ปล่อยหุ่นยนต์สำรวจอวกาศ Space Rover ให้ประชาชนทั่วไปได้สร้างกันเองได้ โดยมีขั้นตอนการทำอย่างละเอียด โดยในส่วนประกอบของ Rover ตัวนี้สามารถพิมพ์จาก 3D Printer ทั้งหมดได้เลย ส่วนในงานของระบบไฟฟ้าวงจรตัวนี้จะ Base จาก RasberryPi โดยงานทั้งหมดเป็น Open Source เปิดให้ทุกคนสามารถพัฒนาต่อยอดต่อไป
รู้จัก 3D Scanner คืออะไร? มีกี่ประเภท? (update 2021)
บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักเครื่องสแกน 3มิติ การนำไปใช้งาน และ ประเภทของสแกนเนอร์ 3มิติ หลายคนน่าจะรู้จักเครื่องสแกนเอกสาร (2D) เราสามารถเก็บสำเนาดิจิทัลเป็นไฟล์รูปหรือ PDF ได้ เครื่องสแกนเนอร์ 3มิติมีจุดประสงค์การใช้เดียวกัน คือการสร้างสำเนาของมูล Digital ของวัตถุ ต่างกันที่เป็นรูปแบบ 3มิติ Polygon (หรือ อาจใช้คำว่า Mesh ก็ได้) ไฟล์ 3D
Diode เทียบกับ CO2 Laser ต่างกันอย่างไร?
Diode Laser ไดโอดเลเซอร์คืออะไร? นึกภาพไดโอดเลเซอร์เหมือนไฟ LED ที่ปล่อยแสงสีน้ำเงิน อมม่วงออกมา คิดค้นโดยคุณ Shuji Nakamura จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย จากการค้นพบนี้ทำให้เค้าได้รับรางวัลโนเบลในปี 2014 ที่ผ่านมาก Diode Laser ถือว่าเป็นนวตกรรมใหม่เมื่อเปรียบเทียบกับ CO2 Laser ที่มีมานานหลายปีแล้ว ความยาวคลื่นของ ไดโอดเลเซอร์อยู่ในช่วง UV 405 –
โปรแกรมสร้างโมเดล เพื่อการพิมพ์สามมิติ
สำหรับผู้ที่เริ่มก้าวเข้ามาในวงการพิมพ์สามมิติ อาจจะสนุกไปกับการโหลดโมเดลที่ถูกใจมาพิมพ์ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งโมเดลสำเร็จรูปนั้นอาจจะไม่ตอบโจทย์ความต้องการหลายๆ ด้าน ไม่ว่างาน หรือเรื่องส่วนตัว ดังนั้นการที่เราสามารถออกแบบ และสร้างโมเดลของเราเองได้ก็เป็นสิ่งที่ควรจะพิจารณา ในปัจจุบันมีโปรแกรม 3D อยู่มากมายจนน่าเวียนหัว เราได้จัดประเภทของโปรแกรมมาให้ดูแบบง่าย ๆ คุณสามารถเลือกแบบที่ตัวเองชอบ และถนัดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง และยังอาจจะใช้เป็นช่องทางทำเงินได้อีกด้วย รายการข้างต้นเป็นเพียงทางเลือกที่คนทั่วไปนิยม และเราเห็นว่าเป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้งานเริ่มต้นเรียนรู้ได้ง่าย และเร็วที่สุด อย่างไรก็ตามยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่ต้องพิจารณาในการเลือกโปรแกรมอีกเพื่อให้เข้ากับความถนัดส่วนตัว หากต้องการทราบรายละเอียดมากกว่านี้โปรดเข้าไปดูได้ที่ reddit.com/r/3Dprinting/wiki/makingmodels
การปรับระดับแท่นพิมพ์
การปรับระดับแท่นพิมพ์ เป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญมาก เทียบเท่ากับฐานรากของอาคารเลยทีเดียว แต่ก็เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะละเลยขั้นตอนนี้ไป ลองกลับมาใส่ใจกับการปรับระดับแท่นพิมพ์เพื่องานที่มีคุณภาพดีกว่ากันเถอะ
Additive Manufacturing AM คืออะไร?
Additive Manufacturing (AM) แปลตรงตัวเลย การผลิตแบบเติมเข้าไป บางครั้งอาจจะใช้คำว่า 3D Printing, Rapid Prototype ล้วนมีความหมายเดียวกัน เป็น CAM(Computer Aided Manufacturing)เครื่องมือ เครื่องจักรในการสร้างชิ้นงานโดยการเพิ่มเนื้อวัสดุเข้าไปที่ละชั้น ชิ้นประกอบด้วยชั้นวันวัสดุหลายๆชั้น โดยไฟล์ที่ใช้ในการพิมพ์นั้นเกิดจากการออกแบบ, สแกน หรือ สร้างจาก CAD(Computer Aided Design) ซอฟแวร์จำพวก
เคล็ดลับการออกแบบเพื่อการพิมพ์สามมิติ
ในการออกแบบเพื่อการพิมพ์สามมิติ จะมีข้อควรระวัง และข้องแนะนำอย่างไรบ้าง เรารวบรวมมาให้แล้วครับ
5 เครื่องมือฟรีในการซ่อมไฟล์ STL และวิธีทำ
ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบหรือวิศวกรจำเป็นต้องใช้ซอฟแวร์สำหรับการออกแบบ หรือซ่อมแซมโมเดลสามมิติเพื่อส่งไปพิมพ์ ทุกวันนี้เราไม่ต้องมาปรับโครงสร้างของโมเดลด้วยตัวเองแล้ว มีซอฟแวร์มากมายทั้งที่จัดการไฟล์ให้อัตโนมัติ หรือเลือกที่จะเลือกจัดการเองก็ได้ ซอฟแวร์แบบอัตโนมัติสามารถจัดการไฟล์ที่มีปัญหาเล็กๆ เท่านั้น เช่นรูรั่ว ผนังที่ปิดไม่สนิท แต่โมเดลที่มีปัญหาใหญ่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมต่างหากที่มีความสามารถพอสมควร ในบทความนี้จะอธิบายถึงขั้นตอน และรายละเอียดในการซ่อมไฟล์โมเดลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทั้ง 5 โปรแกรม ทำไมต้องซ่อมไฟล์ STL? โดยปรกติแล้วนักออกแบบจะสร้างโมเดลโดยใช้การสร้างพื้นผิวที่มีความละเอียดซับซ้อน ซึ่งเกิดจากการคำนวณรูปร่างของส่วนโค้งและเส้นคลื่น สำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ ส่วนของพื้นผิวจะถูกแปลงให้เป็นโครงตาข่ายโดยมีจุดเชื่อมเป็นรูปสามเหลี่ยม ในการแปลงโครงตาข่ายจะคล้ายกับการระเบิดเอาพื้นผิวที่เรียบเนียนสวยงามออกไป แล้วเรียงกลับเข้ามาใหม่เป็นชิ้นย่อยๆ ให้เหมือนต้นฉบับมากที่สุด หากทำได้ไม่ดีก็จะเกิดพื้นผิวที่หยาบ มีรูโหว่
ขาตั้งม้วนสไตล์ Minimal
ในกรณีที่เราไม่อยากเอาม้วนพลาสติกใส่ไปกับเครื่อง ไม่ว่าจะเพราะไม่สะดวก หรือบางคนอาจจะเปลี่ยนชนิดของเส้นพลาสติกบ่อยๆ หรือบางเครื่องเล็กๆ ที่ใช้ม้วนขนาดเล็กแต่อยากประหยัดเงินเพราะม้วยใหญ่ 1 กก.ราคาถูกกว่า การมีขาตั้งม้วนพลาสติกวางไว้นอกเครื่องก็น่าจะเป็นเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดี ไฟล์โมเดลขาตั้งมีให้เลือกมากมายในเวบ thingiverse.com แต่เท่าที่ดูยังไม่น่าพอใจเท่าไหร่ บางแบบก็ใหญ่เทอะทะ บางแบบก็วางแล้วไม่มั่นคง เลยมาลองออกแบบเองดีกว่า โดยมีโจทย์ว่าจะต้องทำให้เครื่องที่มีแท่นพิมพ์ขนาดเล็กพิมพ์ได้ด้วย แล้วพิมพ์เพียงครั้งเดียว เอาเป็นว่ามาดูแบบกันเลยดีกว่า ขาตั้งแบบนี้สามารถพิมพ์บนขนาดแท่นพิมพ์เล็กๆ ขนาด 14 x 14 x 14 ซม.
เคล็ดลับในการใช้โหมด FreeScan ในจุดที่สแกนได้ยาก
ในการสแกนวัตถุที่มีร่องลึกหรือรอยแยก เป็นการสแกนที่ท้าทายความสามารถอย่างมาก เพราะโหมด FreeScan จะใช้การจับ target แต่ในกรณีที่ target มีพื้นที่น้อยๆ เครื่องสแกนจะไม่สามารถจับพื้นผิวได้ดี และอาจจะหลุด (tracking lost) บ่อยๆ ดังตัวอย่างข้างล่าง จะเห็นว่าในส่วนที่เป็นครีบของตัวงานมีความบาง และอยู่ลึก จากภาพด้านล่างจะเห็นว่าเครื่องสแกนเก็บข้อมูลวัตถุได้เพียงบางส่วน ในจุดที่มีความยากลำบากในการเข้าถึง ทำให้เมื่อสแกนแล้วไฟล์สามมิตินั้นก็ไม่สามารถนำเอาไปดำเนินการต่อเช่นการทำ reverse engineering หรือการ inspection ได้
มินิรีวิว Flashforge Creator 3 + eSun ePA-Carbon Fiber
Carbon Fiber เป็นวัสดุในฝันของผู้ใช้ 3D printer หลายๆ คน เพราะมันช่วยให้งานที่พิมพ์ออกมามีความแข็งแรงขึ้น สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่า Carbon Fiber เป็นอย่างไร เราลองมาดูกัน เส้น Carbon Fiber คืออะไร? ก่อนอื่นต้องไม่สับสนระหว่างเส้น Carbon Fiber Filament กับ Carbon Fiber ที่ใช้ทำรถแข่ง
ทำความรู้จักเครื่องพิมพ์สามมิติระบบ SLS
การพิมพ์สามมิติแบบ Selective Laser Sintering (SLS) เป็นการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ หรือ additive manufacturing (AM) ซึ่งจะใช้แสงเลเซอร์ในการเผาผนึกผงพลาสติกให้เป็นก้อนแข็งตามรูปแบบไฟล์สามมิติที่เขียนขึ้นมา SLS เป็นระบบที่วิศวกรนิยมใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มานานนับสิบปีแล้ว ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ผลิตได้มาก และใช้วัสดุที่ช่วยให้ระบบนี้สามารถผลิตได้ตั้งแต่ต้นแบบที่ใช้งานได้ จนถึงการผลิตจำนวนน้อยๆ หรือผลิตสินค้าในช่วงรอยต่อก่อนการผลิตจำนวนมาก ด้วยปัจจัยที่ทันสมัยของตัวเครื่อง ซอฟแวร์ และวัสดุพิมพ์ในปัจจุบัน ทำให้เครื่องพิมพ์ระบบ SLS สามารถเข้าถึงการผลิตในทุกกลุ่มธุรกิจ ทำให้หลายๆ
นามบัตร 3D
นามบัตรเป็นสิ่งที่แสดงตัวตนของคุณได้เป็นอย่างดี มันช่วยให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ในงานของคุณ หากยังคิดไม่ออก มาลองดูตัวอย่างนามบัตร 3D ที่พิมพ์ได้ง่ายๆ ทำให้คนที่ได้รับต้องร้องว้าว! นามบัตร 3D เป็นวิธีการโฆษณาชื่อเสียงบริษัทของคุณได้อย่างดี ดูมีเอกลักษณ์ และสร้างสรรค์ ลูกค้า หรือคู่ค้าของคุณจะมีความประทับใจอย่างมาก ถึงแม้คุณจะไม่ได้อยากโฆษณาะุรกิจของคุณ แต่มันก็เป็นเรื่องสนุกที่ได้ทำ มันเล็ก พิมพ์ได้เร็ว ใช้วัสดุน้อย แต่ผลที่ได้น่าตื่นตาตื่นใจอย่างมาก เราเอาตัวอย่างนามบัตรที่พิมพ์ด้วย 3d printer มาให้ดูเป็นไอเดียดังนี้ 1.
3D Print ตะแกรงพัดลม ตามใจชอบ
😯😯3D Print ตะแกรงพัดลม😛😛 เคยไหมมีตะแกรงพัดลมหลุดหาย หรือมีเสียงดังหึ่ง ไม่ต้องซื้อเปลี่ยนใหม่ เราสามารถพิมพ์ได้เอง เลือกแบบ เลือกสีได้ตามต้องการด้วย ใครชอบแบบไหนก็พิมพ์แบบนั้น ต้นทุนตกไม่ถึง 10บาท 🙂 ข้อแนะนำ – ควรพิมพ์ด้วย PLA, PETG – พิมพ์บนฐานเลยไม่เอา Raft ไม่เอา Brim – ใช้